เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


 

 

 

หนังสือตอบจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550ได้รับหนังสือตอบจาก สตช.เรื่องร้องเรียนวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ยื่นต่อ พ.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช จ่าหน้าถึง พ.ต.อ.โกวิท วัฒนะ

ที่ ตช 0026.8/456

กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

 

  12  กุมภาพันธ์ 2550

 

เรื่อง ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนและอัตราจัดเก็บที่ไม่เป็นธรรม

เรียน เลขาธิการสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

อ้างถึง

    1.) หนังสือ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2549

    2.) หนังสือกองคดีที่ 0004.6 / 8630 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2545 เรื่องการปล่อยชั่วคราวกรณีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อ

การค้า(ตู้เพลง VCD คาราโอเกะ)

    หนังสือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 0004.6 / 9717 ลงวันที่ 18 กันยายน 2546 เรื่องกำชับแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง

    หนังสือ กระทรวงพาณิชย์ที่ พณ 0705 / 3163 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 เรื่องขอความร่วมมือกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจในการดำเนินคดีอาญาที่มีการเปิดเพลงคาราโอเกะ

   หนังสือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 0004.6 / 5938 ลงวันที่ 27 กรกฏาคม 2547 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลง(เพิ่มเติม)

   หนังสือ ตร.ที่ 0004.6 / 8983 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2547 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะ

   หนังสือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0011.2 / 449 ลงวันที่ 23 มกราคม 2549 เรื่อง กำชับกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมคดีละเมิดลิขสิทธิ์

สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาหนังสือที่อ้างถึง 2-7 จำนวน 13 แผ่น

ตามหนังสือที่อ้างถึง

     1 สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ร้องเรียนกรณี ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  เพลงซ้ำซ้อนและอัตราจัดเก็บที่ไม่เป็นธรรม และมีข้อเสนอในการแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อน ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

     กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายให้พิจารณามีความเห็นข้อร้องเรียนตามที่ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอในการแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อนโดยได้พิจารณาแล้วมีความเห็นตอบข้อเสนอของ สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ดังนี้

     กรณีข้อเสนอที่ 1 ห้ามไม่ให้มีการจัดเก็บและจับกุมดำเนินคดีการละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่บนแผ่นเพลงที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง หรือห้ามจัดเก็บและจับกุมในแผ่นเพลงที่มีสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน

-2-

     พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดเก็บนั้น พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการจัดเก็บไว้ แต่มีบัญญัติไว้ใน มาตรา 15(1)(5) แห่ง พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่ผู้เดียว ที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของตน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของตน โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ หากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ จะกระทำการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 28(2) หรือ มาตรา 31(2) แล้วแต่กรณีเจ้าของลิขสิทธิ์จึงสามารถที่จะใช้สิทธิในการปกป้องการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของตนได้ ซึ่งอาจจะฟ้องคดีต่อศาลหรือแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน อันเป็นการนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

     เจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์ของตน โดยเก็บเงินจากผู้ได้รับอนุญาต อันเป็นการจัดเก็บตามสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนด สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีสิทธิ์ไปห้ามการจัดเก็บของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้

     ส่วนการจับกุม หากมีการ เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นสิทธิตามกฎหมาย ที่เจ้าของสิทธิ์ที่ได้รับความเสียหายจะแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้ดำเนินคดีต่อผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนได้ จึงไม่สามารถที่จะไปห้ามมิให้จับกุมได้

     ประเด็นปัญหา ที่ห้ามจับกุมดำเนินคดีการละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่บนแผ่นเพลงที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง หรือห้ามจับกุมในแผ่นเพลงที่มีสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน กรณีดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรวจสอบความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และลิขสิทธิ์เพลง ตลอดจนเพลงซ้ำซ้อน ให้ถูกต้องชัดเจนเสียก่อนที่จะรับคำร้องทุกข์และจับกุมตามหนังสือที่อ้างถึง 3,4,5,6, และ 7 ซึ่งหากพบว่าผู้ที่แจ้งความร้องทุกข์ไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในสิ่งบันทึกเสียง หรือมีปัญหาเพลงซ้ำซ้อน ก็ไม่สามารถไปดำเนินการจับกุมได้ตามกฎหมาย

