ที่มาของลิขสิทธิ์ และการคุ้มครองสิทธิ์
ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ต้นฉบับรวมทั้งสามารถสืบทอดถึงทายาท มีการกำหนดสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ที่เป็น เจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว (exclusive right) ในการใช้หรือให้อำนาจในการใช้งานลิขสิทธิ์ ภายในข้อตกลงและระยะเวลา และผู้สร้างสรรค์มีอำนาจในการห้ามการใช้งานลิขสิทธิ์ของตน
การสร้างสรรค์งานเพลงที่ได้ริเริ่มขึ้น จะได้รับการคุ้มครองในทันที (automatic protection ) โดยมิต้องผ่านพิธีการใดๆ (no formarity ) รวมถึงการจดทะเบียน หากงานนั้นเข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดสิทธิหลักของเจ้าของลิขสิทธิ์ ประกอบด้วย
1 สิทธิ์ทางเศรษฐกิจ (economic rights)
2 สิทธิ์ทางศีลธรรมหรือ ธรรมสิทธิ์ (moral rights)
องค์ประกอบของสิทธิ์ในผลงานเพลงของสิ่งบันทึกเสียงและโสตฯ
ลิขสิทธิ์ (copyright)
สิทธิ์เกี่ยวเนื่องหรือสิทธิ์ข้างเคียง (related right ,neighboring right)
ลิขสิทธิ์(copyright)ประกอบด้วยสิทธิ์ประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
1 สิทธิ์ดนตรีกรรม (คำร้อง-ทำนอง author & composer) musical machanical matheriel rights
2 สิทธิ์ทำซ้ำ (recording ) machanical reproduction rights
3 สิทธิ์ดัดแปลง (translation & adaptation rights)
4 สิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะ(สิทธิ์เผยแพร่ดนตรีกรรม) public performance rights
สิทธิ์เกี่ยวข้องหรือสิทธิ์ข้างเคียง relate rights & neighboring rights
1 สิทธิ์นักแสดง (performers rights)
2 สิทธิ์สิ่งบันทึกเสียงและโสตฯ producers of phonograms ( public performance)
3 สิทธิ์สถานีแพร่เสียง แพร่ภาพ broadcasting organizations (public performance)
2
บริษัทผลิตสิ่งบันทึกเสียงและโฆษณาเพลง publishing companyเป็นผู้ลงทุนในการผลิตอุตสาหกรรมเพลงและโฆษณาเพลงหรือ publisher (invested all the copyright)
ในกฎหมายลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติความหมายไว้ แต่ในทางธุรกิจดนตรีหมายถึง บริษัทที่ได้รับมอบลิขสิทธิ์ทั้งหมดจากผู้สร้างสรรค์ ในงานดนตรีกรรมแต่ละชิ้น (นอกเหนือจากสิทธิ์ในการนำงานดนตรีกรรมออกแสดง)
ซึ่งหมายถึงงานสิ่งบันทึกเสียง อันประกอบด้วย สิทธิ์ทำซ้ำ-ดัดแปลง สิทธิ์จำหน่าย สิทธิ์ดนตรีกรรม สิทธิ์นักแสดง สิทธิ์ข้างเคียงและ สิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณะ ถูกรวมไว้ในสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทป,แผ่นซีดี,วีซีดี,โปรแกรมคอมฯ และเป็น สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว (exclusive right)
ในอเมริกา มีอัตราการแบ่งปันรายได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บเป็น 12 ส่วน
ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง (publisher)ได้รับ 6/12 ดนตรีกรรม (author & composer) ได้รับ 6/12
ในยุโรป มีอัตราการแบ่งปันรายได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บเป็น 12 ส่วน
ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง (publisher)ได้รับ 4/12 ดนตรีกรรม (author & composer) ได้รับ 8/12
เจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว(exclusive right)
การที่ลิขสิทธิ์ดนตรีกรรม(ครูเพลง)และสิทธิ์ข้างเคียงในทุกๆส่วนของสิทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบเพื่อการอนุญาติให้บริษัทหรือผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง ที่ดูแลสิทธิ์ นักแสดงและเป็นสิทธิ์ข้างเคียงในสิ่งบันทึกเสียงดังกล่าว จึงได้ครอบคลุมทุกสิทธิ์ในกระบวนการผลิตเป็น สินค้าลิขสิทธิ์สำเร็จรูป เป็นเจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว
ในการผลิต,ทำซ้ำ,จำหน่าย,ให้เช่า,และเผยแพร่ต่อสาธารณชนการจัดเก็บครั้งเดียวอย่างเป็นธรรม (single equitable remuneration)
