เอกสารที่เผยแพร่ในวันประชุมเรื่อง "ร่างกฎหมายลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์" 12-2-51
องค์กรจัดเก็บตามหลักสากล
1 ไม่แสวงหากำไร (nonprofit Organization)
2 มีหนึ่งสิทธิ์ต่อหนึ่งองค์กร
3 มีองค์กรจัดเก็บเพียงหนึ่งองค์กร (Monopoly)
4 จัดเก็บก้อนเดียวทั้งระบบ (Single Remuneration)
5 มีคณะกรรมการกำกับดูแลที่มาจากตัวแทนขององค์กรที่เกี่ยวข้องเช่นผู้ใช้งาน เจ้าของสิทธิ์ ภาครัฐ
การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาและส่งเสริมธุรกิจที่ใช้งานเพลง(ดนตรีกรรม) >xml:namespace prefix = o />
1 ให้กำหนดบทบาทของเจ้าของสิทธิ์และองค์กรจัดเก็บ
2 ให้กำหนดบทบาทของผู้ใช้งานเพลงแต่ละประเภท
3 ให้แยกแยะพฤติกรรมและวัตถุประสงค์ของการใช้งานเพลงให้ชัดเจน
แนวทางการแก้ปัญหาของระบบจัดเก็บ
1 ต้องมีการรวมงานเพลงทั้งระบบให้เป็นเอกภาพ
2 ต้องไม่มีคำว่าเลือกใช้เฉพาะบริษัทฯหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะในทางปฏิบัติไม่สามารถกระทำได้
3 ให้มีการบังคับใช้ CL (compulsory lisence)ในบางกรณี เพื่อควบคุมเสถียรภาพของระบบในการจัดเก็บ
4 กำหนดอัตราจัดเก็บร่วมกันระหว่างองค์กรจัดเก็บและองค์กรผู้ใช้งานเพลง
การกำหนดบทบาทของเจ้าของสิทธิ์และองค์กรจัดเก็บ
1 เจ้าของสิทธิ์ดนตรีกรรม และสมาคมผู้ประพันธ์เพลง(ดนตรีกรรม)เป็นองค์กรในเชิงสัญลักษ์ที่มีบทบาทหลักโดยตรงในการจัดเก็บค่าตอบแทน ตามกฎหมายสากลเช่น อนุสัญญา Brune Convention และนิยามในกฎหมายทุกประเทศได้กำหนดคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผู้ประพันธ์คำร้องทำนองหรือดนตรีกรรมเป็นวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครอง และมีกฎหมายลูกที่ต่อยอดจากอนุสัญญา Brune Convention คือ WCT(WIPO Copyright Treaty 1996) และ WPPT (WIPO Performances and Phonograms Treaty 1996)
· หลักการทางสากลระบุนิยามชัดเจนว่าการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นกิจกรรมหลัก(primary activity)ของ
สมาคมนักประพันธ์ดนตรีกรรมฯ การจัดเก็บสิทธิ์ข้างเคียงเป็นกิจกรรมอันดับรอง (secondary activity)
2 เจ้าของสิทธิ์ข้างเคียง ตามสนธิสัญญา WPPT (WIPO Performances and Phonograms Treaty 1996)
คือ นักแสดง (Performers) ,ค่ายเพลง(Publishers) , สถานีเผยแพร่ฯ (Broadcasting)
บทบาทของผู้ประกอบการเพื่อการเผยแพร่
1 เป็นผู้จัดหา รวบรวมงานเพลงเพื่อการเผยแพร่ และเป็นผู้จัดเก็บค่าเผยแพร่จากผู้บริโภค(โดยระบบตามกฎหมาย หรือคล้ายคลึงการจัดเก็บภาษี Vat ของสถานีจำหน่ายน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า)
2 เป็นผู้จัดหารวบรวมงานเพลงหรือทำซ้ำในระบบเพื่อการเผยแพร่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือองค์ประกอบในการละเมิดการทำซ้ำเพื่อการจำหน่ายหรืออื่นใดที่ทำความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อเจ้าของสิทธิ์ในทางตรงกันข้ามกับเอื้อประโยชน่ร่วมกันให้กับเจ้าของสิทธิ์,องค์กรจัดเก็บและผู้ประกอบการ
3 ผู้ประกอบการไม่ใช่ผู้บริโภคแต่เป็นเครื่องมือและเครือข่ายหรือสถานีบริการฯในการเตรียมการเพื่อนำผลงานเพลงสู่ผู้บริโภคที่ใช้บริการ
4 ผู้ประกอบการคือองค์ประกอบสำคัญในการให้ข้อมูลการใช้งานเพลงเพื่อประโยชน์ในการตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์อย่างเป็นจริงและเป็นธรรม
5 ผู้ประกอบการคือผู้จัดเก็บค่าตอบแทนคืนสู่เจ้าของสิทธิ์ตัวจริง
6 สถานีเผยแพร่ฯ จัดอยู่ในฐานะของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ที่มีลักษณะพิเศษคือเป็นเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงในผลงานการเผยแพร่ผ่านทางสื่อของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียง
การส่งเสริมธุรกิจที่ใช้งานเพลงเพื่อการเผยแพร่
1 ผู้ใช้งานเพลงเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่และชำระค่าเผยแพร่อย่างถูกต้อง ให้ทำซ้ำเพื่อการเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องชำระค่าทำซ้ำหรือใช้มาตรการ CL เข้ามาบังคับใช้
2 ให้กำหนดทิศทางในการจัดเก็บค่าเผยแพร่ตามการใช้จริง (Actual Use Pay)โดยระบบบันทึกการใช้งาน หรือการรวบรวมสถิติของแต่ละระดับและขนาดธุรกิจของผู้ประกอบการ สำหรับระยะเริ่มต้นให้คิดค่าเฉลี่ย จากระบบบันทึกประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นของแต่ละประเภทที่มีการติดตั้งระบบบันทึก มาเป็นข้อสรุปในการจัดเก็บแบบเหมาในบางประเภทประกอบการที่ไม่สามารถใช้ระบบบันทึกได้
3 เจ้าของสิทธิ์หรือองค์กรเจ้าของสิทธิ์ควรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมในการนำงานเพลงเข้าสู่ระบบของผู้ใช้งานเพื่อเตรียมการเผยแพร่ ในการขายสิทธิ์การเผยแพร่แก่ผู้บริโภคโดยตรง
พรชัย ศิรินุกูลชร 11-2-51