ข้อมูลลิขสิทธิ์ 2006 ตอนที่ 3
ลิขสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายลิขสิทธิ์โดยตรงคำนิยามของลิขสิทธิ์ที่ครูเพลงหรือผู้สร้างสรรเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองโดยตรงจากกฏหมาย แต่สิทธิ์ของค่ายเพลงเป็นสิทธิ์ข้างเคียงที่กฏหมายไม่ได้นิยามไว้โดยตรง
ลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ตามกฎหมายคือ 1 สิทธิ์ทางเศรษฐกิจ(หาประโยชน์ให้กับตนเองทางการค้า) 2 สิทธิ์ทางศิลธรรม(หรือธรรมสิทธิ์ที่ได้รับประโยชน์ตลอดชีวิตและตกทอดถึงทายาทหลังเสียชีวิตอีก 50 ปี) 3 สิทธิ์ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใช้ผลงานของตน(จะขอกล่าวถึงเฉพาะ 3 สิทธิ์)
องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมที่มีอยู่ทั่วโลกเป็นองค์กรของสิทธิ์ครูเพลงทั้งสิ้นตามนิยามของกฏหมายลิขสิทธิ์ โดยอนุสัญญา Berne Convention (เบิร์นคอนเวนชั่น) ที่เป็นผู้ดูแลคุ้มครองสิทธิ์วรรณกรรมและสิทธิ์งานศิลป(หากเป็นเรื่องของเพลงก็จะหมายถึงคำร้องเนื้อร้องและงานศิลปที่เกี่ยวข้องกับศิลปินนักร้องนักแสดง แต่อนุสัญญาจะเขียนครอบคลุมในทุกแขนงของลิขสิทธิ์ เช่นงานพิมพ์ ภาพเขียน นวนิยาย ภาพยนตร์ เป็นต้น)
ผลจากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ก็จะมีองค์กรของค่ายเพลงเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะของ กิจกรรมอันดับรอง(secondary activity) โดยทางยุโรปของแบ่งค่าจัดเก็บออกเป็น 12 ส่วนหลังหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดเก็บประมาณ 30 %โดยแบ่งให้กับองค์กรครูเพลง 8 ส่วน องค์กรค่ายเพลง 4 ส่วน ทางด้านทวีปอเมริกาจะแบ่งเป็น 12 ส่วน โดยให้องค์กรครูเพลง 6 ส่วน องค์กรค่ายเพลง 6 ส่วน
องค์กรค่ายเพลงจะได้รับการคุ้มครองจากอนุสัญญา Rome Convention (โรมคอนเวนชั่น) (ซึ่งจัดตั้งภายหลังอนุสัญญาเบิร์น) ที่ให้ความคุ้มครองสิทธิ์ข้างเคียงเช่น สิทธิ์นักแสดง สิทธิ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง สิทธิ์สถานีถ่ายทอด
สิ่งที่ขัดแย้งกันในหลักการกับสภาพความเป็นจริง ธรรมสิทธิ์ในหลักการของลิขสิทธิ์สามารถสืบทอดถึงทายาทจึงต้องไม่มีการโอนขาดหรือซื้อตัดตอน หากการทำสัญญาไม่ได้ระบุระยะเวลาไว้ให้นับเป็นอายุสัญญามีผลเพียงสิบปี ในความเป็นจริงของประเทศที่ด้อยพัฒนาทางกฎหมายอย่างประเทศไทยได้มีการซื้อสิทธิ์ขาดจากครูเพลงไปเป็นของค่ายเพลงเสียส่วนใหญ่ ฉนั้นการที่จะดำเนินการคุ้มครองครูเพลงตาม เจตนารมณ์ใน พรบ.ลิขสิทธิ์ จึงต้องมีกฎหมายลูกและกลไกที่จะมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ(ไม่อาจเปิดเผยกลยุทธและวิธีการได้ในส่วนของสมาพันธ์ฯ) และปัญหาเรื่องรอยต่อในการบังคับใช้กฎหมายก็ต้องมีการอุดช่องโหว่ในขั้นตอนที่สัญญาทำก่อนที่จะมี พรบ. และหลังมี พรบ. ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อน
ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร CISAC (The Internation Confederation of Authors and Composors Organization)หรือ สมาพันธ์นักแต่งและผู้เรียบเรียงดนตรีนานาชาติ ที่เป็นองค์กรจัดเก็บที่มีเครือข่ายทั่วโลก 109 ประเทศ สมาคมนักแต่งฯเป็นสมาชิก 210 สมาคมฯและเจ้าของผู้สร้างสรรลิขสิทธิ์ 2.5 ล้านคน ได้เคยมาประชุมสัมนาที่กรมทรัพย์ฯหลายครั้ง ได้กล่าวไว้ว่า ผมได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อเป็นตัวแทนขององค์กรในการไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างนักแต่งเพลงและค่ายเพลงและทำได้สำเร็จในทุกประเทศที่ผ่านมา แต่ในประเทศไทยค่ายเพลงไม่ยอมรับและอ่อนข้อให้กับหลักการทางสากล จึงทำให้การเจรจาล้มเหลว คำตอบที่ว่าความโกลาหลวุ่นวายที่เกิดกับวงการลิขสิทธิ์ไทยเริ่มต้นมาจากใคร และใครเป็นสาเหตุของความพิกลพิการ คุ้มคลั่งไปทั้งระบบเช่นนี้ คงมีคำตอบอยู่ในใจของท่านแล้ว
พรชัย ศิรินุกูลชร 23/6/49
go back
|