การจัดเก็บค่าเผยแพร่จากบริษัทจัดเก็บหรือตัวแทนเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นการจัดเก็บที่เป็นเจ้าของสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างผู้มีสิทธิ์และผู้ใช้สิทธิ์
จากสิทธิ์ของผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงดังกล่าวและในกระบวนการเริ่มต้นจนถึงขั้นผลิตสิ่งบันทึกเสียงออกมาเป็นสินค้าลิขสิทธิ์สำเร็จรูป จำหน่ายผ่านการตลาดสู่ผู้ใช้งาน เป็นการเริ่มต้นของธุรกิจเพลงที่มีองค์ประกอบของเจ้าของสิทธิ์และผู้ที่ได้ผลประโยชน์อย่างถูกต้องครบถ้วน ฉะนั้นการเริ่มต้นจึงเป็นกระบวนการที่ถูกต้องชอบธรรม เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจ่ายค่าคุ้มครองลิขสิทธิ์เผยแพร่ของเจ้าของสิทธิ์ที่มีอยู่ในแผ่นดังกล่าวโดยผ่านทางบริษัทจัดเก็บ เป็นการจ่ายเพียงครั้งเดียวถูกต้องตามเงื่อนไขของบริษัทจัดเก็บ
3
จึงไม่มีเหตุอันควรใดๆที่จะถูกบิดเบือนแอบอ้างมาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์อื่นใดที่มีอยู่ในสิ่งบันทึกเสียงนั้นๆ เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนักหรือเหตุอันควรอย่างหนึ่งอย่างใดมาสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว ฉะนั้นพฤติกรรมในการอ้างสิทธิจับกุมและเรียกร้องเงินทองดังที่ปรากฏจึงเป็นวิธีการที่มิชอบด้วยกฎหมายและศิลธรรม
ปัญหาดังกล่าวได้รับการถกเถียงกันมาทุกครั้งในที่ประชุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็น ปัญหาของการอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อน กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ดำเนินการแก้ไขโดยวิธีที่ส่งรายชื่อเพลงซ้ำซ้อนให้กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อนก่อนจะดำเนินคดี ซึ่งมีอยู่หลายพันเพลงทั้งระบบ การให้นิยามของเพลงซ้ำซ้อนและแนวทางแก้ไขดังกล่าว เป็นการทำโจทย์ที่ไม่สามารถเป็นผลในทางปฏิบัติเพราะความยุ่งยากซับซ้อนและไม่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม
ในทุกๆกรณีของเพลงซ้ำซ้อนโดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นการจับข้อหาละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ดนตรีกรรมในสิ่งบันทึกเสียง หากต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ตรงประเด็นและได้ผลจะต้องห้ามจับกุมโดยการอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์ในสิ่งบันทึกเสียง หรือให้ชัดเจนก็คือ ห้ามจับในแผ่นของบริษัทอื่นๆ คือห้ามจับข้ามค่าย การห้ามจับข้ามค่ายเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและเป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นจนกว่าจะมีการแก้ไขกฏหมายลิขสิทธิ์ให้เป็นผลในทางปฏิบัติปัญหาการจับกุมดำเนินคดีมีอยู่ 2 ขั้นตอน
การจับกุมเพื่อรีดไถ กรรโชกทรัพย์โดยการแอบอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อน ที่มีเจ้าหน้าที่บางส่วนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่มีการดำเนินคดีถึงชั้นศาลเพราะถูกกดดันให้จ่ายค่าตอบแทนแลกกับการยอมความ เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจและทำลายความศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมให้เกิดวงจร อิทธิพล มาเฟียร์
เมื่อผู้ต้องหาต่อสู้ถึงชั้นศาลเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ก็ต้องพบกับอุปสรรค์และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ถึงขั้นล้มละลาย ในที่สุดก็ต้องยอมความ จ่ายค่าตอบแทน สูญเสียโอกาสในการพิสูจน์ความจริงและพึ่งพากระบวนการยุติธรรม
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องพึ่งพากลไกทางภาครัฐที่จะแสวงหาวิธีการและกลไกในการบริหารจัดการเพื่อสลายพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และอัยการ ซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญเป็นที่พึ่งของประชาชน และสังคม จะต้องร่วมกันแผ่เมตตา เยียวยาแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จเป็นรูปธรรม
พรชัย ศิรินุกูลชร 6/6/48
go back
|