เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


 

 

ข้อมูลลิขสิทธิ์    2006       ตอนที่  1

 

ขอนำเสนอข้อมูลที่มีการประชุมสัมนาที่มีตัวแทนจากสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทยร่วมประชุมด้วย ในประเด็นขององค์กรจัดเก็บนานาชาติอันมีผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากหลายประเทศเข้าร่วมด้วย อันเป็นข้อมูลที่ได้รับการสรุปจากกรมทรัพย์สินทางปัญญามาเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มองค์ความรู้และทักษะในการพิจารณาแก้ไขในประเด็นการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม โดยจะทยอยลงต่อเนื่องเป็นลำดับต่อไป


สรุปประเด็นการสัมมนา
เรื่อง แนวทางการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงในระบบสากล
ณ ห้องประชุม 30410 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ นนทบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2548


หัวข้อที่ 1 กฎหมายที่ใช้กำกับดูแลการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

Mr. Seiji Odaki (Manager, International Relations Department) จาก Japanese Society for Right
of Authors, Composers and Publishers (JASRAC) ประเทศญี่ปุ่น

 ปี 1939 ญี่ปุ่นมีกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ฉบับแรก คือ Law on
Intermediary Business concerning Copyrights (Old Law) ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) เป็นระบบการขออนุญาต กล่าวคือ จะต้องขออนุญาตจากรัฐบาลก่อนดำเนินการจัดเก็บ
(2) กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึงงานวรรณกรรม และดนตรีกรรม
(3) องค์กรจัดเก็บต้องขออนุญาตเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแบ่งสรรค่าใช้สิทธิ และอัตราค่าลิขสิทธิ์
จากรัฐบาลก่อน
(4) องค์กรจัดเก็บต้องส่งรายงานธุรกิจ และรายงานการเงินใหัรัฐบาลเพื่อตรวจสอบ
(5) รัฐบาลอาจส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบธุรกิจและบัญชีขององค์กรจัดเก็บ
(6) หากองค์กรจัดเก็บไม่ดำเนินการตามคำสั่งของรัฐบาล จะได้รับโทษ

 เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่มีความก้าวหน้า และเพื่อให้การคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี 2001 ญี่ปุ่นจึงได้ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการธุรกิจเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง Law on Management Business of Copyright and Neighboring Rights (New Law) เพื่อใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับปี 1939 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) ยกเลิกระบบการขออนุญาต และใช้ระบบการขึ้นทะเบียนแทน กล่าวคือ องค์กรจัดเก็บสามารถดำเนินการจัดเก็บได้ หากได้ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐบาลแล้ว

(1) กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงทุกประเภท
(2) ยกเลิกการขออนุญาตเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแบ่งสรรค่าใช้สิทธิ และอัตราค่านายหน้าจาก
รัฐบาล แต่หากมีเรื่องโต้แย้งเกิดขึ้น รัฐบาลจะเข้าไปดูแลโดยการจัดให้มีการอนุญาโตตุลาการ
(3) องค์กรจัดเก็บต้องจัดเตรียมเอกสารการเงินไว้ เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
(4) กฎหมายฉบับปี 2001 รัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์กรจัดเก็บน้อยลง แต่รัฐบาล
อาจส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบองค์กรจัดเก็บ และมีสิทธิให้องค์กรจัดเก็บพักหรือหยุดการดำเนินการได้


Mr. Ang Kwee Tiang (Regional Director) จากสมาพันธ์ผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (CISAC)

กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของประเทศจีนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
1 มีนาคม 2005 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

(5) เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่น้อยกว่า 50 รายอาจร่วมกันก่อตั้งองค์กรจัดเก็บ โดยจะต้อง
มีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐ
(2) ห้ามกำหนดขอบเขตการดำเนินการจัดเก็บเหมือนกับองค์กรอื่น กล่าวคือ ให้มีองค์กรจัดเก็บ 1 องค์กรสำหรับ 1 สิทธิ
(3) ต้องให้รัฐบาลอนุมัติอัตราการจัดเก็บ วิธีการแบ่งสรรค่าใช้สิทธิให้สมาชิกก่อน เมื่อรัฐบาลอนุมัติแล้ว ให้ประกาศให้สาธารณชนทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส
(4) ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ต้องให้ข้อมูลการใช้เพลง เช่น ชื่อเพลง ชื่อเจ้าของ ลักษณะการใช้ และจำนวนการใช้แก่องค์กรจัดเก็บ เพื่อจะได้แบ่งสรรค่าใช้สิทธิให้แก่เจ้าของได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากข้อมูล
ดังกล่าวเป็นความลับทางการค้า องค์กรจัดเก็บมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับนั้น
(5) หลังจากหักค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการแล้ว องค์กรจัดเก็บต้องแบ่งสรรค่าใช้สิทธิให้เจ้าของลิขสิทธิ์
(6) เนื่องจากจำนวนเงินค่าใช้สิทธิที่จัดเก็บได้มีจำนวนมหาศาล (ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) ดังนั้น องค์กรจัดเก็บต้องมีบันทึกการแบ่งสรรค่าใช้สิทธิย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปีไว้ให้
ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบ
(7) องค์กรจัดเก็บต้องดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไร มิฉะนั้น จะถูกระงับการดำเนินการ และถูกริบค่าใช้สิทธิที่จัดเก็บได้

