เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


 

เอกสารที่เผยแพร่ในวันประชุมเรื่อง "ร่างกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์" 12-2-51

 

องค์กรจัดเก็บตามหลักสากล

      1         ไม่แสวงหากำไร (nonprofit Organization)

      2          มีหนึ่งสิทธิ์ต่อหนึ่งองค์กร

      3          มีองค์กรจัดเก็บเพียงหนึ่งองค์กร (Monopoly)

      4          จัดเก็บก้อนเดียวทั้งระบบ (Single Remuneration)

       5          มีคณะกรรมการกำกับดูแลที่มาจากตัวแทนขององค์กรที่เกี่ยวข้องเช่นผู้ใช้งาน เจ้าของสิทธิ์ ภาครัฐ

 

การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาและส่งเสริมธุรกิจที่ใช้งานเพลง(ดนตรีกรรม) >

 

1        ให้กำหนดบทบาทของเจ้าของสิทธิ์และองค์กรจัดเก็บ

2       ให้กำหนดบทบาทของผู้ใช้งานเพลงแต่ละประเภท

3       ให้แยกแยะพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ของการใช้งานเพลงให้ชัดเจน

 

แนวทางการแก้ปัญหาของระบบจัดเก็บ

 

1        ต้องมีการรวมงานเพลงทั้งระบบให้เป็นเอกภาพ

2        ต้องไม่มีคำว่าเลือกใช้เฉพาะบริษัทฯหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะในทางปฏิบัติไม่สามารถกระทำได้

3        ให้มีการบังคับใช้ CL (compulsory lisence)ในบางกรณี เพื่อควบคุมเสถียรภาพของระบบในการจัดเก็บ

4        กำหนดอัตราจัดเก็บร่วมกันระหว่างองค์กรจัดเก็บและองค์กรผู้ใช้งานเพลง

 

การกำหนดบทบาทของเจ้าของสิทธิ์และองค์กรจัดเก็บ

 

1            เจ้าของสิทธิ์ดนตรีกรรม และสมาคมผู้ประพันธ์เพลง(ดนตรีกรรม)เป็นองค์กรในเชิงสัญลักษ์ที่มีบทบาทหลักโดยตรงในการจัดเก็บค่าตอบแทน ตามกฎหมายสากลเช่น อนุสัญญา Brune Convention และนิยามในกฎหมายทุกประเทศได้กำหนดคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้ประพันธ์คำร้องทำนองหรือดนตรีกรรมเป็นวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครอง  และมีกฎหมายลูกที่ต่อยอดจากอนุสัญญา Brune Convention คือ WCT(WIPO Copyright Treaty 1996)  และ WPPT (WIPO Performances and Phonograms Treaty 1996)

·       หลักการทางสากลระบุนิยามชัดเจนว่าการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นกิจกรรมหลัก(primary activity)ของ 

        สมาคมนักประพันธ์ดนตรีกรรมฯ การจัดเก็บสิทธิ์ข้างเคียงเป็นกิจกรรมอันดับรอง (secondary activity)

        

2            เจ้าของสิทธิ์ข้างเคียง ตามสนธิสัญญา WPPT (WIPO Performances and Phonograms Treaty 1996)

คือ นักแสดง (Performers) ,ค่ายเพลง(Publishers) , สถานีเผยแพร่ฯ (Broadcasting)

 

 

บทบาทของผู้ประกอบการเพื่อการเผยแพร่

 

1       เป็นผู้จัดหา รวบรวมงานเพลงเพื่อการเผยแพร่ และเป็นผู้จัดเก็บค่าเผยแพร่จากผู้บริโภค(โดยระบบตามกฎหมาย หรือคล้ายคลึงการจัดเก็บภาษี Vat ของสถานีจำหน่ายน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า)

2       เป็นผู้จัดหารวบรวมงานเพลงหรือทำซ้ำในระบบเพื่อการเผยแพร่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือองค์ประกอบในการละเมิดการทำซ้ำเพื่อการจำหน่ายหรืออื่นใดที่ทำความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อเจ้าของสิทธิ์ในทางตรงกันข้ามกับเอื้อประโยชน่ร่วมกันให้กับเจ้าของสิทธิ์,องค์กรจัดเก็บและผู้ประกอบการ

3       ผู้ประกอบการไม่ใช่ผู้บริโภคแต่เป็นเครื่องมือและเครือข่ายหรือสถานีบริการฯในการเตรียมการเพื่อนำผลงานเพลงสู่ผู้บริโภคที่ใช้บริการ

4       ผู้ประกอบการคือองค์ประกอบสำคัญในการให้ข้อมูลการใช้งานเพลงเพื่อประโยชน์ในการตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์อย่างเป็นจริงและเป็นธรรม

5       ผู้ประกอบการคือผู้จัดเก็บค่าตอบแทนคืนสู่เจ้าของสิทธิ์ตัวจริง

6       สถานีเผยแพร่ฯ จัดอยู่ในฐานะของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ที่มีลักษณะพิเศษคือเป็นเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงในผลงานการเผยแพร่ผ่านทางสื่อของตนเอง  และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียง

 

การส่งเสริมธุรกิจที่ใช้งานเพลงเพื่อการเผยแพร่

 

1        ผู้ใช้งานเพลงเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่และชำระค่าเผยแพร่อย่างถูกต้อง ให้ทำซ้ำเพื่อการเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องชำระค่าทำซ้ำหรือใช้มาตรการ CL เข้ามาบังคับใช้

2        ให้กำหนดทิศทางในการจัดเก็บค่าเผยแพร่ตามการใช้จริง (Actual Use Pay)โดยระบบบันทึกการใช้งาน หรือการรวบรวมสถิติของแต่ละระดับและขนาดธุรกิจของผู้ประกอบการ  สำหรับระยะเริ่มต้นให้คิดค่าเฉลี่ย จากระบบบันทึกประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นของแต่ละประเภทที่มีการติดตั้งระบบบันทึก มาเป็นข้อสรุปในการจัดเก็บแบบเหมาในบางประเภทประกอบการที่ไม่สามารถใช้ระบบบันทึกได้

3        เจ้าของสิทธิ์หรือองค์กรเจ้าของสิทธิ์ควรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมในการนำงานเพลงเข้าสู่ระบบของผู้ใช้งานเพื่อเตรียมการเผยแพร่ ในการขายสิทธิ์การเผยแพร่แก่ผู้บริโภคโดยตรง

 

 

 

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร  11-2-51

  หนังสือสนับสนุนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติที่ยื่นต่อประธานกรรมาธิการ นายกิตติ  ลิ้มชัยกิจ วันพฤหัสที่ 13 ธันวาคม 2550  เวลา 11.30 น.

                          สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย

                      Thai Organization of Copyright User Confederation

                72/18  .บางบัวทอง ม.4  .บ้านกล้วย-ไทรน้อย  .พิมลราช  .บางบัวทอง  นนทบุรี  11110

            โทรศัพท์  02-9233523 มือถือ 081-4905263   โทรสาร  02-9232543   www.bangbuathong.org   E-mail pornchai@bangbuathong.org

 

 

วันที่ ๑๓  ธันวาคม ๒๕๕๐

 

เรื่อง  ขอสนับสนุนการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ....... 

         เพื่อให้มีองค์กรจัดเก็บและขอเสนอความเห็นแก้ไขร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ

         กรรมาธิการวิสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

กราบเรียน  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

 

 

             ตามที่ สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ซึ่งเป็นองค์กรของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ในทุกภาคส่วน เช่น สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย  สหกรณ์เพลงแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย  สมาคมโรงแรมไทย  สมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย    หลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปี 2537 เป็นต้นมาได้ประสพปัญหาและอุปสรรคมากมาย ผู้ประกอบการและประชาชนที่ใช้ผลงานเพลงต่างได้รับผลกระทบ ทางธุรกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องดังที่ได้รับทราบทางสื่อต่างๆ  สมาพันธ์ฯ เป็นตัวแทนของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์  ได้ติดตามแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐโดยมีการร้องเรียนผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ  นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี  แต่ปัญหาต่างๆก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข  โดยหน่วยงานภาครัฐได้ให้ความเห็นว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจพอเพียงในการแก้ปัญหา  ต่อมากรมทรัพย์ฯได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นและมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ในบางมาตรา โดยกำหนดให้มีองค์กรจัดเก็บงานลิขสิทธิ์ขึ้นมาดูแล   ซึ่งเป็นเพียงเฉพาะในมุมมองของทางการฝ่ายเดียว  แต่ไม่ได้แก้ไขในหลักการและแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาคงไปเน้นบทลงโทษที่ไม่ใช่ประเด็นที่นำไปสู่การแก้ปัญหา

 

            สมาพันธ์ฯ มีความยินดีที่คราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ครั้งที่  ๖๕/๒๕๕๐ เป็นพิเศษวันพุธที่  ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ประกอบด้วยร่างของกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ร่างของนายกงกฤช  หิรัญกิจ  ร่างของนายวิริยะ  นามศิริพงพันธุ์   และตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณา ร่างดังกล่าว

               

                                                                                      --

 

                สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยขอสนับสนุนให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เพื่อให้มีองค์กรจัดเก็บที่เป็นมาตรฐานสากล   สมาพันธ์ฯ  ในฐานะที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว  และได้รับข้อมูลของปัญหาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  จึงใคร่ขอเสนอข้อมูลและพร้อมกับเสนอความเห็นในการแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย  ในเชิงลึกของประเด็นต่างๆดังนี้

 

1     ขอให้แก้ไขในมาตราของบทลงโทษการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการแยกบทลงโทษ กรณีการละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ให้แยออกจากการละเมิดสิทธิ์ประเภทอื่นๆ   เช่น  สิทธิ์ทำซ้ำ-ดัดแปลง ออกจากกัน โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ให้ รับผิดในคดีแพ่งเท่านั้น    

