เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


 

เอกสาร สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย การประชุมคณะทำงานกฎหมายลิขสิทธิ์  3-

 

著作权集体管理条例(2004)

第一章   

  xml:namespace prefix = o />

第一条      为了规范著作权集体管理活动,便于著作权人和与著作权有关的权利人(以下简称权利人)行使权利和使用者使用作品,根据《中华人民共和国著作权法》(以下简称著作权法)制定本条例。

 

第二条  本条例所称著作权集体管理,是指著作权集体管理组织经权利人授权,集中行使权利人的有关权利并以自己的名义进行的下列活动:


   
(一)与使用者订立著作权或者与著作权有关的权利许可使用合同(以下简称许可使用合同);
   
(二)向使用者收取使用费;
   
(三)向权利人转付使用费;
   
(四)进行涉及著作权或者与著作权有关的权利的诉讼、仲裁等。          

 

 

  第三条  本条例所称著作权集体管理组织,是指为权利人的利益依法设立,根据权利人授权、对权利人的著作权或者与著作权有关的权利进行集体管理的社会团体。

著作权集体管理组织应当依照有关社会团体登记管理的行政法规和本条例的规定进行登记并开展活动。

  第四条  著作权法规定的表演权、放映权、广播权、出租权、信息网络传播权、复制权等权利人自己难以有效行使的权利,可以由著作权集体管理组织进行集体管理。

  第五条  国务院著作权管理部门主管全国的著作权集体管理工作。

第六条  除依照本条例规定设立的著作权集体管理组织外,任何组织和个人不得从事著作权集体管理活动。

 

第二章  著作权集体管理组织的设立

第七条  依法享有著作权或者与著作权有关的权利的中国公民、法人或者其他组织,可以发起设立著作权集体管理组织。
  设立著作权集体管理组织,应当具备下列条件:

(一)发起设立著作权集体管理组织的权利人不少于50人;
   
(二)不与已经依法登记的著作权集体管理组织的业务范围交叉、重合;
   
(三)能在全国范围代表相关权利人的利益;
   
(四)有著作权集体管理组织的章程草案、使用费收取标准草案和向权利人转付使用费的办法(以下简称使用费转付办法)草案。

        第八条  著作权集体管理组织章程应当载明下列事项:


   
(一)名称、住所;
   
(二)设立宗旨;
   
(三)业务范围;
   
(四)组织机构及其职权;
   
(五)会员大会的最低人数;

                        (六)理事会的职责及理事会负责人的条件和产生、罢免的程序;
                        
(七)管理费提取、使用办法;
                         (
八)会员加入、退出著作权集体管理组织的条件、程序;
                        
(九)章程的修改程序;
                        
(十)著作权集体管理组织终止的条件、程序和终止后资产的处理。

 

 

 

 

 

  第九条  申请设立著作权集体管理组织,应当向国务院著作权管理部门提交证明符合本条例第七条规定的条件的材料。国务院著作权管理部门应当自收到材料之日起60日内,作出批准或者不予批准的决定。批准的,发给著作权集体管理许可证;不予批准的,应当说明理由。

第十条  申请人应当自国务院著作权管理部门发给著作权集体管理许可证之日起30日内,依照有关社会团体登记管理的行政法规到国务院民政部门办理登记手续。

        第十一条  依法登记的著作权集体管理组织,应当自国务院民政部门发给登记证书之日起30日内,将其登记证书副本报国务院著作权管理部门备案;国务院著作权管理部门应当将报备的登记证书副本以及著作权集体管理组织章程、使用费收取标准、使用费转付办法予以公告。

第十二条  著作权集体管理组织设立分支机构,应当经国务院著作权管理部门批准,并依照有关社会团体登记管理的行政法规到国务院民政部门办理登记手续。经依法登记的,应当将分支机构的登记证书副本报国务院著作权管理部门备案,由国务院著作权管理部门予以公告。

    第十三条  著作权集体管理组织应当根据下列因素制定使用费收取标准:
   
(一)使用作品、录音录像制品等的时间、方式和地域范围;
   
(二)权利的种类;
   
(三)订立许可使用合同和收取使用费工作的繁简程度。

第十四条  著作权集体管理组织应当根据权利人的作品或者录音录像制品等使用情况制定使用费转付办法。

第十五条  著作权集体管理组织修改章程,应当将章程修改草案报国务院著作权管理部门批准,并依法经国务院民政部门核准后,由国务院著作权管理部门予以公告。

    第十六条  著作权集体管理组织被依法撤销登记的,自被撤销登记之日起不得再进行著作权集体管理业务活动。

 

 

 