สรุป

(1) องค์กรจัดเก็บต้องดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไร
(2) ควรมีองค์กรจัดเก็บแยกตามประเภทสิทธิ สิทธิละ 1 องค์กร
(3) หน่วยงานของรัฐควรมีอำนาจในการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ
(4) ควรมีกฎหมาย กฎ ระเบียบเกี่ยวกับการจัดเก็บที่ชัดเจน เพื่อให้สมาชิกมีความมั่นใจ
(5) ควรมีกระบวนการตรวจสอบการจัดเก็บที่เหมาะสม
(6) ควรกำหนดเงื่อนไขการใช้งานลิขสิทธิ์ให้เหมาะสม

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึง ลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียง
ในพรบ.ลิขสิทธิ์ จะไม่มีการกำหนดนิยามของคำว่าเพลงแต่จะใช้คำว่า “ดนตรีกรรม” เป็นตัวลิขสิทธิ์โดยตรงหากจะเข้าใจให้ง่ายขึ้นอาจจะเปรียบเทียบกับ

การผลิตหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่มเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรอาจเป็นบทความ นวนิยาย หรือข้อเขียนใดๆ หรือรูปภาพ โลโก้ เป็นตัวลิขสิทธิ์ที่ในพรบ.ให้นิยามและมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ฉนั้นผู้ผลิตหนังสือหรือสำนักพิมพ์เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์ในฐานะผู้ลงทุนงานลิขสิทธิ์(ในส่วนนี้จะขอไม่ลงในรายละเอียดหรืออ้างมาตราใดในกฎหมาย)

การผลิตแผ่นซีดี วีซีดีหรือเทป อันเป็นงานโสตทัศนวัสดุ งานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์คือข้อมูลหรือสิ่งที่ได้รับการบันทึกลงในแผ่นหรือเทป เช่นเพลง มิวสิควีดีโอ ภาพยนตร์ หรืออี่นๆที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ผลิตขึ้นเพื่อบันทึกลงในสิ่งบันทึกเสียงโสตทัศนวัสดุ เป็นนิยามที่ได้รับการคุ้มครองจาก พรบ.ลิขสิทธิ์ในฐานะงานลิขสิทธิ์

ในส่วนของผู้ผลิตเช่นค่ายเพลงเป็นผู้ลงทุนทุกอย่างในงานลิขสิทธิ์เพลงหรือภาพยนตร์ฯ โดยนำเอาผลงานอันมีลิขสิทธิ์มาบันทึกลงในสิ่งบันทึกเสียงที่เรียกว่า “สิทธิ์ในสิ่งบันทึกเสียงหรือโสตฯ” ในทางกฎหมาย (องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก WIPO ) ให้นิยามว่า “สิทธิ์ข้างเคียง” (related right) ซึ่งไม่มีระบุใน พรบ.ลิขสิทธิ์ของไทยเราแต่เป็นคำอธิบายในหลักการของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

การนำผลงานลิขสิทธิ์มาลงทุนของค่ายเพลง(publisher)จะมีการทำสัญญากับเจ้าของสิทธิ์(ครูเพลง)ในการนำผลงานมา เพื่อทำซ้ำ-ดัดแปลง โฆษณาเผยแพร่ จำหน่ายให้เช่า ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อตกลง หากมีการซื้อสิทธิ์แบบเหมาในแต่ละเวอร์ชั่นสิทธิ์ในการผลิตและปริมาณก็จะเป็นของค่ายเพลงโดยเฉพาะ
แต่หากมีการระบุระยะเวลาในการมอบสิทธิ์หรือเป็นการแบ่งผลประโยชน์เป็นเปอร์เซ็นของปริมาณการจำหน่ายก็จะเพิ่มความซับซ้อนในข้อกฎหมายซึ่งมักจะเกิดความขัดแย้งขึ้น


ยังมีต่อ---------

 

go back                                                                                                                พรชัย  ศิรินุกูลชร  16/10/49  

 

 

##detail##


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.