              กฎหมายระหว่างประเทศที่ให้การรับรองกว่า 180 ประเทศ เช่น xml:namespace prefix = st1 />xml:namespace prefix = st1 />xml:namespace prefix = st1 />Berne convention,  WIPO Copyright Treaty

       (WCT),  WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT)  ล้วนแล้วแต่กำหนดบทลงโทษการละเมิดเป็น 

       คดีแพ่งทั้งสิ้น  ในส่วนของ TRIPs agreement มีบทลงโทษทางอาญาเฉพาะในประเด็นการละเมิดในระดับใหญ่ที่มี

       เรื่องของการนำเข้าเครื่องจักร หรือการมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากการละเมิดที่ต้องไปเกี่ยวข้องกันกฎหมายยึดทรัพย์  

       จึงจะเป็นคดีอาญา

      

  

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากงานวิจัยของ นายจุมพล  ภิญโญสินวัฒน์และคณะ   สังกัดศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ  ปี 2549 ) หน้า 44    3.3.4  การบังคับสิทธิทางแพ่งและอาญา

        สำหรับการบังคับสิทธิของลิขสิทธิ์รวมทั้งการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเจ้าของสิทธิในสหรัฐบังคับสิทธิโดยการดำเนินคดีทางแพ่งเป็นหลัก  เจ้าของลิขสิทธิ์จะดำเนินคดีอาญาเองไม่ได้  พนักงานอัยการจะเป็นผู้ฟ้องร้องคดีอาญาเท่านั้น  ในทางปฏิบัติการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นน้อยมากและจะเป็นกรณีของการละเมิดขนาดใหญ่เท่านั้น  เช่น  การนำเข้าหรือผลิตสินค้าละเมิดขนาดใหญ่เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันมีแนวโน้มที่กลุ่มเจ้าของสิทธิต่างๆ เช่น The Recording Industry Association of xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:smarttags" />America (RIAA) เป็นต้น  จะให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดำเนินคดีอาญากับการละเมิดลิขสิทธิ์บางประเภท  โดยเฉพาะการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตหรือเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนมากมาก เช่นการแลกเปลี่ยนๆไฟล์ข้อมูลเพลง sharing) เป็นต้น

 

                                                                                      --

 

      สำหรับคำกล่าวที่ว่า การละเมิดงานลิขสิทธิ์  เปรียบเทียบกับการลักทรัพย์  ตามข้อเท็จจริงการละเมิดงานลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองโดย  กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  ที่ให้นิยามว่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้  เพราะไม่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์  แต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ  รวมทั้งให้ความคุ้มครองด้านธรรมสิทธิ์สามารถตกทอดถึงทายาทได้  แต่ในกฎหมายสากลได้แยกออกจากกฎหมายอาญาทั่วไป  ซึ่งเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้  เพราะเป็นลักษณะความผิดระหว่างเอกชนต่อเอกชน  ไม่ใช่ความผิดต่อภาครัฐ  อีกทั้งปรัชญาของลิขสิทธิ์ได้กำหนดหลักการไว้ว่า  ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิ์ที่ไม่ต้องมีการจดทะเบียนเป็นทางการ แสดงออกหรือเผยแพร่เมื่อใดก็ให้ความคุ้มครองทันที (no formality)  โดยธรรมชาติของงานลิขสิทธิ์มีความเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่  ความคิด  การเขียนหรือการแสดงออกของมนุษย์ในสังคมทุกระดับชั้น  การล่อแหลมหรืออ่อนไหวที่เป็นไปได้สูงในการละเมิดหรืออ้างสิทธิ์คุ้มครองจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ทั้งที่เจตนาและไม่เจตนา  เหล่านี้คือเหตุผลหนึ่งที่การดำเนินคดี  อาญา  กับข้อหาละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา เช่นงานลิขสิทธิ์จึงไม่เหมาะสมกับสภาวะ สังคม และหลักมนุษยธรรมและศีลธรรม 


 

(ข้อมูลจาก www.bangbuathong .org )

 

 

2            ให้มีการกำหนดนิยาม การเผยแพร่ต่อสาธารณ ให้มีความชัดเจนและคุ้มครองประเพณี  วัฒนธรรม ของชุมชนและสาธารณ กรณีของการจัดงานรื่นเริง งานประเพณี  งานฉลอง งานเทศกาลต่างๆ ให้มีอิสระในกิจกรรมของส่วนรวมในการใช้งานเพลงที่จำเป็นต้องแยกแยะและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวตามมาตรา 66  ในรัฐธรรมนูญปี 2550 

 

 

 

                                                                                --

 

 

3      ในประเด็นของมาตรา  53/24 (ของส.น.ช.กงกฤช หิรัญกิจ) ในร่างแก้ไขที่กำหนดให้มี คณะกรรมการกำกับดูแล

        องค์กรจัดเก็บ ขอให้มีตัวแทนขององค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์  และกระทรวงวัฒนธรรม  เข้าไปดูแลผลกระทบทาง 

        วัฒนธรรมและสังคม  ในส่วนของตัวแทนจาก สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ก็มีตัวแทนของ องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธ์

        อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค  อีกทั้งทางสมาพันธ์ฯได้เคยประสานขอความ

        ช่วยเหลือจากหน่วยงานดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสขโดยอ้างว่า  การใช้งานลิขสิทธิ์ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก  

        สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค 

 

          ตัวแทนจากผู้ใช้งานลิขสิทธิ์มีความชอบธรรมในการมีส่วนร่วมในฐานะของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงและมีส่วนเกี่ยวข้องมีสิทธิตามกฎหมายที่ระบุใน มาตรา  87  รัฐธรรมนูญปี  2550

 

            ในประเด็นของการจัดเก็บขององค์กรทั่วโลก  สมาพันธ์ฯได้รวบรวมสถิติและข้อมูลขององค์กร WIPO  แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่ขององค์กรจัดเก็บทั่วโลกจะดำเนินการในระดับรัฐสภาหรือกระทรวงวัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ เหตุผลคืองานลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมเป็นงานที่เกิดมาจากชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในชุมชน วิวัฒนาการมาเป็นจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นเอกภาพทางวัฒนธรรมมีผลอย่างเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมความสงบสุขของสังคม และความมั่นคงของชาติ

 

1         กำหนดให้มีองค์กรจัดเก็บ ที่เป็นมาตรฐานสากล

 

     องค์กรจัดเก็บตามหลักสากล

 

1        ไม่แสวงหากำไร (nonprofit Organization)

2        มีหนึ่งสิทธิ์ต่อหนึ่งองค์กร

3        มีองค์กรจัดเก็บเพียงหนึ่งองค์กร (Monopoly)

4        จัดเก็บก้อนเดียวทั้งระบบ (Single Remuneration)

5        มีคณะกรรมการกำกับดูแลที่มาจากตัวแทนขององค์กรที่เกี่ยวข้องเช่นผู้ใช้งาน เจ้าของสิทธิ์ ภาครัฐ 

 

 

 

                                                                                 --

 

              สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย  ขอขอบคุณท่านที่ได้กรุณา  จัดทำร่างแก้ไข พรบ.ลิขสิทธิ์ เพื่อให้มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย  ยินดีให้ความร่วมมือในทุกๆด้านตามที่สามารถกระทำได้  เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ  แก้ปัญหาการจัดเก็บลิขสิทธิ์โดยยึดถือการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค 

              

จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา

 

ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูง

 

 

ลงชื่อ.........................................................................................เลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย

                          (นายพรชัย  ศิรินุกูลชร)

 

ลงชื่อ.........................................................................................รองประธานสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

                      (นายเอกชัย  อุณหทรงธรรม)

 

ลงชื่อ.........................................................................................ประธานสหกรณ์เพลงแห่งประเทศไทย

                      (นายสุทธิชัย  นานานุกูล)

 

ลงชื่อ..........................................................................................เลขาธิการสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย

                     (นายแพทย์ธิเบศร์  เมฆวิชัย)

 

ลงชื่อ..........................................................................................นายกสมาคมภัตตาคารไทย

                      (นางปวรวรรณ  กุลมงคล)

 

ลงชื่อ...........................................................................................ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมโรงแรมไทย

                       (นายสัมพันธ์  แป้นพัฒน์)

 

ชมภาพวันยื่นหนังสือ..........

 

 

 

 

ข้อมูลจากกฎหมายลิขสิทธิ์ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

            การกำกับดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีนโดยเฉพาะด้านลิขสิทธิ์  เป็นความรับผิดชอบในระดับสภาประชาชนจีน โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยด้านการจัดเก็บและคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมจากผู้แทนทั่วประเทศทำการวิจัยถึงผลกระทบด้านต่างๆเป็นเวลากว่า 7 ปีจึงได้มีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสภาประชาชน  ได้มีการกำหนดการดำเนินคดีโทษละเมิดลิขสิทธ์โดยทางแพ่ง  และดำเนินการฟ้องร้องโดยฝ่ายพนักงานอัยการของภาครัฐเท่านั้น  หากเป็นการละเมิดขนาดใหญ่จึงจะดำเนินคดีทางอาญา

 

 

 

 

 

 

 

ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

 

…………………………………………………

…………………………………………………

…………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ

ของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ทำซ้ำ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“ทำซ้ำ” หมายความรวมถึง คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือจากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีหรือรูปแบบใดๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

 

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง รวมถึงการทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนในลักษณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงงานนั้นได้ ณ เวลา และสถานที่ ที่บุคคลนั้นเลือก หรือทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยวิธีอื่นซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

มาตรา ๕ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “จำหน่าย” คำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” และคำว่า “มาตรการทางเทคโนโลยี” ระหว่างบทนิยามคำว่า “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” และคำว่า “การโฆษณา” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“จำหน่าย” หมายความว่า ขาย แจก แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นซึ่งต้นฉบับหรือสำเนางานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