 第三章  著作权集体管理组织的机构

第十七条  著作权集体管理组织会员大会(以下简称会员大会)为著作权集体管理组织的权力机构。会员大会由理事会依照本条例规定负责召集。理事会应当于会员大会召开60日以前将会议的时间、地点和拟审议事项予以公告;出席会员大会的会员,应当于会议召开30日以前报名。报名出席会员大会的会员少于章程规定的最低人数时,理事会应当将会员大会报名情况予以公告,会员可以于会议召开5日以前补充报名,并由全部报名出席会员大会的会员举行会员大会。


  会员大会行使下列职权:
   
(一)制定和修改章程;
   
(二)制定和修改使用费收取标准;
   
(三)制定和修改使用费转付办法;
   
(四)选举和罢免理事;
   
(五)审议批准理事会的工作报告和财务报告;
   
(六)制定内部管理制度;
 (七)决定使用费转付方案和著作权集体管理组织提取管理费的比例;
 (八)决定其他重大事项。

  会员大会每年召开一次;经10%以上会员或者理事会提议,可以召开临时会员大会。会员大会作出决定,应当经出席会议的会员过半数表决通过。

        第十八条  著作权集体管理组织设立理事会,对会员大会负责,执行会员大会决定。理事会成员不得少于9人。 
   
 理事会任期为4年,任期届满应当进行换届选举。因特殊情况可以提前或者延期换届,但是换届延期不得超过1年。

ข้อมูลจากเวปไซต์

http://www.ncac.gov.cn/GalaxyPortal/inner/bqj/include/detail.jspωarticleid=9399&boardpid=175&boardid=11501010111602

 

-1-

 

บทบัญญัติการบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์ (2004)

(องค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน)

 

 

บทที่ ๑

มาตราที่ ๑   เพื่อวางกฎระเบียบให้ดำเนินการบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  โดยอำนวยความสดวกแก่เจ้าของลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียงในสิทธิประโยชน์(ต่อไปนี้จะเรียกว่า เจ้าของลิขสิทธิ์) เพื่อให้เกิดสิทธิประโยชน์และผู้ใช้งานได้ใช้ผลงานสร้างสรรค์, ตาม(พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน)

 

มาตราที่ ๒   มาตราดังกล่าวนี้ หมายถึงการบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  ที่แสดงถึงการได้รับอำนาจในการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์                                                                          

(๑)    เป็นผู้ออกใบอนุญาตแก่ผู้ใช้งานหรือ และมีอำนาจในการอนุญาตในการใช้งานลิขสิทธิ์ร่วมกัน(ให้หมายถึงการอนุญาตร่วมกัน)

(๒)  เป็นผู้รับค่าตอบแทนจากผู้ใช้งานลิขสิทธิ์

(๓)  เป็นผู้นำค่าตอบแทนจ่ายคืนแก่เจ้าของสิทธิ์

(๔)  ได้รับมอบอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดี  การวินิจฉัยชี้ขาดต่อผู้ละเมิดลิขสิทธิ์

  
มาตราที่ ๓   มาตราดังกล่าวนี้หมายถึงการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  ที่แสดงถึงผู้มีอำนาจมีสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ ผู้มีอำนาจยึดถือตามสิทธิที่ได้รับ  ต่อสิทธิประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์ข้างเคียง  ที่มีอำนาจดำเนินการบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยจัดตั้งสมาคมร่วมกัน

การจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้เป็นไปตามการจดทะเบียนสมาคมตามกฎหมายและให้เป็นไปตามมาตรานี้ในการเริ่มต้นดำเนินการ

มาตราที่ ๔  พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์กำหนดให้มี สิทธิ์นักแสดง, สิทธิ์แพร่ภาพ, สิทธิ์ถ่ายทอด, สิทธิ์เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เนท, สิทธิ์ทำซ้ำต่างๆ รวมทั้งสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยสามารถดำเนินการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

มาตราที่ ๕   รัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลลิขสิทธิ์ กำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์ทั่วประเทศ

มาตราที่ ๖   ตามมาตราดังกล่าวนี้ การกำหนดจัดตั้งองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์, ห้ามไม่ให้คณะบุคคลหรือบุคคลใดที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกระทำการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์

 

 

-2-

บทที่     การจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์

มาตราที่ ๗    อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์หรือ และสิทธิ์ข้างเคียงในสิทธิประโยชน์ของประชาชาติจีน  นิติบุคคลหรือคณะบุคคล  สามารถดำเนินการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  โดยให้เป็นไปตามข้อความและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑)   ดำเนินการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันไม่น้อยกว่า  50  ราย