    ข้อเสนอที่ 2 กรณีการจับกุมเพลงละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่ ให้ยึดเฉพาะแผ่นเพลงที่ละเมิดเท่านั้น ในส่วนประกอบอื่นๆ ให้อายัดไว้ที่ร้านค้า เพื่อจะสามารถทำการได้ต่อเนื่อง เป็นการลดผลกระทบทางธุรกิจการค้าและผู้ทีเกี่ยวข้อง ทั้งยังคุ้มครองสิทธิ์เผยแพร่ที่มีอยู่ของบริษัทอื่นๆ ที่ไม่มีความขัดแย้งเรื่องของสิทธิ์เผยแพร่

     การยึดหรืออายัดของกลางตามข้อเสนอ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยพิจารณาไว้แล้วตามหนังสือที่อ้างถึง 2 ซึ่งเห็นว่า ของกลางที่เสนอให้อายัดนั้น เป็นของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นดุลพินิจของผู้ปฏิบัติการจะต้องใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีว่าจะยึดหรือไม่ มากน้อยเพียงไร

     ข้อเสนอที่ 3 กรณีการจับกุมดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่ หลังจากรับแจ้งแล้วให้มีการตรวจสอบความชัดเจนก่อนจึงค่อยดำเนินการในขั้นตอนแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหา การพิสูจน์หลักฐานให้ชัดเจนก่อนดำเนินคดีเป็นประเด็นที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

     สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีหนังสือกำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติไว้แล้ว ตามหนังสือที่อ้างถึง 3,4, 5,6 และ 7 ซึ่งมีรายละเอียดวิธีการปฏิบัติครอบคลุมตามข้อเสนอของ สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ถูกต้องครบถ้วนแล้ว

 

-3-

     ข้อเสนอที่ 4 การประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา ขอให้กำหนดขั้นต่ำค่าประกันตัวรายละ 5,000 บาท หากเป็นสมาชิกของสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย โดยสมาพันธ์ฯ จะทำหน้าที่ประสานความร่วมมือในการดำเนินคดีทุกขั้นตอน

     การประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กำหนดวงเงินในการประกันตัวไว้สำหรับ กรณีละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่ดังกล่าวไว้ด้วยเงินสด 50,000 บาท ตามหนังสือที่อ้างถึง 2

     ข้อเสนอที่ 5 จัดให้มีการประชุมสัมนาเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อให้ข้อมูลและสะท้อนปัญหาในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสมพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ในทุกระดับอย่างทั่วถึง เพื่อขยายความร่วมมือในระดับองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและแลกเปลี่ยนข้อมูล

     พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงและสิทธินักแสดง ได้มีการจัดประชุมชี้แจงให้ข้อมูล และแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อยู่โดยตลอดแล้ว

          จึงชี้แจงข้อพิจารณามายังท่านเพื่อแจ้งให้สมาชิกของท่านทราบต่อไป

                          ขอแสดงความนับถือ

                      พลตำรวจตรี รุจิรัตน์ หลุ่มบุญเรือง

ผู้บังคับการ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

เลขานุการ คณะทำงานปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์

การประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

 

                                                                                                                  พรชัย  ศิรินุกูลชร ผู้จัดทำรายงาน  2/4/50

 

 

หนังสือชี้แจงจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงวันที่ 31 มกราคม 2550ได้รับวันที่ 2/2/50

กรณีสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านทางสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

วันที่  31  มกราคม  2550 

เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนและอัตราจัดเก็บที่ไม่เป็นธรรม

เรียน ประธานสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

อ้างถึง 1.หนังสือสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549

2. หนังสือกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ พณ 0705/20 ลงวันที่ 8 มกราคม 2550

           ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ได้ร้องเรียนขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ดำเนินไปอย่างถูกครรลองคลองธรรมและได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อน โดยการห้ามเจ้าของสิทธิจับเพลงบนแผ่นของผู้อื่น ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

          กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้รับมอบหมายจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงพาณิชย์ ให้พิจารณาและแจ้งผลแก่ท่าน จึงใคร่ขอเรียนว่า ข้อเรียกร้องของท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมฯ ได้เคยแจ้งตอบท่านแล้วตามหนังสือที่อ้างถึง 2 อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่ากรมฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่องเช่น การนำมาตรการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาใช้บังคับ โดยกำหนดให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้าเป็นบริการควบคุม การกำหนดมาตรการมิให้จัดเก็บและจับกุมเพลงซ้ำซ้อน การขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ให้ดำเนินคดีเพลงซ้ำซ้อน รวมทั้งการใช้มาตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเพลงที่มีการมอบสิทธิจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อน เป็นต้น นอกจากนั้น กรมฯได้เสนอร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ……โดยมีหลักการให้เพิ่มบทบัญญัตเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ การจัดตั้งองค์กรการจัดเก็บภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาหากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

นาย บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์

รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา

44/100 หมู่ 1 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี  11000

  ที่ พณ 0705/20

8  มกราคม 2550

  เรื่อง  การแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนและอัตราจัดเก็บที่ไม่เป็นธรรม

  เรียน  ประธานสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

อ้างถึง  หนังสือสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย  ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  และอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ลงวันที่ 14  ธันวาคม 2549  รวม  2  ฉบับ

       ตามหนังสือที่อ้างถึง  สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย  แจ้งว่าการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนของภาครัฐไม่สิมฤทธ์ผลในทางปฏิบัติ  เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงประเด็น  เนื่องจากปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนเป็นความขัดแย้งระหว่างครูเพลงเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับค่ายเพลงที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมกับค่ายเพลงที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานสิ่งบันทีกเสียง  ซึ่งเป็นปัญหาภายในระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์  ประกอบกับปัจจุบันเจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมได้แยกออกมาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เองทำให้ ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น  รวมทั้งผู้จัดเก็บฯเดิมได้ขึ้นอัตราการจัดเก็บทำให้ผู้ประกอบการถูกเอารัดเอาเปรียบไม่ได้รับความเป็นธรรม  สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทยจึงขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาทบทวนแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ดำเนินไปอย่างถูกครรลองคลองธรรมพร้อมทั้งได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อน  โดยการห้ามเจ้าของสิทธิจับเพลงบนแผ่นของผู้อื่น  ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

               กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ขอเรียนว่า  กฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  ที่จะให้อำนาจภาครัฐเข้าไปควบคุมการจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เพลงอย่างไรก็ดี  กรมตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  และได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง  โดยได้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์  ผู้ประกอบการที่ใช้เพลงคาราโอเกะและผู้เกี่ยวข้อง  ทำให้สามารถกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายได้ในระดับหนึ่งเช่น  การนำมาตรการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542  มาใช้บังคับ  โดยกำหนดให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้าเป็นบริการควบคุม  การตรวจสอบเพลงที่มีการมอบสิทธิ์ซ้ำซ้อนและกำหนดมาตรการมิให้จัดเก็บและจับกุมเพลงซ้ำซ้อน  รวมทั้ง  การขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ให้ดำเนินคดีเพลงซ้ำซ้อน  การใช้มาตรการไกล่เกลี่ยระหว่างบริษัทที่มีการแจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อนกันเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับผู้มีสิทธิที่แท้จริงต่อไป  เป็นต้น

           นอกจากนั้น  กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.......โดยมีหลักการให้เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  การจัดตั้งองค์กรการจัดเก็บภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา  หากร่างกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

           จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ  และใคร่ขอความร่วมมือสมาพันธ์ฯ ในการกำกับดูแลสมาชิกไม่ให้กระทำการใดๆอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของผู้อื่น  และหากมีกรณีถูกเรียกเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์หรือถูกจับกุมดำเนินคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ก็ควรที่จะใช้สิทธิต่อสู้ทางศาลและร้องเรียนไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาดำเนินการอีกทางหนึ่งด้วย 

ขอแสดงความนับถือ

(นายบรรยงคฺ์  ลิ้มประยูรวงศ์)

รองอธิบดี  ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

  -1-

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

Thai Karaoke Confederation(TKC)