“ข้อมูลการบริหารสิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่แสดงให้ปรากฏอยู่ในงานอันมีลิขสิทธิ์ หรือในการแสดงที่ได้บันทึกไว้แล้ว โดยระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง และเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หรือโดยระบุระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง และตัวเลขหรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว

“มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือส่วนประกอบ ซึ่งในทางการใช้งานโดยปกติ ได้ถูกออกแบบมาสำหรับป้องกันหรือควบคุมการกระทำใดๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

 

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง และกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”

 

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

(๕) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

(๖) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๖) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดย

ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา ๑๕ (๖) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่หนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้”

 

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๘ ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใด

บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลงหรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง

หรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้สร้างสรรค์

มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เว้นแต่

จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เป็นลายลักษณ์อักษร

สิทธิของผู้สร้างสรรค์ตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่เป็น การโอนทางมรดก”

 

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

นี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว

มาตรา ๒๘ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ทั้งนี้

ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

มาตรา ๓๐ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว”

 

มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒ แห่ง

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๓๒/๑ การทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในลักษณะ

ดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(๑) อันเกิดจากกระบวนการในการส่งข้อมูลงานลิขสิทธิ์ทางระบบดิจิตอล หรือเป็นการทำให้งานลิขสิทธิ์ที่บันทึกไว้ในรูปดิจิตอลสามารถเข้ารับรู้ได้

(๒) โดยบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือมีสิทธิตามกฎหมายให้ส่งข้อมูลงานลิขสิทธิ์ทางระบบดิจิตอล หรือเป็นการทำให้งานลิขสิทธิ์ที่บันทึกไว้ในรูปดิจิตอลสามารถเข้ารับรู้ได้ และ

(๓) เป็นผลจากการทำงานตามปกติของอุปกรณ์ที่ใช้และมีการลบสำเนาที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่สามารถเรียกสำเนางานดังกล่าวกลับคืนมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้อีก

นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๑) และ (๒)

มาตรา ๓๒/๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น โดยผู้ให้บริการ หากผู้ให้บริการไม่ได้เป็นผู้ควบคุม ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการกระทำดังกล่าว มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

คำว่า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

๑. ผู้ให้บริการส่งผ่าน หรือเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อการสื่อสารผ่านระบบดิจิตอล ระหว่างจุดที่กำหนดโดยผู้ใช้งาน โดยมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของข้อมูลที่ผู้ใช้รับหรือส่ง

๒. ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือผู้อำนวยความสะดวกโดยประการอื่นในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๔ นักแสดงย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตนดังต่อไปนี้

(๑) เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้

(๒) บันทึกการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้แล้ว

(๓) ทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงไม่ว่าโดยวิธีการใดหรือในรูปแบบใด

(๔) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับหรือสำเนาสิ่งบันทึกเสียงการแสดง

(๕) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาสิ่งบันทึกเสียงการแสดง

(๖) เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดง ในลักษณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงงานนั้นได้ ณ เวลาและสถานที่ที่บุคคลนั้นเลือก

(๗) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใด หรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัด

การแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๗) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๔๔/๑ ในกรณีที่นักแสดงได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา ๔๔ (๗) ย่อมไม่ตัดสิทธิของนักแสดงที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้”

 

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

 

“มาตรา ๔๗ ให้นักแสดงมีสิทธิในการแสดงตามมาตรา ๔๔ หากเป็นไป

ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) นักแสดงนั้นมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือกรณี

สิ่งบันทึกเสียงการแสดง นักแสดงมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ในขณะที่มี

การบันทึกเสียงการแสดงนั้น หรือในขณะที่เรียกร้องสิทธิ

(๒) การแสดงหรือส่วนใหญ่ของการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วย

(๓) การแพร่เสียงแพร่ภาพการแสดงทำในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

(๔) การบันทึกเสียงการแสดงหรือส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือ

(๕) การโฆษณาครั้งแรกซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดงได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

หากได้มีการโฆษณาดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก”

 

มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๘ ให้นักแสดงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามมาตรา ๔๕ หากเป็นไป

ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) นักแสดงมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ในขณะที่มีการบันทึกเสียงการแสดงนั้น หรือในขณะที่เรียกร้องสิทธิ

(๒) การบันทึกเสียงการแสดงหรือส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือ

(๓) การโฆษณาครั้งแรกซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดงได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณาดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มี การโฆษณาครั้งแรก”

 

มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๓ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ มาบังคับใช้แก่สิทธิ

ของนักแสดงโดยอนุโลม”

 

มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มมาตราต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ มาตรา ๕๓/๕ และมาตรา ๕๓/๖

 

“หมวด ๒/๑

การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี

 

มาตรา ๕๓/๑ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิโดยไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าว และรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าจะชักจูงหรือทำให้เกิดการละเมิด ให้ความสะดวกแก่การละเมิด หรือปกปิดการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตาม

พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(๑) ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ

(๒) จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อการจำหน่ายสิ่งที่ใช้แสดงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าได้มีการลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยผู้ไม่มีอำนาจ

(๓) จำหน่าย นำเข้าเพื่อการจำหน่าย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยรู้อยู่แล้วว่าได้มีการลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยผู้ไม่มีอำนาจ

มาตรา ๕๓/๒ การกระทำเกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย

การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ และรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการมิให้ถือเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๓/๓ ห้ามมิให้มีการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุม การเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง

การหลีกเลี่ยงแก่มาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของ

เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นความผิด

ภายใต้บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อหลีกเลี่ยง

มาตรการทางเทคโนโลยี มิให้ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) การกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(๒) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๓) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) การทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๕) การนำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

(๖) การทำวิศวกรรมย้อนกลับโดยสุจริต ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยอิสระต่างหากได้

(๗) การกระทำโดยสุจริต โดยผู้วิจัยซึ่งได้รับสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้ใช้ความพยายามโดยสุจริตในการขออนุญาตเพื่อการวิจัยดังกล่าวแล้ว โดยการวิจัยนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่จำเป็นเพื่อชี้และวิเคราะห์ข้อบกพร่องและจุดอ่อนของเทคโนโลยีการเข้าสัญญาณและถอดสัญญาณข้อมูล (๘) การใส่ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบในมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการป้องกันผู้เยาว์ในการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม (๙) การกระทำโดยสุจริตซึ่งเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อนุญาต เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ สืบค้น หรือแก้ไข เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น มีความปลอดภัย

(๑๐) การกระทำเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการระบุและยับยั้งการรวบรวมหรือกระจายข้อมูลความลับของบุคคลที่ได้ให้ไว้ในการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานใด ๆ โดยบุคคลอื่น

(๑๑) การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงาน เจ้าหน้าที่

หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศและ

รักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการ

(๑๒) การเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่น โดยห้องสมุด หอจดหมายเหตุ หรือสถาบันการศึกษาที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการตัดสินใจที่จะได้มาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงดังกล่าว

(๑๓) การกระทำแก่มาตรการทางเทคโนโลยีโดยประการอื่นตามที่ได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

มาตรา ๕๓/๔ การผลิต นำเข้า จำหน่าย เสนอต่อสาธารณชน จัดหา หรือค้า โดยวิธีอื่นใด ซึ่งอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบ หรือการเสนอบริการต่อสาธารณชน หรือจัดให้บริการอันเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ถือเป็นการกระทำละเมิด

(๑) มีการส่งเสริมการขาย โฆษณา หรือทำการตลาด เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยง

มาตรการทางเทคโนโลยี

(๒) มีวัตถุประสงค์สำคัญทางการค้า หรือการใช้เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการทาง

เทคโนโลยีโดยเฉพาะ

(๓) ถูกออกแบบ ผลิต หรือมีหน้าที่ เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการช่วยให้เกิด หรืออำนวยความสะดวกในการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี

 

มาตรา ๕๓/๕ การกระทำตามมาตรา ๕๓/๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบที่ใช้หลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ป้องกันการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด

(๑) การทำวิศวกรรมย้อนกลับโดยสุจริต ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยอิสระต่างหากได้

(๒) การกระทำโดยสุจริต โดยผู้วิจัยซึ่งได้รับสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้ใช้ความพยายามโดยสุจริตในการขออนุญาตเพื่อการวิจัยดังกล่าวแล้ว โดยการวิจัยนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่จำเป็นเพื่อชี้และวิเคราะห์ข้อบกพร่องและ

จุดอ่อนของเทคโนโลยีการเข้าสัญญาณและถอดสัญญาณข้อมูล

(๓) การใส่ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบในมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการป้องกันผู้เยาว์ในการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม

(๔) การกระทำโดยสุจริตซึ่งเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ สืบค้น หรือแก้ไข เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น มีความปลอดภัย

(๕) การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการ

(๖) การออกแบบ หรือการออกแบบและคัดเลือกชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้าอุปโภคประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่โดยลักษณะและหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายมาตรการทางเทคโนโลยี

มาตรา ๕๓/๖ การกระทำตามมาตรา ๕๓/๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบที่ใช้หลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง มิให้ถือเป็นการละเมิด หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา ๕๓/๕ (๑) (๕) หรือ (๖)”

 

มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มมาตราต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๒ การบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ส่วนที่ ๑ ข้อความทั่วไป มาตรา ๕๓/๗ มาตรา ๕๓/๘ มาตรา ๕๓/๙ มาตรา ๕๓/๑๐ ส่วนที่ ๒ การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๑๑ มาตรา ๕๓/๑๒ มาตรา ๕๓/๑๓ มาตรา ๕๓/๑๔ มาตรา ๕๓/๑๕ มาตรา ๕๓/๑๖ ส่วนที่ ๓ สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๑๗ มาตรา ๕๓/๑๘ มาตรา ๕๓/๑๙ ส่วนที่ ๔ การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน มาตรา ๕๓/๒๐ มาตรา ๕๓/๒๑ มาตรา ๕๓/๒๒ มาตรา ๕๓/๒๓ มาตรา ๕๓/๒๔ มาตรา ๕๓/๒๕