(๒)  ไม่ร่วมกับผู้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บที่เป็นประเภทลักษณะเดียวกัน ซ้ำซ้อนกัน

(๓)  สามารถเป็นตัวแทนของเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงเพื่อให้การดูแลผลประโยชน์ของเจ้าของสิทธิ์ได้ทั่วประเทศ

(๔)  กำหนดให้มีร่างข้อบังคับขององค์กรจัดเก็บ  กำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานในการจัดเก็บค่าตอบแทน และการแบ่งปันค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์(ต่อไปนี้ให้หมายถึงร่างกฎข้อบังคับในการแบ่งปันค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์)

       

มาตราที่ ๘  กฎข้อบังคับ การบริหารองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  มีดังต่อไปนี้

 

(๑)    ชื่อ, สถานที่ตั้ง

(๒)    วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง

(๓)    กำหนดขอบเขตของการดำเนินการ

(๔)    การจัดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่อื่นๆ

(๕)    กำหนดจำนวนคณะกรรมการขั้นต่ำในที่ประชุมใหญ่

(๖)    อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในเงื่อนไขและการผ่านมติ ขั้นตอน

        การยกเลิกมติ

(๗)   นำเสนอค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ, หลักเกณฑ์ในการขออนุญาต

(๘)    กำหนดเงื่อนไขในการเข้าเป็นคณะกรรมการหรือพ้นสภาพการเป็นคณะกรรมการบริหารจัดเก็บฯ

(๙)    ร่างระเบียบในการแก้ไขวาระการประชุม

(๑๐)กำหนดเงื่อนไขในการสิ้นสุดการจัดเก็บขององค์กรจัดเก็บ

 

มาตราที่ ๙  การยื่นคำร้องของเจ้าของสิทธิ์เพื่อก่อตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  ให้นำเสนอหลักฐาน ข้อมูลรายละเอียดที่สอดคล้องกับบทบัญญัติตาม มาตรา ๙ มาตรา ๗ ต่อรัฐมนตรีที่มีอำนาจกำกับดูแล รัฐมนตรีที่มีอำนาจกำกับดูแลจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันหลังจากได้รับคำร้องจากผู้รับมอบอำนาจขอจัดตั้งองค์กรจัดเก็บ และจะต้องพิจารณาให้อนุญาตหรือไม่ให้อนุญาต หากอนุญาตให้ออกหลักฐานรับรองหรือใบอนุญาตแก่ผู้รับมอบอำนาจ  หรือหากไม่อนุญาต ให้แจ้งเหตุผลพร้อมคำอธิบายแก่ผู้รับมอบอำนาจ

 

-3-

 

มาตราที่ ๑๐  ผู้ยื่นคำร้องจะต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บจากรัฐมนตรีผู้มีอำนาจกำกับดูแลภายใน ๓๐ วัน  โดยให้เป็นไปตามกฎระเบียบและขั้นตอนในการจดทะเบียนสมาคมฯและลงทะเบียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงการปกครอง 

มาตราที่ ๑๑  อาศัยอำนาจตามกฎหมายจดทะเบียนในการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  ให้รัฐมนตรีกระทรวงการปกครองจัดทำทะเบียนรับรองอนุญาตนับจากวันอนุญาตภายใน 30 วัน    พร้อมกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา  รัฐมนตรีที่กำกับดูแลการลงทะเบียนรับรองอนุญาตต้องนำหนังสือลงทะเบียนพร้อมหลักเกณฑ์อัตราจัดเก็บค่าตอบแทนที่เป็นมาตรฐาน  หลักเกณฑ์การแบ่งปันค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์  โดยให้มีการประกาศแจ้งต่อสาธารณะ

มาตราที่ ๑๒  องค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์ จัดตั้งเครือข่ายสาขา จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีที่กำกับดูแลลิขสิทธิ์  โดยให้เป็นไปตามการจดทะเบียนสมาคมฯของกฎระเบียบตามขั้นตอนการจดทะเบียนสมาคมฯ  พร้อมกับประกาศในราชกิจจานุเบกษา รัฐมนตรีที่กำกับดูแลจะต้องนำออกประกาศแจ้งต่อสาธารณะ

มาตราที่  ๑๓  การจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานในการกำหนดอัตราจัดเก็บดังต่อไปนี้

(๑)   การใช้งานลิขสิทธิ์  ระยะเวลาในการบันทึกเสียงบันทึกภาพ  รูปแบบวิธีและอาณาเขตดินแดน