72/18 ม.บางบัวทอง ม.4 ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง นนทบุรี 11110

โทรศัพท์ 02-9233523 089-1720671 โทรสาร 02-9232543  E-mail pornchai@bangbuathong.org

วันที่ 14 ธันวาคม 2549

  เรื่อง   ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงซ้ำซ้อนและอัตราจัดเก็บที่ไม่เป็นธรรม

  เรียน  นายคณิตสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เอกสารที่ส่งมาด้วย

  1    สำเนาเอกสารร้องเรียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549

  2    เอกสาร “รายงานผลกระทบจากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และข้อเสนอในการแก้ปัญหา”

  3    สำเนาเอกสารคำพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหมายเลขดำที่ อ.1919/2546 หมายเลขแดงที่ อ.2345/2547

  4    สำเนาเอกสารขอปรับขึ้นราคาจัดเก็บของบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด(ทีซีซี)ลงวันที่ 27 ก.ย.2549

 

  อ้างถึง การยื่นหนังสือร้องเรียนถึงท่านอธิบดีฯ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549

  เรื่องการจัดเก็บซ้ำซ้อนและความฉ้อฉลในการจัดเก็บของบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

       ตามที่สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของผู้ประกอบการคาราโอเกะและผู้ใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ปี 2537 ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากการบังคับจัดเก็บได้สร้างผลกระทบในสังคมเป็นวงกว้างทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลงและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเช่นร้านอาหาร ธุรกิจบริการ และธุรกิจบันเทิง ผู้ประกอบการคาราโอเกะเป็นต้น

     สมาพันธ์คาราโอเกะได้ยื่นหนังสือถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญาและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้มีการแก้ไขในประเด็นของปัญหาในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ในประเด็นที่เจ้าของสิทธิ์แยกตัวออกมาจากองค์กรจัดเก็บเดิม ออกมาตั้งองค์กรจัดเก็บเพิ่มจนเกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการด้านอัตราจัดเก็บและสิทธิ์ของเพลงที่ซ้ำซ้อนกัน ตามรายละเอียดในสำเนาเอกสาร ที่ได้ยื่นต่อท่านอธิบดีฯ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549นั้น ลุล่วงจนปัจจุบันปัญหาเดิมที่ยังไม่ได้มีการแก้ไข ก็ได้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนในประเด็นเดียวกันอีกจากการประกาศขึ้นราคาของบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด(ทีซีซี) ดังสำเนาเอกสารที่แนบมาด้วย

     เมื่อมีการบังคับจัดเก็บในระยะแรกได้มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 องค์กรจัดเก็บ โดยภาพรวมได้มีการรวบรวมครูเพลงและเจ้าของลิขสิทธิ์เข้ามาร่วมกันในแต่ละฝ่าย คือฝ่ายบริษัทแกรมมี่เป็นองค์กรหนึ่ง และฝ่ายบริษัทอาร์เอสเป็นอีกองค์กรหนึ่ง การจัดเก็บของแต่ละองค์กรก็คือความมุ่งหมายในการจัดเก็บสิทธิ์เผยแพร่ ที่มีสิทธิ์เผยแพร่ดนตรีกรรม (ที่เป็นงานลิขสิทธิ์โดยตรง) ที่เป็นของครูเพลงและสิทธิ์เผยแพร่สิ่งบันทึกเสียง (หรือสิทธิ์ข้างเคียงลิขสิทธิ์) ที่เป็นของค่ายเพลง

 