ส่วนที่ ๕ การกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๒๖ มาตรา ๕๓/๒๗ มาตรา ๕๓/๒๘ มาตรา ๕๓/๒๙ มาตรา ๕๓/๓๐ มาตรา ๕๓/๓๑ มาตรา ๕๓/๓๒ ส่วนที่ ๖ คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๓๓ มาตรา ๕๓/๓๔ และมาตรา ๕๓/๓๕

 

“หมวด ๒/๒

 

การบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนส่วนที่ ๑

 

ข้อความทั่วไป

 

มาตรา ๕๓/๗ ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“องค์กรจัดเก็บ” หมายความว่า องค์กรที่เจ้าของสิทธิในงานประเภทเดียวกัน

หลายคนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนแทนเจ้าของสิทธิ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ใน

การแสวงหาผลกำไรเป็นสำคัญ และต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแล

“เจ้าของสิทธิ” หมายความว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง (หรือสิทธิข้างเคียง)

“ดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน” หมายความว่า ดำเนินการจัดการใด ๆ เกี่ยวกับค่าตอบแทน ไม่ว่าก่อนหรือหลังจากได้รับค่าตอบแทน

“ผู้ใช้งาน” (ผู้ไดัรับอนุญาต)หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำสัญญาขออนุญาตใช้งานอันมีลิขสิทธิ์

หรือสิทธิของนักแสดงกับองค์กรจัดเก็บ โดยรับว่าจะชำระค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว

“ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินที่ได้รับเนื่องจากการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้เป็นองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

“คณะกรรมการกำกับดูแล” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เพื่อเจ้าของสิทธิ(และผู้ได้รับผลกระทบจากการบริหารสิทธิ์)และการสาธารณกุศลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้

 

ส่วนที่ ๒

การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ

มาตรา ๕๓/๘ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนดประเภทงานอันมี

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ต้องขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ

มาตรา ๕๓/๙ เจ้าของสิทธิที่ประสงค์จะดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแล

เจ้าของสิทธิที่มีสิทธิยื่นคำขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือนิติบุคคลที่มิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ

แสวงหากำไรเป็นสำคัญ

(๒) มีเจ้าของสิทธิเป็นสมาชิก โดยจำนวนสมาชิกและการเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล (ตามมาตรา 53/7)

(๓) มีสถานะทางการเงินที่เชื่อถือได้

(๔) มีคุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๐ การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๑ เมื่อได้รับคำขออนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓/๑๐ และรายงานการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแล

ในกรณีที่คำขออนุญาตไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๓/๙ และมาตรา ๕๓/๑๐

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลมีคำสั่งไม่อนุญาต และให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตโดยมิชักช้า เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

การอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายวิธีปฏิบัติ

ราชการทางปกครอง

มาตรา ๕๓/๑๒ ในการอนุญาตให้เป็นองค์กรจัดเก็บ ให้คณะกรรมการกำกับดูแล

พิจารณาสั่งอนุญาตให้เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา ๕๓/๑๑ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา ๕๓/๑๒ เป็นองค์กรจัดเก็บและแจ้งคำสั่งนั้นให้เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตทราบ

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลออกใบอนุญาตให้แก่เจ้าของสิทธิที่ได้รับอนุญาต

ตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าของสิทธิที่ได้รับอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการได้รับอนุญาตไว้ในทะเบียน

ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

เมื่อเจ้าของสิทธิได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บมีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา ๕๓/๑๓ ใบอนุญาตให้มีอายุสี่ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดบกพร่องในสาระสำคัญ ให้องค์กรจัดเก็บขอรับใบแทนได้

ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บประสงค์จะต่อใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บยังมีสิทธิและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้อยู่จนกว่าคณะกรรมการกำกับดูแล

จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

การขอรับใบแทนและการขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๔ ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๓/๑๓ วรรคสาม และคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๑๒ วรรคสี่ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลต่ออายุใบอนุญาตให้อีกคราวละสี่ปีนับแต่วันสิ้นอายุใบอนุญาตเดิม

 

ส่วนที่ ๓

สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๑๕ สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

เริ่มตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต

มาตรา ๕๓/๑๖ ให้องค์กรจัดเก็บมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ข้อบังคับเกี่ยวกับการรับสมาชิกที่ต้องไม่มีข้อสงวนสิทธิในการเข้าเป็นสมาชิก ข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ และข้อบังคับเกี่ยวกับกองทุน รวมทั้งข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

 

(๒) สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงของสมาชิก และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลงานดังกล่าวให้แก่

ผู้ร้องขอ โดยเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ร้องขอได้ตามข้อบังคับขององค์กร ตลอดจนให้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อทราบด้วย

(๓) ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง โดยต้องไม่เลือกอนุญาต และต้องทำสัญญาอนุญาตอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

(๔) จัดเก็บค่าตอบแทนตามข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บโดยต้องเป็นข้อบังคับที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

(๕) จัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาเจ้าของสิทธิที่เป็นสมาชิกตามข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทน โดยต้องเป็นข้อบังคับที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

(๖) ดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

(๗) จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทนและการ

อื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและตรวจสอบได้ และส่งสำเนารายงานประจำปีต่อคณะกรรมการกำกับดูแล ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

(๘) จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชี และจัดให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน

เก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

(๙) เรียกให้ผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้กระทำการเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือผู้จัดให้มี การแสดงงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดงที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บและจัดสรรค่าตอบแทน

(๑๐) สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

มาตรา ๕๓/๑๗ การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๓) หรือการจัดเก็บค่าตอบแทนตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๔) โดยองค์กรจัดเก็บ ให้มีผลผูกพันเจ้าของสิทธิที่เป็นสมาชิกองค์กรจัดเก็บนั้น และผู้ใช้งานที่ได้จ่ายค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงให้แก่องค์กรจัดเก็บรายหนึ่งหรือหลายราย รวมทั้งผู้ใช้งานไม่ต้อง รับผิดต่อการโต้แย้งสิทธิของบุคคลที่สามสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงตามสัญญาอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ให้องค์กรจัดเก็บเป็นผู้รับผิดชอบ หากมีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น

 

ส่วนที่ ๔

การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

 

มาตรา ๕๓/๑๘ ให้องค์กรจัดเก็บจัดทำข้อบังคับต่าง ๆ ตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๑) ให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน โดยให้องค์กรจัดเก็บเสนอข้อบังคับ

ดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับดูแลให้ความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปใช้

 

มาตรา ๕๓/๑๙ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทน

ที่ใช้ในการจัดเก็บ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ ให้องค์กรจัดเก็บ

แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อคณะกรรมการกำกับดูแลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยน

แปลงนั้น เพื่อให้คณะกรรมการกำกับดูแลให้ความเห็นชอบ

มาตรา ๕๓/๒๐ ให้องค์กรจัดเก็บจัดทำทะเบียนสมาชิกและส่งสำเนาให้คณะกรรมการกำกับดูแล ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

ทะเบียนสมาชิกตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการและเอกสารดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของสมาชิก

(๒) วันที่เข้าเป็นสมาชิก

(๓) ชื่อ ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงของสมาชิก

(๔) รายละเอียดผลงานของสมาชิก

(๕) รายละเอียดอื่นตามประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้ง

การเปลี่ยนแปลงต่อคณะกรรมการกำกับดูแล ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น

มาตรา ๕๓/๒๑ ในการจัดเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้งาน หากงานลิขสิทธิ์หรือ

การแสดงใดที่ผู้ใช้งานนำไปใช้มีหลายประเภทงานรวมอยู่ด้วยกัน ให้องค์กรจัดเก็บรวมตัวกัน

จัดเก็บค่าตอบแทนคราวเดียวสำหรับระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

แต่ละครั้ง ทั้งนี้ ให้องค์กรจัดเก็บตกลงกันก่อนดำเนินการจัดเก็บ พร้อมทั้งแจ้งข้อตกลงต่อ

คณะกรรมการกำกับดูแลก่อนดำเนินการจัดเก็บ

การจัดเก็บค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

มาตรา ๕๓/๒๒ เมื่อองค์กรจัดเก็บได้จัดเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้งานแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาสมาชิกอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม

ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๒๓ การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนขององค์กร

จัดเก็บที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้รับการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา

ซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากร

 

ส่วนที่ ๕

การกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินผลการดำเนินการขององค์กรจัดเก็บและเสนอรายงานผลการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๓/๒๕

 

มาตรา ๕๓/๒๕ ในกรณีที่ปรากฏจากรายงานของผู้สอบบัญชีหรือพนักงาน

เจ้าหน้าที่ว่าองค์กรจัดเก็บใดกระทำการไม่ถูกต้องในการดำเนินกิจการจนทำให้เกิดความเสียหาย หรือมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินหรือการบัญชี ถ้าคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าการกระทำ

อันก่อให้เกิดความเสียหายหรือข้อบกพร่องนั้นอาจแก้ไขได้ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลสั่งให้แก้ไขการกระทำหรือข้อบกพร่องนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากองค์กรจัดเก็บไม่ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกำกับดูแลอาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้องค์กรจัดเก็บทราบ

มาตรา ๕๓/๒๖ ในกรณีที่คณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าองค์กรจัดเก็บมิได้ดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือหยุดกิจการติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งปี คณะกรรมการกำกับดูแลมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้

องค์กรจัดเก็บนั้นทราบ

มาตรา ๕๓/๒๗ คำสั่งของคณะกรรมกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๒๕ หรือมาตรา ๕๓/๒๖ ที่สั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้องค์กรจัดเก็บอุทธรณ์ต่อศาลทรัพย์สิน

ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ภายสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๒๘ ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สัญญาอนุญาต

ให้ใช้งานลิขสิทธิ์มีผลต่อไปจนกว่าระยะเวลาตามที่ตกลงในสัญญาจะสิ้นสุด และเมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้ว เจ้าของสิทธิและนักแสดงยังไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรจัดเก็บรายใด ให้ถือว่าผู้ใช้งานมีสิทธิใช้งานต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิองค์กรจัดเก็บที่จะจัดเก็บค่าตอบแทนย้อนหลัง

มาตรา ๕๓/๒๙ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลมีสิทธิเรียกให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นตามสมควรเพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

มาตรา ๕๓/๓๐ บุคคลใดอาจขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับองค์กรจัดเก็บที่เก็บรักษาไว้กับคณะกรรมการกำกับดูแล และอาจขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมคำรับรองสำเนาถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียมได้

 

ส่วนที่ ๖

คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๓๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกำกับ

ดูแลองค์กรจัดเก็บ” ประกอบด้วย อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประธานผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ(เป็นประธาน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(รองประธาน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

อีกไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลแต่งตั้ง(ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน)ข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน

มาตรา ๕๓/๓๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา ๕๓/๓๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก

(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ

(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา ๕๓/๓๔ การประชุมของคณะกรรมการกำกับดูแลต้องมีกรรมการ

มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการ

ไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๕๓/๓๕ คณะกรรมการกำกับดูแลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑) ออกประกาศกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขออนุญาตเป็นองค์กร

จัดเก็บ ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ต้องขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ การขอใบแทน การขอต่อใบอนุญาต

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต และสิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ

(๒) พิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บ

(๓) ให้ความเห็นชอบข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ ข้อบังคับเกี่ยวกับกองทุน และข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

(๔) กำกับดูแลการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนขององค์กรจัดเก็บ และ

(๕) พิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บระหว่างองค์กรจัดเก็บ และระหว่างองค์กรจัดเก็บและสมาคมหรือองค์กรผู้ใช้งาน”

 

มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติ

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๔ ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานที่มีการ

เผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือจำหน่ายในรูปของสิ่งพิมพ์หรืออย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันตาม

พระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน หรือค้นคว้า ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา

กำไรอาจยื่นคำขอต่ออธิบดี โดยแสดงหลักฐานว่าผู้ขอได้ขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในการจัดทำคำแปล

เป็นภาษาไทย หรือทำซ้ำสำเนางานที่ได้เคยจัดพิมพ์งานแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธหรือเมื่อได้ใช้เวลาอันสมควรแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำขอดังกล่าว

(๑) เจ้าของลิขสิทธิ์มิได้จัดทำหรืออนุญาตให้ผู้ใดจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยของงานดังกล่าวออกทำการโฆษณาภายในสามปีหลังจากที่ได้มีการโฆษณางานเป็นครั้งแรก หรือ

(๒) เจ้าของลิขสิทธิ์ได้จัดพิมพ์คำแปลงานของตนเป็นภาษาไทยออกทำการโฆษณา ซึ่งเมื่อพ้นกำหนดสามปีหลังจากที่ได้จัดพิมพ์คำแปลงานดังกล่าวครั้งสุดท้ายไม่มีการจัดพิมพ์คำแปลงานนั้นอีก และไม่มีสำเนาคำแปลงานดังกล่าวในท้องตลาด”

 

มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๐ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตาม

พระราชบัญญัตินี้

(๒) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๔๕ และมาตรา ๕๕

(๓) ส่งเสริมหรือสนับสนุนสมาคม หรือองค์กรของผู้สร้างสรรค์หรือนักแสดงเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของ

นักแสดง และการคุ้มครองหรือปกป้องสิทธิหรือประโยชน์อื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) กำหนดแบบสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการใช้แบบสัญญาดังกล่าว

(๕) พิจารณาเรื่องอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้และให้นำมาตรา ๕๙ มาใช้บังคับแก่

การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น”

มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความที่เป็นชื่อของหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“หมวด ๖

คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดงและสิทธิอันเกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี”

มาตรา ๒๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๖๒/๑ สถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุดหรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรที่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิตามมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๓ ไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อการกระทำละเมิดดังกล่าว”

 

มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๔ ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ศาลมีอำนาจ

สั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) นอกจากกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่าง

แท้จริง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดคืนผลประโยชน์ที่ได้จากหรือเนื่องจากการละเมิดโดยคิดรวมเข้าไปในค่าสินไหมทดแทนได้

(๒) ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ได้ ให้ศาลกำหนด

ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

(๓) ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนากระทำเพื่อการค้าให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดตาม (๑) หรือ (๒) ได้ แต่ต้องไม่เกิน

สองเท่าของค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) หรือ (๒)”

 

มาตรา ๒๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา ๖๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๖๔/๑ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม

พระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบบรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร

อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง”

 

มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๖ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดอันยอมความได้

เว้นแต่การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

คำว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่”

หมายความรวมถึง การละเมิดที่มีลักษณะเป็นโรงงานผลิต การผลิตที่ทำเป็นธุรกิจ หรือการค้าที่

ทำเป็นปกติธุระ”

 

มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๑) มาตรา ๒๘ (๑) มาตรา ๒๙ (๑) หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๙/๑ มาตรา ๖๙/๒ และมาตรา ๖๙/๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๖๙/๑ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๒) มาตรา ๒๘ (๒) หรือมาตรา ๓๐ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๙/๒ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๓) มาตรา ๒๘ (๓)(๔) หรือมาตรา ๓๐ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้นแต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๙/๓ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๙ (๒) หรือมาตรา

๒๙ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๑) (๓) หรือ (๔)

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ มาตรา ๗๐/๒ มาตรา มาตรา ๗๐/๓ มาตรา๗๐/๔ มาตรา ๗๐/๕ มาตรา ๗๐/๖ มาตรา มาตรา ๗๐/๗ มาตรา๗๐/๘ และมาตรา ๗๐/๙ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๒ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วน

ที่เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาทหรือทั้งจำ

ทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๓ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วนที่ เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๒) หรือมาตรา ๔๔ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกิน

แปดแสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๔ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วนที่

เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๔) หรือมาตรา ๔๔ (๕) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

สองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกิน

สี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๕ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วน

ที่เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๖) หรือมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๖ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓/๑ หรือมาตรา ๕๓/๓

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓/๔ ต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาทต่อสินค้าที่ละเมิดแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

มาตรา ๗๐/๘ ผู้ใดดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๙ องค์กรจัดเก็บใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๑๘ มาตรา ๕๓/๑๙ มาตรา ๕๓/๒๐ หรือมาตรา ๕๓/๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่หนึ่งแสนบาท”

 

มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙/๑ วรรคหนี่ง มาตรา ๖๙/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙/๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง มาตรา๗๐/๑

วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐/๙

ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้”

 

มาตรา ๓๒ ผู้ใดดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทนจากการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือ

สิทธิของนักแสดงอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นดำเนินการขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๓๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

……………………………………….     นายกรัฐมนตรี

 

go back......

 

 

 

 

 

ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

 

…………………………………………………

…………………………………………………

…………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ

ของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ทำซ้ำ” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“ทำซ้ำ” หมายความรวมถึง คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือจากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีหรือรูปแบบใดๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

 

มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง รวมถึงการทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนในลักษณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงงานนั้นได้ ณ เวลา และสถานที่ ที่บุคคลนั้นเลือก หรือทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยวิธีอื่นซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

มาตรา ๕ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “จำหน่าย” คำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” และคำว่า “มาตรการทางเทคโนโลยี” ระหว่างบทนิยามคำว่า “เผยแพร่ต่อสาธารณชน” และคำว่า “การโฆษณา” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“จำหน่าย” หมายความว่า ขาย แจก แลกเปลี่ยน ให้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ด้วยวิธีอื่นซึ่งต้นฉบับหรือสำเนางานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

“ข้อมูลการบริหารสิทธิ” หมายความว่า ข้อมูลที่แสดงให้ปรากฏอยู่ในงานอันมีลิขสิทธิ์ หรือในการแสดงที่ได้บันทึกไว้แล้ว โดยระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ นักแสดง การแสดง และเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หรือโดยระบุระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง และตัวเลขหรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว

“มาตรการทางเทคโนโลยี” หมายความว่า เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือส่วนประกอบ ซึ่งในทางการใช้งานโดยปกติ ได้ถูกออกแบบมาสำหรับป้องกันหรือควบคุมการกระทำใดๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

 

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวง และกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”

 

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

(๕) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

(๖) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๖) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดย

ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๑๖ ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา ๑๕ (๖) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่หนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้”

 

มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๑๘ ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิที่จะแสดงว่าตนเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าว และมีสิทธิที่จะห้ามมิให้ผู้รับโอนลิขสิทธิ์หรือบุคคลอื่นใด

บิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลงหรือทำโดยประการอื่นใดแก่งานนั้นจนเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง

หรือเกียรติคุณของผู้สร้างสรรค์ และเมื่อผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้สร้างสรรค์

มีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับตามสิทธิดังกล่าวได้ตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เว้นแต่

จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เป็นลายลักษณ์อักษร

สิทธิของผู้สร้างสรรค์ตามวรรคหนึ่ง ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่เป็น การโอนทางมรดก”

 

มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

นี้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางานดังกล่าว

มาตรา ๒๘ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ทั้งนี้

ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

มาตรา ๓๐ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๖) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับ หรือสำเนางาน

(๔) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว”

 

มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒ แห่ง

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๓๒/๑ การทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในลักษณะ

ดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

(๑) อันเกิดจากกระบวนการในการส่งข้อมูลงานลิขสิทธิ์ทางระบบดิจิตอล หรือเป็นการทำให้งานลิขสิทธิ์ที่บันทึกไว้ในรูปดิจิตอลสามารถเข้ารับรู้ได้

(๒) โดยบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือมีสิทธิตามกฎหมายให้ส่งข้อมูลงานลิขสิทธิ์ทางระบบดิจิตอล หรือเป็นการทำให้งานลิขสิทธิ์ที่บันทึกไว้ในรูปดิจิตอลสามารถเข้ารับรู้ได้ และ

(๓) เป็นผลจากการทำงานตามปกติของอุปกรณ์ที่ใช้และมีการลบสำเนาที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่สามารถเรียกสำเนางานดังกล่าวกลับคืนมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้อีก

นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (๑) และ (๒)

มาตรา ๓๒/๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น โดยผู้ให้บริการ หากผู้ให้บริการไม่ได้เป็นผู้ควบคุม ริเริ่ม หรือสั่งการให้มีการกระทำดังกล่าว มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

คำว่า “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า

๑. ผู้ให้บริการส่งผ่าน หรือเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อการสื่อสารผ่านระบบดิจิตอล ระหว่างจุดที่กำหนดโดยผู้ใช้งาน โดยมิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาของข้อมูลที่ผู้ใช้รับหรือส่ง

๒. ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือผู้อำนวยความสะดวกโดยประการอื่นในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกระทำที่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๔ นักแสดงย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตนดังต่อไปนี้

(๑) เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้

(๒) บันทึกการแสดงที่ยังไม่มีการบันทึกไว้แล้ว

(๓) ทำซ้ำซึ่งสิ่งบันทึกการแสดงไม่ว่าโดยวิธีการใดหรือในรูปแบบใด

(๔) จำหน่ายครั้งแรกซึ่งต้นฉบับหรือสำเนาสิ่งบันทึกเสียงการแสดง

(๕) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาสิ่งบันทึกเสียงการแสดง

(๖) เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดง ในลักษณะที่บุคคลสามารถเข้าถึงงานนั้นได้ ณ เวลาและสถานที่ที่บุคคลนั้นเลือก

(๗) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใด หรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัด

การแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๗) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”

 

มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๔๔/๑ ในกรณีที่นักแสดงได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา ๔๔ (๗) ย่อมไม่ตัดสิทธิของนักแสดงที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้”

 

มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

 

“มาตรา ๔๗ ให้นักแสดงมีสิทธิในการแสดงตามมาตรา ๔๔ หากเป็นไป

ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) นักแสดงนั้นมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือกรณี

สิ่งบันทึกเสียงการแสดง นักแสดงมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ในขณะที่มี

การบันทึกเสียงการแสดงนั้น หรือในขณะที่เรียกร้องสิทธิ

(๒) การแสดงหรือส่วนใหญ่ของการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี อยู่ด้วย

(๓) การแพร่เสียงแพร่ภาพการแสดงทำในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

(๔) การบันทึกเสียงการแสดงหรือส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือ

(๕) การโฆษณาครั้งแรกซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดงได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

หากได้มีการโฆษณาดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก”

 

มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๔๘ ให้นักแสดงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามมาตรา ๔๕ หากเป็นไป

ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑) นักแสดงมีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ในขณะที่มีการบันทึกเสียงการแสดงนั้น หรือในขณะที่เรียกร้องสิทธิ

(๒) การบันทึกเสียงการแสดงหรือส่วนใหญ่ของการบันทึกเสียงการแสดงนั้นเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือ

(๓) การโฆษณาครั้งแรกซึ่งสิ่งบันทึกเสียงการแสดงได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณาดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครองสิทธิของนักแสดงซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มี การโฆษณาครั้งแรก”

 

มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๓ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๒/๑ มาตรา ๓๒/๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๓ มาบังคับใช้แก่สิทธิ

ของนักแสดงโดยอนุโลม”

 

มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มมาตราต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี มาตรา ๕๓/๑ มาตรา ๕๓/๒ มาตรา ๕๓/๓ มาตรา ๕๓/๔ มาตรา ๕๓/๕ และมาตรา ๕๓/๖

 

“หมวด ๒/๑

การคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี

 

มาตรา ๕๓/๑ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิโดยไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าว และรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าจะชักจูงหรือทำให้เกิดการละเมิด ให้ความสะดวกแก่การละเมิด หรือปกปิดการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตาม

พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(๑) ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิ

(๒) จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อการจำหน่ายสิ่งที่ใช้แสดงข้อมูลการบริหารสิทธิ โดยรู้อยู่แล้วว่าได้มีการลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยผู้ไม่มีอำนาจ

(๓) จำหน่าย นำเข้าเพื่อการจำหน่าย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยรู้อยู่แล้วว่าได้มีการลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการบริหารสิทธิโดยผู้ไม่มีอำนาจ

มาตรา ๕๓/๒ การกระทำเกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย

การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ และรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการมิให้ถือเป็นการละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๓/๓ ห้ามมิให้มีการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุม การเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง

การหลีกเลี่ยงแก่มาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของ

เจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นความผิด

ภายใต้บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อหลีกเลี่ยง

มาตรการทางเทคโนโลยี มิให้ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) การกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(๒) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๓) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) การทำให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๕) การนำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

(๖) การทำวิศวกรรมย้อนกลับโดยสุจริต ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยอิสระต่างหากได้

(๗) การกระทำโดยสุจริต โดยผู้วิจัยซึ่งได้รับสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้ใช้ความพยายามโดยสุจริตในการขออนุญาตเพื่อการวิจัยดังกล่าวแล้ว โดยการวิจัยนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่จำเป็นเพื่อชี้และวิเคราะห์ข้อบกพร่องและจุดอ่อนของเทคโนโลยีการเข้าสัญญาณและถอดสัญญาณข้อมูล (๘) การใส่ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบในมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการป้องกันผู้เยาว์ในการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม (๙) การกระทำโดยสุจริตซึ่งเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อนุญาต เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ สืบค้น หรือแก้ไข เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น มีความปลอดภัย

(๑๐) การกระทำเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการระบุและยับยั้งการรวบรวมหรือกระจายข้อมูลความลับของบุคคลที่ได้ให้ไว้ในการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการเข้าถึงงานใด ๆ โดยบุคคลอื่น

(๑๑) การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงาน เจ้าหน้าที่

หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศและ

รักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการ

(๑๒) การเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยวิธีอื่น โดยห้องสมุด หอจดหมายเหตุ หรือสถาบันการศึกษาที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการตัดสินใจที่จะได้มาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงดังกล่าว

(๑๓) การกระทำแก่มาตรการทางเทคโนโลยีโดยประการอื่นตามที่ได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

มาตรา ๕๓/๔ การผลิต นำเข้า จำหน่าย เสนอต่อสาธารณชน จัดหา หรือค้า โดยวิธีอื่นใด ซึ่งอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบ หรือการเสนอบริการต่อสาธารณชน หรือจัดให้บริการอันเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ถือเป็นการกระทำละเมิด

(๑) มีการส่งเสริมการขาย โฆษณา หรือทำการตลาด เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยง

มาตรการทางเทคโนโลยี

(๒) มีวัตถุประสงค์สำคัญทางการค้า หรือการใช้เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการทาง

เทคโนโลยีโดยเฉพาะ

(๓) ถูกออกแบบ ผลิต หรือมีหน้าที่ เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการช่วยให้เกิด หรืออำนวยความสะดวกในการหลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี

 

มาตรา ๕๓/๕ การกระทำตามมาตรา ๕๓/๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบที่ใช้หลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ป้องกันการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มิให้ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด

(๑) การทำวิศวกรรมย้อนกลับโดยสุจริต ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะให้สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยอิสระต่างหากได้

(๒) การกระทำโดยสุจริต โดยผู้วิจัยซึ่งได้รับสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงมาโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้ใช้ความพยายามโดยสุจริตในการขออนุญาตเพื่อการวิจัยดังกล่าวแล้ว โดยการวิจัยนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่จำเป็นเพื่อชี้และวิเคราะห์ข้อบกพร่องและ

จุดอ่อนของเทคโนโลยีการเข้าสัญญาณและถอดสัญญาณข้อมูล

(๓) การใส่ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบในมาตรการทางเทคโนโลยี เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการป้องกันผู้เยาว์ในการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม

(๔) การกระทำโดยสุจริตซึ่งเจ้าของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการทดสอบ สืบค้น หรือแก้ไข เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น มีความปลอดภัย

(๕) การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎหมาย การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศและรักษาความมั่นคงแห่งชาติ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่คล้ายคลึงกันของทางราชการ

(๖) การออกแบบ หรือการออกแบบและคัดเลือกชิ้นส่วนและส่วนประกอบของสินค้าอุปโภคประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่โดยลักษณะและหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายมาตรการทางเทคโนโลยี

มาตรา ๕๓/๖ การกระทำตามมาตรา ๕๓/๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ หรือส่วนประกอบที่ใช้หลีกเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีที่ใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง มิให้ถือเป็นการละเมิด หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา ๕๓/๕ (๑) (๕) หรือ (๖)”

 

มาตรา ๑๗ ให้เพิ่มมาตราต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๒ การบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ส่วนที่ ๑ ข้อความทั่วไป มาตรา ๕๓/๗ มาตรา ๕๓/๘ มาตรา ๕๓/๙ มาตรา ๕๓/๑๐ ส่วนที่ ๒ การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๑๑ มาตรา ๕๓/๑๒ มาตรา ๕๓/๑๓ มาตรา ๕๓/๑๔ มาตรา ๕๓/๑๕ มาตรา ๕๓/๑๖ ส่วนที่ ๓ สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๑๗ มาตรา ๕๓/๑๘ มาตรา ๕๓/๑๙ ส่วนที่ ๔ การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน มาตรา ๕๓/๒๐ มาตรา ๕๓/๒๑ มาตรา ๕๓/๒๒ มาตรา ๕๓/๒๓ มาตรา ๕๓/๒๔ มาตรา ๕๓/๒๕