(๒)   ประเภทงานที่ได้สิทธิประโยชน์

(๓)   ออกใบอนุญาตให้ใช้  ทำสัญญาและดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทน  ในทุกระดับ

มาตราที่ ๑๔  องค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  ตามสิทธิประโยชน์ของเจ้าของงานลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกเสียง,บันทึกภาพต่างๆ กำหนดลักษณะการใช้  ระเบียบวิธีการแบ่งปันค่าตอบแทนเจ้าของสิทธิ์

มาตราที่ ๑๕  การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  จะต้องนำร่างปรับปรุงแก้ไขยื่นต่อรัฐมนตรีที่กำกับดูแลลิขสิทธิ์เพื่ออนุญาต  เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายรัฐมนตรีกระทรวงการปกครองทำการอนุญาต  โดยการประกาศอย่างเป็นทางการ 

มาตราที่ ๑๖ การยกเลิกใบอนุญาต องค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  ผู้ถูกยกเลิกใบอนุญาตจะต้องไม่ดำเนินการใดๆในนามองค์การบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์ดังกล่าว

 

                                            บทที่ ๓  โครงสร้างขององค์กรบริหารจัดเก็บ

มาตราที่ ๑๗  การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์ (ต่อไปนี้เรียกว่าการประชุมใหญ่คณะกรรมการฯ) โดยโครงสร้างอำนาจองค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์  การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการโดยคณะทำงานการประชุมตามมาตรานี้ กำหนดรับผิดชอบการจัดเก็บ  คณะทำงานจะต้องเรียกประชุมล่วงหน้า ๖๐ วันก่อนการประชุม  สถานที่และวาระการประชุมให้ประกาศแจ้ง คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม จะต้องแจ้งยืนยันการเข้าประชุมล่วงหน้า ๓๐ วันก่อนการประชุม  หากมีคณะกรรมการยืนยันเข้าประชุมน้อยกว่าระเบียบที่กำหนด  ประธานจะต้องนำผลดังกล่าวประกาศแจ้ง

 

-4-

 

คณะกรรมการ   คณะกรรมการสามารถเพิ่มรายชื่อภายใน 5 วันก่อนวันประชุม  โดยให้นำรายชื่อรวมเข้าคณะกรรมการในการประชุมใหญ่


  คณะกรรมการประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑)  กำหนดแก้ไขกฎข้อบังคับ

(๒)  กำหนดแก้ไขบรรทัดฐานอัตราจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้

(๓)  กำหนดแก้ไขหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์

(๔)  การคัดเลือกยอมรับผลงานและการเพิกถอนผลงานในการดำเนินการ

(๕)  พิจารณาอนุมัติคณะทำงานในการรายงานผลการดำเนินงานและงบการเงิน

(๖)  กำหนดมาตรการบริหารภายใน

(๗)  พิจารณาหลักเกณฑ์การแบ่งปันค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บตามลำดับ

(๘)  พิจารณาหลักเกณฑ์ลำดับหัวข้อความสำคัญในการบริหารจัดการ

 

คณะกรรมการประชุมใหญ่ปีละ ๑ ครั้ง  คณะกรรมการมากกว่า ๑๐ เปอร์เซนสามารถเข้าชื่อเพื่อขอเปิดประชุมใหญ่ โดยที่ประชุมใหญ่เป็นผู้พิจารณา การพิจารณามีมติอนุมัติต้องมีเสียงสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง 

 

มาตราที่ ๑๘  องค์กรบริหารจัดเก็บลิขสิทธิ์จะต้องแต่งตั้งคณะทำงาน  เจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบแทนคณะกรรมการชุดใหญ่  เจ้าหน้าที่คณะทำงานต้องมีไม่น้อยกว่า ๙ คน คณะทำงานมีวาระการทำงาน ๔ ปี  หลังสิ้นวาระคณะทำงานจะต้องมีการพิจารณาคัดเลือกใหม่  ในกรณีสถานะการณ์พิเศษสามารถเสนอหรือต่ออายุในการทำงานในวาระต่อไปอีก แต่จะต้องไม่เกิน ๑ ปี

 

 

ข้อมูลจากเวปไซต์

http://www.ncac.gov.cn/GalaxyPortal/inner/bqj/include/detail.jspωarticleid=9399&boardpid=175&boardid=11501010111602

 

xml:namespace prefix = st1 />1/7/51

 

        ร่างฯ ที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว

หมวด ๒/๑xml:namespace prefix = o />

การจัดเก็บค่าตอบแทน

 

ส่วนที่ ๑

ข้อความทั่วไป

             มาตรา ๕๓/๑  ในหมวดนี้

 