-2-

     ฉะนั้นการจัดเก็บค่าเผยแพร่จึงต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือในส่วนของ “สิทธิ์ครู” และ “สิทธิ์ค่าย” หากจะตั้งข้อสังเกตุสักนิดจะเห็นว่าประเด็นความผิดพลาดและขัดต่อหลักการและความเป็นจริงคือ กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดให้คุ้มครองเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ก็คือครูเพลง ในส่วนของค่ายเพลงเป็นเพียงเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงที่เป็นผู้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์ กฎหมายนานาชาติจึงกำหนดให้เป็นเพียง “สิทธิ์ข้างเคียง” โดยฝ่ายครูเพลงตามกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผู้สร้างสรรจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในการเป็นผู้บริหารจัดเก็บงานลิขสิทธิ์เพลง หรือเป็นผู้จัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์เป็นกิจกรรมหลักและจัดเก็บสิทธิ์ข้างเคียงเป็นกิจกรรมอันดับรอง แต่เป็นเพราะศักยภาพในการจัดตั้งและองค์กรครูเพลงยังไม่มีความเข้มแข็งพอเมื่อเปรียบเทียบกับด้านของค่ายเพลง จากการที่ฝ่ายค่ายเพลงเข้ามาสวมสิทธิ์ในการบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ตั้งแต่ต้น ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นความผิดพลาดของการบริหารจัดการของภาครัฐที่ไม่ได้เข้ามาแทรกแซงหรือจัดตั้งให้กับฝ่ายครูเพลงเจ้าของสิทธิ์ตั้งแต่ต้น

     ฝ่ายครูเพลงเมื่อถูกสวมสิทธิ์และไม่ได้เป็นฝ่ายบริหารจัดการเองโดยเป็นเพียงผู้รับผลตอบแทนในการจัดเก็บจากค่ายเพลง จึงเกิดการหวาดระแวงในปัญหาความไม่โปร่งใสและความไม่เป็นธรรมในการรับผลตอบแทน จึงได้มีการแยกตัวออกมาจัดเก็บเองตามสิทธิที่ตนมีตามกฎหมาย จนถึงปัจจุบันมีองค์กรจัดเก็บถึง 14 องค์กรตามข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสาเหตุหลักที่ต่างฝ่ายต่างอ้างความชอบธรรมทั้งในส่วนของ “สิทธิ์ครูและสิทธิ์ค่าย” เป็นที่มาของปัญหาเพลงซ้ำซ้อนที่ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ตั้งเป็นประเด็นขึ้นซึ่งเบี่ยงเบนไปจากข้อเท็จจริง สำหรับในส่วนขององค์กรผู้ประกอบการอย่างเช่นสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย ได้สรุปประเด็นปัญหาว่าเป็นเพราะการจัดเก็บซ้ำซ้อนของเจ้าของสิทธิ์ที่เดิมจัดเก็บอยู่กับ 2 กลุ่มดังกล่าวแยกออกมาจัดเก็บซ้ำซ้อน ไม่ใช่ประเด็นของเพลงซ้ำซ้อนแต่เป็นประเด็นการ “จัดเก็บซ้ำซ้อน” ทำให้อัตราจัดเก็บเพิ่มขึ้นโดยไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ ทั้งๆที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ “กำหนดสิทธิ์ในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้าเป็นบริการควบคุม โดยให้ผู้ประสงค์จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์แจ้งต้นทุนค่าใช้จ่าย หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ต่อ กกร.” แต่ไม่เคยมีผลในทางปฏิบัติที่จะสามารถควบคุมอัตราจัดเก็บได้ตามที่ประกาศให้เป็นสินค้าควบคุม

     การที่แต่ละค่ายเพลงอ้างว่าได้แจ้งราคาการจัดเก็บเป็นทางการกับทาง ก.ก.ร.ในอัตราหนึ่งแต่ได้มีการลดราคาจัดเก็บเป็นอีกราคาหนึ่งซึ่งต่อมาได้เพิ่มอัตราจัดเก็บมากกว่าเดิมแต่ไม่ได้จัดเก็บสูงกว่าที่ได้ยื่นไว้ เป็นคนละประเด็นกันกับการประกาศให้เป็นสินค้าควบคุมที่ต้องได้รับการควบคุมราคา ฉะนั้นประเด็นการขึ้นราคาจัดเก็บจากที่เคยจัดเก็บอยู่ จึงอยู่ในประเด็นที่เป็นการขึ้นราคาโดยพละการไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ และเป็นประเด็นเดียวกันกับการจัดเก็บซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมและเข้าลักษณะฉ้อฉลนั่นเอง ฉะนั้นการกล่าวอ้างถึงการขึ้นราคาไม่เกินจากอัตราที่ได้แจ้งไว้กับ ก.ก.ร.กับการแยกตัวออกมาจัดเก็บซ้ำซ้อนจึงอยู่ประเด็นเดียวกันกับการที่กรมการค้าภายในหรือ ก.ก.ร.ได้ประกาศเป็นสินค้าควบคุมที่ต้องได้รับการปฏิบัติให้เป็นผลในทางรูปธรรม