ส่วนที่ ๕ การกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๒๖ มาตรา ๕๓/๒๗ มาตรา ๕๓/๒๘ มาตรา ๕๓/๒๙ มาตรา ๕๓/๓๐ มาตรา ๕๓/๓๑ มาตรา ๕๓/๓๒ ส่วนที่ ๖ คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ มาตรา ๕๓/๓๓ มาตรา ๕๓/๓๔ และมาตรา ๕๓/๓๕

 

“หมวด ๒/๒

 

การบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนส่วนที่ ๑

 

ข้อความทั่วไป

 

มาตรา ๕๓/๗ ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“องค์กรจัดเก็บ” หมายความว่า องค์กรที่เจ้าของสิทธิในงานประเภทเดียวกัน

หลายคนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนแทนเจ้าของสิทธิ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ใน

การแสวงหาผลกำไรเป็นสำคัญ และต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแล

“เจ้าของสิทธิ” หมายความว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง (หรือสิทธิข้างเคียง)

“ดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน” หมายความว่า ดำเนินการจัดการใด ๆ เกี่ยวกับค่าตอบแทน ไม่ว่าก่อนหรือหลังจากได้รับค่าตอบแทน

“ผู้ใช้งาน” (ผู้ไดัรับอนุญาต)หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำสัญญาขออนุญาตใช้งานอันมีลิขสิทธิ์

หรือสิทธิของนักแสดงกับองค์กรจัดเก็บ โดยรับว่าจะชำระค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว

“ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินที่ได้รับเนื่องจากการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้เป็นองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

“คณะกรรมการกำกับดูแล” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เพื่อเจ้าของสิทธิ(และผู้ได้รับผลกระทบจากการบริหารสิทธิ์)และการสาธารณกุศลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้

 

ส่วนที่ ๒

การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ

มาตรา ๕๓/๘ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนดประเภทงานอันมี

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ต้องขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ

มาตรา ๕๓/๙ เจ้าของสิทธิที่ประสงค์จะดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแล

เจ้าของสิทธิที่มีสิทธิยื่นคำขออนุญาตต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือนิติบุคคลที่มิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ

แสวงหากำไรเป็นสำคัญ

(๒) มีเจ้าของสิทธิเป็นสมาชิก โดยจำนวนสมาชิกและการเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล (ตามมาตรา 53/7)

(๓) มีสถานะทางการเงินที่เชื่อถือได้

(๔) มีคุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๐ การขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๑ เมื่อได้รับคำขออนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขออนุญาตและเอกสารหลักฐานให้ถูกต้องตามมาตรา ๕๓/๑๐ และรายงานการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแล

ในกรณีที่คำขออนุญาตไม่เป็นไปตามมาตรา ๕๓/๙ และมาตรา ๕๓/๑๐

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลมีคำสั่งไม่อนุญาต และให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตโดยมิชักช้า เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

การอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายวิธีปฏิบัติ

ราชการทางปกครอง

มาตรา ๕๓/๑๒ ในการอนุญาตให้เป็นองค์กรจัดเก็บ ให้คณะกรรมการกำกับดูแล

พิจารณาสั่งอนุญาตให้เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา ๕๓/๑๑ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา ๕๓/๑๒ เป็นองค์กรจัดเก็บและแจ้งคำสั่งนั้นให้เจ้าของสิทธิที่ยื่นคำขออนุญาตทราบ

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลออกใบอนุญาตให้แก่เจ้าของสิทธิที่ได้รับอนุญาต

ตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าของสิทธิที่ได้รับอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกการได้รับอนุญาตไว้ในทะเบียน

ค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

เมื่อเจ้าของสิทธิได้รับใบอนุญาตแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บมีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา ๕๓/๑๓ ใบอนุญาตให้มีอายุสี่ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดบกพร่องในสาระสำคัญ ให้องค์กรจัดเก็บขอรับใบแทนได้

ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บประสงค์จะต่อใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต

ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บยังมีสิทธิและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้อยู่จนกว่าคณะกรรมการกำกับดูแล

จะมีคำสั่งไม่อนุญาต

การขอรับใบแทนและการขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๑๔ ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๓/๑๓ วรรคสาม และคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าการขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๑๒ วรรคสี่ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลต่ออายุใบอนุญาตให้อีกคราวละสี่ปีนับแต่วันสิ้นอายุใบอนุญาตเดิม

 

ส่วนที่ ๓

สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๑๕ สิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้

เริ่มตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาต

มาตรา ๕๓/๑๖ ให้องค์กรจัดเก็บมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ดังต่อไปนี้

(๑) จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ข้อบังคับเกี่ยวกับการรับสมาชิกที่ต้องไม่มีข้อสงวนสิทธิในการเข้าเป็นสมาชิก ข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ และข้อบังคับเกี่ยวกับกองทุน รวมทั้งข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

 

(๒) สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงของสมาชิก และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานดังกล่าว รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลงานดังกล่าวให้แก่

ผู้ร้องขอ โดยเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ร้องขอได้ตามข้อบังคับขององค์กร ตลอดจนให้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อทราบด้วย

(๓) ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง โดยต้องไม่เลือกอนุญาต และต้องทำสัญญาอนุญาตอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

(๔) จัดเก็บค่าตอบแทนตามข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บโดยต้องเป็นข้อบังคับที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

(๕) จัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาเจ้าของสิทธิที่เป็นสมาชิกตามข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทน โดยต้องเป็นข้อบังคับที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

(๖) ดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

(๗) จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทนและการ

อื่นใดที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและตรวจสอบได้ และส่งสำเนารายงานประจำปีต่อคณะกรรมการกำกับดูแล ภายในสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

(๘) จัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชี และจัดให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายใน

เก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีของทุกปี

(๙) เรียกให้ผู้ใช้งานซึ่งเป็นผู้กระทำการเผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือผู้จัดให้มี การแสดงงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดงที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บและจัดสรรค่าตอบแทน

(๑๐) สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

มาตรา ๕๓/๑๗ การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๓) หรือการจัดเก็บค่าตอบแทนตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๔) โดยองค์กรจัดเก็บ ให้มีผลผูกพันเจ้าของสิทธิที่เป็นสมาชิกองค์กรจัดเก็บนั้น และผู้ใช้งานที่ได้จ่ายค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงให้แก่องค์กรจัดเก็บรายหนึ่งหรือหลายราย รวมทั้งผู้ใช้งานไม่ต้อง รับผิดต่อการโต้แย้งสิทธิของบุคคลที่สามสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงตามสัญญาอนุญาตดังกล่าว ทั้งนี้ให้องค์กรจัดเก็บเป็นผู้รับผิดชอบ หากมีการโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น

 

ส่วนที่ ๔

การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

 

มาตรา ๕๓/๑๘ ให้องค์กรจัดเก็บจัดทำข้อบังคับต่าง ๆ ตามมาตรา ๕๓/๑๖ (๑) ให้แล้วเสร็จก่อนดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน โดยให้องค์กรจัดเก็บเสนอข้อบังคับ

ดังกล่าวให้คณะกรรมการกำกับดูแลให้ความเห็นชอบก่อนที่จะนำไปใช้

 

มาตรา ๕๓/๑๙ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทน

ที่ใช้ในการจัดเก็บ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ ให้องค์กรจัดเก็บ

แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่อคณะกรรมการกำกับดูแลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยน

แปลงนั้น เพื่อให้คณะกรรมการกำกับดูแลให้ความเห็นชอบ

มาตรา ๕๓/๒๐ ให้องค์กรจัดเก็บจัดทำทะเบียนสมาชิกและส่งสำเนาให้คณะกรรมการกำกับดูแล ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต

ทะเบียนสมาชิกตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการและเอกสารดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของสมาชิก

(๒) วันที่เข้าเป็นสมาชิก

(๓) ชื่อ ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงของสมาชิก

(๔) รายละเอียดผลงานของสมาชิก

(๕) รายละเอียดอื่นตามประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้ง

การเปลี่ยนแปลงต่อคณะกรรมการกำกับดูแล ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น

มาตรา ๕๓/๒๑ ในการจัดเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้งาน หากงานลิขสิทธิ์หรือ

การแสดงใดที่ผู้ใช้งานนำไปใช้มีหลายประเภทงานรวมอยู่ด้วยกัน ให้องค์กรจัดเก็บรวมตัวกัน

จัดเก็บค่าตอบแทนคราวเดียวสำหรับระยะเวลาการอนุญาตให้ใช้งานลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

แต่ละครั้ง ทั้งนี้ ให้องค์กรจัดเก็บตกลงกันก่อนดำเนินการจัดเก็บ พร้อมทั้งแจ้งข้อตกลงต่อ

คณะกรรมการกำกับดูแลก่อนดำเนินการจัดเก็บ

การจัดเก็บค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

มาตรา ๕๓/๒๒ เมื่อองค์กรจัดเก็บได้จัดเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้งานแล้ว ให้องค์กรจัดเก็บจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาสมาชิกอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม

ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๒๓ การดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนขององค์กร

จัดเก็บที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้รับการยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา

ซึ่งออกตามความในประมวลรัษฎากร

 

ส่วนที่ ๕

การกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๒๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินผลการดำเนินการขององค์กรจัดเก็บและเสนอรายงานผลการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๓/๒๕

 

มาตรา ๕๓/๒๕ ในกรณีที่ปรากฏจากรายงานของผู้สอบบัญชีหรือพนักงาน

เจ้าหน้าที่ว่าองค์กรจัดเก็บใดกระทำการไม่ถูกต้องในการดำเนินกิจการจนทำให้เกิดความเสียหาย หรือมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินหรือการบัญชี ถ้าคณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าการกระทำ