                         “สัญญามอบหมาย หมายความว่า สัญญาที่สมาชิกมอบหมายให้บริษัทจัดเก็บ  มีสิทธิที่จะทำสัญญาให้ใช้งาน และจัดเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้งานเพื่อจัดสรรให้แก่สมาชิก รวมทั้งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงแทนสมาชิก

                       สมาชิก หมายความว่า เจ้าของสิทธิหรือผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแทนเจ้าของสิทธิซึ่งบริษัทจัดเก็บรับเข้าเป็นสมาชิก

                      เจ้าของสิทธิ หมายความว่า เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

                                บริษัทจัดเก็บ หมายความว่า บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

                                ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตให้จัดเก็บค่าตอบแทน

                     สัญญาให้ใช้งาน หมายความว่า สัญญาที่บริษัทจัดเก็บอนุญาตให้ผู้ใช้งานใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามบัญชีงานทั้งหมดหรือบางส่วน โดยผู้ใช้งานตกลงชำระค่าตอบแทนให้ตามสัญญา

                                ผู้ใช้งาน หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำสัญญาให้ใช้งานกับบริษัทจัดเก็บ

                                บัญชีงาน หมายความว่า บัญชีที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงที่ได้มีการโฆษณาแล้ว

                     ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินที่ผู้ใช้งานชำระให้แก่บริษัทจัดเก็บตามสัญญาให้ใช้งาน

                                ข้อกำหนด หมายความว่า ข้อกำหนดของบริษัทจัดเก็บ

                      นายทะเบียน หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติการตามหมวดนี้

                                คณะกรรมการกำกับดูแล หมายความว่า คณะกรรมการกำกับดูแลบริษัทจัดเก็บ

 

 

 มาตรา ๕๓/๒  ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงใดที่การจัดเก็บค่าตอบแทนของประเภทงานนั้นต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง

 

ส่วนที่ ๒

การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต

                               

 

มาตรา ๕๓/๓  การจัดเก็บค่าตอบแทนสำหรับประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิ

ของนักแสดงที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๓/๒ จะกระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโดยได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนโดยอนุมัติคณะกรรมการกำกับดูแล

 

การจัดตั้งบริษัทจำกัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้เริ่มก่อการยื่นคำขอรับความเห็นชอบ

พร้อมทั้งหนังสือบริคณห์สนธิต่อนายทะเบียน และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้อนุมัติแล้ว

ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ความเห็นชอบและมีหนังสือแจ้งให้ผู้เริ่มก่อการทราบโดยไม่ชักช้า และ

ให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

     เมื่อได้รับจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมทั้งหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ และข้อกำหนด ต่อนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียน และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาตและออกใบอนุญาตให้โดยไม่ชักช้า

 

                                                                                                ในกรณีที่ผู้เริ่มก่อการไม่ดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัดให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคสอง หรือกรณีที่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในระยะเวลาตามวรรคสาม ให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของนายทะเบียนโดยอนุมัติคณะกรรมการกำกับดูแลที่ออกให้ตามวรรคสองเป็นอันสิ้นผล เว้นแต่ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัดจะได้ยื่นขอขยายระยะเวลาต่อนายทะเบียน โดยจะขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน

                               

 

 

                                การขอรับความเห็นชอบ การให้ความเห็นชอบ การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขอขยายระยะเวลา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด

ในกฎกระทรวง

 

มาตรา ๕๓/๔  ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นบริษัทจำกัด

(๒) ชื่อบริษัทจำกัดต้องใช้คำว่า บริษัทจัดเก็บ นำหน้า และ จำกัด ต่อท้าย

แต่ในกรณีที่ใช้ชื่อเป็นอักษรภาษาต่างประเทศ ให้ใช้คำที่มีความหมายว่าเป็นบริษัทจัดเก็บ ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

                                (๓) ต้องมีวัตถุที่ประสงค์ในการจัดเก็บค่าตอบแทนเพื่อนำมาจัดสรรให้แก่บรรดาสมาชิกโดยไม่มีวัตถุที่ประสงค์เพื่อประกอบกิจการอย่างอื่น

(๔) มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท

                                (๕) มีข้อบังคับที่ไม่ขัดต่อการจัดเก็บค่าตอบแทนตามหมวดนี้

                                (๖) มีข้อกำหนดตามมาตรา ๕๓/๕

                                (๗) มีบัญชีงานที่มีจำนวนงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงไม่ต่ำกว่าจำนวนที่

คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

                                มาตรา ๕๓/๕  ข้อกำหนดอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

                                (๑) อัตราการจัดเก็บค่าตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าตอบแทน