-3-

     การจ่ายค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์ของผู้ประกอบการโดยเฉพาะคาราโอเกะประสพปัญหาตลอดมาหากการจ่ายค่าเผยแพร่ของผู้ใช้งานเพลงจ่ายเพียงครั้งเดียวโดยรวมทั้งสิทธิ์ครูและสิทธิ์ค่ายก็จะไม่เกิดความยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันครูเพลงเจ้าของสิทธิ์แยกตัวออกมาตั้งบริษัทจัดเก็บเองซึ่งจัดเก็บซ้ำซ้อนจากที่เก็บอยู่ ผู้ใช้งานเพลงก็ต้องจ่ายเพิ่มอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนปัจจุบันต้องจ่ายแพงขึ้นถึงกว่า 3 เท่าตัว แต่ก็ยังไม่สามารถรอดพ้นจากการถูกจับดำเนินคดีจากเจ้าของสิทธิ์ เพราะผู้ใช้งานเพลงไม่ทราบว่าเพลงใดเป็นสิทธิ์ของใคร สาเหตุจากทางสำนักลิขสิทธิ์ไม่ได้มีการลงทะเบียนความเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่ชัดเจน และระเบียบขั้นตอนการจัดเก็บเอื้อประโยชน์แก่เจ้าของสิทธิ์มากจนเกินขอบเขต ไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของโทษการละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลกับผู้ใช้งานเพลงในการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ

     พฤติกรรมการแยกตัวออกมาจัดเก็บหลายองค์กร ในทางปฏิบัติกลุ่มเพลงที่ได้รับความนิยมก็จะถูกกระจายออกไปในหลายๆองค์กรจัดเก็บ หากผู้ประกอบการเลือกใช้งานเพลง 1 ถึง 2 องค์กร เพลงที่ได้รับความนิยมก็จะน้อยลงผู้ใช้บริการก็มีโอกาสที่จะเลือกเพลงที่ต้องการน้อยลงทำให้รายได้ตกต่ำลงเป็นวงจรที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธุรกิจของผู้ประกอบการเอง หากจะซื้อสิทธิ์ทุกองค์กรเพื่อให้เพลงมีครบตามความนิยม ผู้ประกอบการก็ต้องขาดทุนจนไม่สามารถจะอยู่รอดได้

     จากผลกระทบในการจัดเก็บซ้ำซ้อนของเจ้าของสิทธิ์ที่เพลงหนึ่งอาจจัดเก็บซ้ำกัน 4-5 องค์กรโดยเฉพาะเพลงที่ได้รับความนิยม เป็นประเด็นของปัญหาการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลในเชิงลึกของแต่ละเจ้าของสิทธิ์ที่เป็นช่องว่างให้มีการมอบอำนาจของครูเพลงเจ้าของสิทธิ์แก่กลุ่มมิจฉาชีพในคราบของทีมจับ เพื่อจับกุมรีดไถผู้ใช้งานเพลงเป็นคดีความทั้งที่เปิดเผยและไม่เปิดเผยเป็นจำนวนมากหากจะคิดเป็นตัวเลขความเสียหายทางธุรกิจและสังคม ก็ไม่อาจประมาณค่าได้ การปฏิบัติในขั้นตอนการจับกุมที่รุนแรง และก้าวร้าวนำมาซึ่งปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดต่อทรัพย์สินและสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไร้ความเป็นธรรม