อันก่อให้เกิดความเสียหายหรือข้อบกพร่องนั้นอาจแก้ไขได้ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลสั่งให้แก้ไขการกระทำหรือข้อบกพร่องนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากองค์กรจัดเก็บไม่ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกำกับดูแลอาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้องค์กรจัดเก็บทราบ

มาตรา ๕๓/๒๖ ในกรณีที่คณะกรรมการกำกับดูแลเห็นว่าองค์กรจัดเก็บมิได้ดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือหยุดกิจการติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งปี คณะกรรมการกำกับดูแลมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้

องค์กรจัดเก็บนั้นทราบ

มาตรา ๕๓/๒๗ คำสั่งของคณะกรรมกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๒๕ หรือมาตรา ๕๓/๒๖ ที่สั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ให้องค์กรจัดเก็บอุทธรณ์ต่อศาลทรัพย์สิน

ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ภายสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับดูแล

มาตรา ๕๓/๒๘ ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สัญญาอนุญาต

ให้ใช้งานลิขสิทธิ์มีผลต่อไปจนกว่าระยะเวลาตามที่ตกลงในสัญญาจะสิ้นสุด และเมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้ว เจ้าของสิทธิและนักแสดงยังไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรจัดเก็บรายใด ให้ถือว่าผู้ใช้งานมีสิทธิใช้งานต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิองค์กรจัดเก็บที่จะจัดเก็บค่าตอบแทนย้อนหลัง

มาตรา ๕๓/๒๙ ให้คณะกรรมการกำกับดูแลมีสิทธิเรียกให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นตามสมควรเพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

มาตรา ๕๓/๓๐ บุคคลใดอาจขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับองค์กรจัดเก็บที่เก็บรักษาไว้กับคณะกรรมการกำกับดูแล และอาจขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมคำรับรองสำเนาถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียมได้

 

ส่วนที่ ๖

คณะกรรมการกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บ

 

มาตรา ๕๓/๓๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกำกับ

ดูแลองค์กรจัดเก็บ” ประกอบด้วย อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประธานผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ(เป็นประธาน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา(รองประธาน) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

อีกไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลแต่งตั้ง(ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน)ข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน

มาตรา ๕๓/๓๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

มาตรา ๕๓/๓๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก

(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ

(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา ๕๓/๓๔ การประชุมของคณะกรรมการกำกับดูแลต้องมีกรรมการ

มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการ

ไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา ๕๓/๓๕ คณะกรรมการกำกับดูแลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑) ออกประกาศกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขออนุญาตเป็นองค์กร

จัดเก็บ ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ต้องขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บ การขอใบแทน การขอต่อใบอนุญาต

ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต และสิทธิและหน้าที่ขององค์กรจัดเก็บ

(๒) พิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บ

(๓) ให้ความเห็นชอบข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน ข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราค่าตอบแทนที่ใช้ในการจัดเก็บ ข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของสิทธิ ข้อบังคับเกี่ยวกับกองทุน และข้อบังคับอื่นใดที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทน

(๔) กำกับดูแลการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนขององค์กรจัดเก็บ และ

(๕) พิจารณาข้อพิพาทเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารการจัดเก็บระหว่างองค์กรจัดเก็บ และระหว่างองค์กรจัดเก็บและสมาคมหรือองค์กรผู้ใช้งาน”

 

มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติ

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๕๔ ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานที่มีการ

เผยแพร่ต่อสาธารณชนหรือจำหน่ายในรูปของสิ่งพิมพ์หรืออย่างอื่นที่คล้ายคลึงกันตาม

พระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน หรือค้นคว้า ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา

กำไรอาจยื่นคำขอต่ออธิบดี โดยแสดงหลักฐานว่าผู้ขอได้ขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในการจัดทำคำแปล

เป็นภาษาไทย หรือทำซ้ำสำเนางานที่ได้เคยจัดพิมพ์งานแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ได้รับการปฏิเสธหรือเมื่อได้ใช้เวลาอันสมควรแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำขอดังกล่าว

(๑) เจ้าของลิขสิทธิ์มิได้จัดทำหรืออนุญาตให้ผู้ใดจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยของงานดังกล่าวออกทำการโฆษณาภายในสามปีหลังจากที่ได้มีการโฆษณางานเป็นครั้งแรก หรือ

(๒) เจ้าของลิขสิทธิ์ได้จัดพิมพ์คำแปลงานของตนเป็นภาษาไทยออกทำการโฆษณา ซึ่งเมื่อพ้นกำหนดสามปีหลังจากที่ได้จัดพิมพ์คำแปลงานดังกล่าวครั้งสุดท้ายไม่มีการจัดพิมพ์คำแปลงานนั้นอีก และไม่มีสำเนาคำแปลงานดังกล่าวในท้องตลาด”

 

มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๐ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

(๑) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตาม

พระราชบัญญัตินี้

(๒) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๔๕ และมาตรา ๕๕

(๓) ส่งเสริมหรือสนับสนุนสมาคม หรือองค์กรของผู้สร้างสรรค์หรือนักแสดงเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อจัดเก็บค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของ

นักแสดง และการคุ้มครองหรือปกป้องสิทธิหรือประโยชน์อื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) กำหนดแบบสัญญามาตรฐานเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

รวมทั้งส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการใช้แบบสัญญาดังกล่าว

(๕) พิจารณาเรื่องอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้และให้นำมาตรา ๕๙ มาใช้บังคับแก่

การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น”

มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความที่เป็นชื่อของหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

“หมวด ๖

คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดงและสิทธิอันเกี่ยวกับข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี”

มาตรา ๒๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๖๒/๑ สถาบันการศึกษา หอจดหมายเหตุ ห้องสมุดหรือองค์กรแพร่เสียงแพร่ภาพสาธารณะที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรที่กระทำการอันเป็นการละเมิดสิทธิตามมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๓ ไม่ต้องรับผิดทางอาญาต่อการกระทำละเมิดดังกล่าว”

 

มาตรา ๒๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๔ ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ศาลมีอำนาจ

สั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) นอกจากกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่าง

แท้จริง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดคืนผลประโยชน์ที่ได้จากหรือเนื่องจากการละเมิดโดยคิดรวมเข้าไปในค่าสินไหมทดแทนได้

(๒) ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ได้ ให้ศาลกำหนด

ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

(๓) ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนากระทำเพื่อการค้าให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดตาม (๑) หรือ (๒) ได้ แต่ต้องไม่เกิน

สองเท่าของค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) หรือ (๒)”

 

มาตรา ๒๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา ๖๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๖๔/๑ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม

พระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบบรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร

อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือสิทธิของนักแสดง”

 

มาตรา ๒๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๖ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นความผิดอันยอมความได้

เว้นแต่การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

คำว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่”

หมายความรวมถึง การละเมิดที่มีลักษณะเป็นโรงงานผลิต การผลิตที่ทำเป็นธุรกิจ หรือการค้าที่

ทำเป็นปกติธุระ”

 

มาตรา ๒๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๑) มาตรา ๒๘ (๑) มาตรา ๒๙ (๑) หรือมาตรา ๓๐ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๙/๑ มาตรา ๖๙/๒ และมาตรา ๖๙/๓ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

“มาตรา ๖๙/๑ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๒) มาตรา ๒๘ (๒) หรือมาตรา ๓๐ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๙/๒ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๓) มาตรา ๒๘ (๓)(๔) หรือมาตรา ๓๐ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้อง

ระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้นแต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๙/๓ ผู้ใดกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๙ (๒) หรือมาตรา

๒๙ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ.๒๕๓๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๑) (๓) หรือ (๔)

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา ๒๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ มาตรา ๗๐/๒ มาตรา มาตรา ๗๐/๓ มาตรา๗๐/๔ มาตรา ๗๐/๕ มาตรา ๗๐/๖ มาตรา มาตรา ๗๐/๗ มาตรา๗๐/๘ และมาตรา ๗๐/๙ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗

“มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำ

ทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๒ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วน

ที่เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาทหรือทั้งจำ

ทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๓ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วนที่ เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๒) หรือมาตรา ๔๔ (๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกิน

แปดแสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสองพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๔ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วนที่

เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๔) หรือมาตรา ๔๔ (๕) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน

สองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกิน

สี่แสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดสิทธิของนักแสดงแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๕ ผู้ใดกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ในส่วน

ที่เกี่ยวกับการกระทำตามมาตรา ๔๔ (๖) หรือมาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๖ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓/๑ หรือมาตรา ๕๓/๓

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์

ขนาดใหญ่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓/๔ ต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกินหนึ่งแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยบาทต่อสินค้าที่ละเมิดแต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสองแสนบาท

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามพันบาทต่อสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

แต่ละชิ้น แต่ทั้งนี้ไม่เกินสี่แสนบาท

มาตรา ๗๐/๘ ผู้ใดดำเนินการเป็นองค์กรจัดเก็บโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา ๕๓/๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกิน

หนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๐/๙ องค์กรจัดเก็บใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๑๘ มาตรา ๕๓/๑๙ มาตรา ๕๓/๒๐ หรือมาตรา ๕๓/๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่หนึ่งแสนบาท”

 

มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

มาตรา ๓๐ ให้ยกเลิกมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

มาตรา ๓๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๗๗ ความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙/๑ วรรคหนี่ง มาตรา ๖๙/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙/๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง มาตรา๗๐/๑

วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๗๐/๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๐/๙

ให้อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้”

 

มาตรา ๓๒ ผู้ใดดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทนจากการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือ

สิทธิของนักแสดงอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นดำเนินการขออนุญาตเป็นองค์กรจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๓๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

……………………………………….     นายกรัฐมนตรี

 

go back......


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.