                                (๒) อัตราการจัดสรรค่าตอบแทน รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรค่าตอบแทน

(๓) อัตราการหักเงินค่าตอบแทนเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจัดเก็บ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายเงินดังกล่าว

(๔) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับสมัครสมาชิกและการให้ออกจากการเป็นสมาชิก

(๕) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนดมาตรา ๕๓/๖  ในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตยื่นบัญชีงานต่อนายทะเบียน

โดยมีรายการตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการเกี่ยวกับรายชื่อสมาชิก ประเภทงานผู้สร้างสรรค์ และวันที่โฆษณางานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงนั้น

ให้นายทะเบียนสั่งให้ประกาศบัญชีงานตามวรรคหนึ่ง หากบุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต บุคคลนั้นจะยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการคัดค้านต่อ

                  

นายทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ และให้นายทะเบียนส่งคำคัดค้านให้แก่ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ทำความตกลงกันในงานที่ถูกคัดค้านนั้น ในกรณีนี้

 

 

 

ห้ามนำงานที่ถูกคัดค้านนั้นนับรวมในบัญชีงานตามมาตรา ๕๓/๔ (๗)

                                                                                                ในกรณีที่ไม่มีการคัดค้านตามวรรคสอง หรือมีการคัดค้าน แต่งานตามบัญชีงาน

ยังคงมีจำนวนไม่ต่ำกว่าจำนวนที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนดตามมาตรา ๕๓/๔ (๗)

ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ความเห็นชอบบัญชีงานนั้นและมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า

                               

                                ให้ถือว่างานตามบัญชีงานที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบแล้ว เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบริษัทจัดเก็บ และให้ผู้ใช้งานที่ทำสัญญาให้ใช้งานกับบริษัทจัดเก็บมีสิทธิใช้งานตามบัญชีงานนั้นได้  โดยบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่าผู้ใช้งานละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงในงานดังกล่าวไม่ได้

การประกาศบัญชีงานและการคัดค้านตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

 

มาตรา ๕๓/๗  ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้บริษัทจัดเก็บยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบ

การสูญหายหรือถูกทำลาย

                               

                                                                                                การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                                มาตรา ๕๓/๘  ห้ามผู้ใดที่มิใช่บริษัทจัดเก็บใช้คำนำหน้าชื่อหรือคำแสดงชื่อในการประกอบธุรกิจว่า บริษัทจัดเก็บ หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน เว้นแต่เป็นการใช้เพื่อการจัดตั้งบริษัทจำกัดและการขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๓

 

 

ส่วนที่ ๓

หน้าที่ของบริษัทจัดเก็บ

                               

                               

                                มาตรา ๕๓/๙  บริษัทจัดเก็บมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                                (๑) ประกอบกิจการตามหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ ข้อกำหนด และบัญชีงาน

(๒) จัดทำทะเบียนสมาชิก

                                (๓) ประกาศบัญชีงาน

                                (๔) ประกาศข้อกำหนด

(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

 

                                มาตรา ๕๓/๑๐  ในกรณีที่บริษัทจัดเก็บมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจัดเก็บ ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว  ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ความเห็นชอบและมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดเก็บทราบโดย

ไม่ชักช้า และให้บริษัทจัดเก็บดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อไป

                               

                                                                                                เมื่อได้รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับแล้ว ให้บริษัทจัดเก็บส่งสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับดังกล่าวต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียน

 

                                มาตรา ๕๓/๑๑  ให้บริษัทจัดเก็บจัดทำทะเบียนสมาชิกตามแบบที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด และให้ส่งสำเนาทะเบียนสมาชิกต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดทำทะเบียนสมาชิกดังกล่าว

                               

                                                                                                ในกรณีที่มีการปรับปรุงทะเบียนสมาชิก ให้บริษัทจัดเก็บส่งสำเนาทะเบียนสมาชิกดังกล่าวต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรับปรุงทะเบียนสมาชิกนั้น

 

                                มาตรา ๕๓/๑๒  ให้บริษัทจัดเก็บประกาศบัญชีงานที่นายทะเบียนให้ความเห็นชอบแล้วเพื่อให้สาธารณชนทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

 

                                ในกรณีที่มีการปรับปรุงบัญชีงาน ให้ยื่นขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรับปรุงบัญชีงาน

 

ให้นำความในมาตรา ๕๓/๖ วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการปรับปรุงบัญชีงานโดยอนุโลม

 

                                มาตรา ๕๓/๑๓  ให้บริษัทจัดเก็บประกาศข้อกำหนดที่ได้รับความเห็นชอบจาก

นายทะเบียนโดยอนุมัติคณะกรรมการกำกับดูแล เพื่อให้สาธารณชนทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