     หากจะกล่าวโดยสรุปตามความเห็นของสมาพันธ์ฯ การแก้ปัญหาเพลงซ้ำซ้อนในปัจจุบันที่ผ่านมาของภาครัฐไม่อาจสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติได้ เพราะเป็นการแก้ไม่ตรงประเด็นของปัญหา ความอ่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงของสิทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยทันทีเพียงการมอบอำนาจของเจ้าของสิทธิ์ กับผลลัพย์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการทางคดีอาญาอย่างกว้างขวางในทางปฏิบัติ การไล่ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อนที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่อาจ เท่าทันกับสถานะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องด้วยระบบเพลงมีจำนวนเป็นแสนเพลงในระบบ โดยข้อเท็จจริงที่ผ่านมาครูเพลงเจ้าของสิทธิ์ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ประกอบการที่ใช้แผ่นของบริษัทที่ครูเพลง ไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งบันทึกเสียง เพราะโดยปรกติครูเพลงเจ้าของสิทธิ์ดนตรีกรรมจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือเจ้าของสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงหรือแผ่นวีซีดี ฉนั้นจากข้อเท็จจริงดังกล่าวการห้ามจับเพลงบนแผ่นของผู้อื่นจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นที่สุด

 

-4-

     เพราะผู้ใช้งานเพลงที่จ่ายค่าสิทธิ์เผยแพร่แก่ค่ายเพลงเจ้าของสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงอย่างถูกต้องจึงไม่ควรได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งของเจ้าของสิทธิ์ทั้งหมดที่มีอยู่ในแผ่น เพราะขาดเจตนาในการละเมิด ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าของสิทธิ์เป็นปัญหาภายในของเจ้าของสิทธิ์ไม่ใช่ปัญหาของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

     ในส่วนของค่ายเพลงที่เป็นผู้บริหารจัดเก็บมาแต่เดิม ภายหลังจากมีการแยกตัวออกมาจัดเก็บของเจ้าของสิทธิ์ดนตรีกรรม แต่ก็ยังคงจัดเก็บผู้ใช้งานเพลงในราคาเดิมอย่างต่อเนื่องทั้งที่ไม่มีการแบ่งปันในส่วนของครูเพลงเจ้าของสิทธิ์ที่เคยได้รับ แต่ต่อมาภายหลังยังได้มีการขึ้นราคาการจัดเก็บอีก ทำให้ผู้ประกอบการถูกเอารัดเอาเปรียบไม่ได้รับความเป็นธรรมเข้าลักษณะการผูกขาดทางการค้า ฉะนั้นส่วนเกินจากการจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรมนี้ ทางภาครัฐจะดำเนินการอย่างไรกับความฉ้อฉลดังกล่าว

    จากกรณีดังกล่าวในประเด็นของการจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่สมาพันธ์ฯ เรียนเสนอมาขอให้ ท่านได้โปรดพิจารณาทบทวนการแก้ปัญหาเพื่อให้การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดำเนินไปอย่างถูกครรลองคลองธรรม โดยสมาพันธ์ฯ ได้แนบเอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ พร้อมกับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหามาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้

  ขอได้โปรดรับทราบและโปรดพิจารณา

  ด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง

 

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

Thai Karaoke Confederation(TKC)

72/18 ม.บางบัวทอง ม.4 ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง นนทบุรี 11110

โทรศัพท์ 02-9233523 มือถือ 089-1720671 โทรสาร 02-9232543 www.thkaraoke.net E-mail pornchai@bangbuathong.org

 

ข้อเสนอในการแก้ปัญหาการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อน

    1    ห้ามไม่ให้มีการจัดเก็บและจับกุมดำเนินคดีการละเมิดสิทธิ์เผยแพร่บนแผ่นเพลงที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือไม่ได้เป็นเจ้าของในสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง หรือห้ามจัดเก็บและจับกุมในแผ่นเพลงที่มีสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน

    2    ให้ภาครัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในการบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงโดยเฉพาะเช่นกรณีที่ผู้ประกอบการถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม ให้มีการช่วยเหลือทางคดีและให้มีการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างไม่เป็นธรรม โดยองค์กรหรือสมาคมที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

   3  ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหากรณีจัดเก็บซ้ำซ้อน เพื่อแก้ไขเยียวยาปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งจัดให้มีการเจรจาระหว่างตัวแทนเจ้าของสิทธิ์และผู้ใช้งานเพลง เจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรหรือสมาคมฝ่ายกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยยึดถือหลักการแสวงหาความร่วมมือด้วยความสมัครใจ

  

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร  ผู้จัดทำรายงาน

  go back

 


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.