                               

                                                                                                ในกรณีที่บริษัทจัดเก็บมีความประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนด ให้ยื่นคำขอรับความเห็นชอบต่อนายทะเบียน และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ความเห็นชอบและมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดเก็บทราบโดยไม่ชักช้า และให้บริษัทจัดเก็บประกาศข้อกำหนดตามวรรคหนึ่งต่อไปด้วย

                               

                                                                                                การแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราการจัดเก็บค่าตอบแทนต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดและมีจำนวนงานตามบัญชีงานรวมกันไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนงานทั้งหมด

                               

                                                                                                การประกาศข้อกำหนด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

 

                                มาตรา ๕๓/๑๔  ให้บริษัทจัดเก็บกำหนดวิธีการที่จะให้สมาชิกเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานตามบัญชีงานได้โดยง่าย

                               

                                                มาตรา ๕๓/๑๕  ในระหว่างอายุสัญญาให้ใช้งาน หากผู้ใช้งานถูกโต้แย้งสิทธิในการใช้งานตามสัญญา ให้บริษัทจัดเก็บมีหน้าที่รับผิดชอบในการที่ผู้ใช้งานถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าว โดยให้บริษัทจัดเก็บเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

 

                                มาตรา ๕๓/๑๖  ห้ามบริษัทจัดเก็บกระทำการ ดังต่อไปนี้

                                (๑) ลดทุน แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนด เว้นแต่

จะได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนโดยอนุมัติคณะกรรมการกำกับดูแล

                                (๒) ควบเข้ากันกับบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอื่น เว้นแต่เป็นการควบเข้ากันกับบริษัทจัดเก็บด้วยกัน โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนโดยอนุมัติคณะกรรมการกำกับดูแล

                                (๓) นำค่าตอบแทนไปใช้เพื่อการอย่างอื่น นอกจากจัดสรรให้แก่บรรดาสมาชิกหรือ

หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจัดเก็บตามข้อกำหนด

                                (๔) เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดอื่น

 

                                มาตรา ๕๓/๑๗  กรรมการผู้มีอำนาจหรือบุคคลที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจัดเก็บต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

                                (๑) มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าตอบแทนเป็นอย่างดี

                                (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

                                (๓) ไม่เคยได้รับโทษโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตหรือความผิดเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

                                (๔) ไม่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจหรือบุคคลที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจัดเก็บอื่น หรือเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจหรือบุคคลที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจัดเก็บที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

                                        (๕) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทจัดเก็บ

                                (๖) ไม่มีประวัติเสียหายหรือดำเนินกิจการใดที่อาจส่งผลเสียหายต่อการดำเนินกิจการของบริษัทจัดเก็บ

 

 

ส่วนที่ ๔

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

                               

 

                                มาตรา ๕๓/๑๘  สมาชิกมีสิทธิที่จะได้รับการจัดสรรค่าตอบแทนจากบริษัทจัดเก็บตามข้อกำหนด

 

 

                                มาตรา ๕๓/๑๙  ในกรณีที่สมาชิกมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทจัดเก็บมีฐานะการเงินหรือการประกอบกิจการที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิก สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดและมีจำนวนงานตามบัญชีงานรวมกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนงานทั้งหมดอาจเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้คณะกรรมการกำกับดูแลตรวจทรัพย์สินและการประกอบกิจการของบริษัทจัดเก็บก็ได้

 

                                เมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้รับการร้องขอจากสมาชิกตามวรรคหนึ่งแล้ว

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลสั่งให้นายทะเบียนเข้าตรวจทรัพย์สินและการประกอบกิจการของ

บริษัทจัดเก็บ

               

                                มาตรา ๕๓/๒๐  ในกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่า บริษัทจัดเก็บตามมาตรา ๕๓/๑๙ ยังคงสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ให้นายทะเบียนขออนุมัติต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อมีหนังสือแจ้งผลการตรวจให้สมาชิกทราบโดยไม่ชักช้า

 

ในกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาเห็นว่า บริษัทจัดเก็บตามมาตรา ๕๓/๑๙ ไม่อาจประกอบกิจการต่อไปได้ และมีเหตุสมควรเพิกถอนใบอนุญาต ให้นายทะเบียนขออนุมัติต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และเมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดเก็บทราบ

โดยไม่ชักช้า

 

                                มาตรา ๕๓/๒๑  ในระหว่างอายุสัญญามอบหมาย ห้ามสมาชิกนำงานตามบัญชีงาน

ที่ได้ทำสัญญามอบหมายไว้กับบริษัทจัดเก็บหนึ่งแล้วไปทำสัญญามอบหมายกับบริษัทจัดเก็บอื่นอีก

                               

 

ส่วนที่ ๕

การกำกับดูแลบริษัทจัดเก็บ

                               

 

                                มาตรา ๕๓/๒๒  บริษัทจัดเก็บต้องเก็บรักษาสัญญามอบหมาย สัญญาให้ใช้งาน ทะเบียนสมาชิก บัญชีงาน เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าตอบแทนและการจัดสรรค่าตอบแทนไว้ ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทจัดเก็บไม่น้อยกว่าห้าปี  โดยจะเก็บรักษาในรูปแบบหรือวิธีการใดก็ได้

                                               

                                มาตรา ๕๓/๒๓  ให้บริษัทจัดเก็บจัดทำบัญชีงบดุลประจำปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทุกรอบระยะเวลาสิบสองเดือน และให้ส่งสำเนาบัญชีงบดุลดังกล่าวต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อนุมัติบัญชีงบดุลนั้น

 

                                มาตรา ๕๓/๒๔  ให้บริษัทจัดเก็บประกาศการจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาสมาชิกอย่างน้อยปีละสองครั้ง และให้จัดสรรค่าตอบแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ

 

                                มาตรา ๕๓/๒๕  ให้บริษัทจัดเก็บจัดทำรายงานประจำปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

และเผยแพร่เพื่อให้สาธารณชนทราบ

 

ส่วนที่ ๖

การเลิกบริษัทจัดเก็บและการเพิกถอนใบอนุญาต

                               

 

มาตรา ๕๓/๒๖  บริษัทจัดเก็บเลิกกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อเลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๕๓/๒๗

(๒) เมื่อมีการควบเข้ากันตามมาตรา ๕๓/๒๘

(๓) เมื่อถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๒๐ หรือมาตรา ๕๓/๒๙

 

มาตรา ๕๓/๒๗  บริษัทจัดเก็บใดประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งเสนอโครงการที่อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

                                (๑) วิธีจัดการเกี่ยวกับภาระผูกพันตามสัญญามอบหมายและสัญญาให้ใช้งานที่ยังมีผลผูกพันอยู่ รวมทั้งวิธีการจัดเก็บค่าตอบแทนและจัดสรรค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าว

                                (๒) วิธีการจัดให้สมาชิกเข้าเป็นสมาชิกในบริษัทจัดเก็บอื่นโดยสมัครใจ

                                (๓) การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินในส่วนที่เกี่ยวกับค่าตอบแทน

                                (๔) รายการอื่นตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลประกาศกำหนด

                                เมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งอนุญาตและมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดเก็บทราบโดยไม่ชักช้า และให้บริษัทจัดเก็บดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อไป

 

                                มาตรา ๕๓/๒๘  การควบบริษัทจัดเก็บเข้ากันให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

                                ให้นำความในมาตรา ๕๓/๓ วรรคสาม และวรรคห้า มาใช้บังคับกับการขอรับใบอนุญาตของบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นใหม่จากการควบบริษัทจัดเก็บเข้ากันโดยอนุโลม

 

มาตรา ๕๓/๒๙  ในกรณีที่บริษัทจัดเก็บใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ไม่จัดสรรค่าตอบแทนให้แก่บรรดาสมาชิกตามข้อกำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(๒) ประกอบกิจการขาดทุนติดต่อกันเกินกว่าสามปี

(๓) ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของบริษัทจัดเก็บตามมาตรา ๕๓/๙ (๑)

(๔) ฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๑๖

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าบริษัทจัดเก็บใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม

วรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งเตือนให้บริษัทจัดเก็บนั้นดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

ให้นายทะเบียนเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

 

 

เมื่อคณะกรรมการกำกับดูแลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และมีหนังสือแจ้งให้บริษัทจัดเก็บทราบโดยไม่ชักช้า

 

มาตรา ๕๓/๓๐  เมื่อบริษัทจัดเก็บใดถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๒๐ หรือมาตรา ๕๓/๒๙ ให้บริษัทจัดเก็บนั้นจัดทำโครงการตามมาตรา ๕๓/๒๗ วรรคหนึ่ง เสนอต่อ

นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เว้นแต่บริษัทจัดเก็บนั้นจะอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการ

 

                                ในกรณีที่บริษัทจัดเก็บได้เสนอโครงการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำความในมาตรา ๕๓/๒๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

ส่วนที่ ๗

การอุทธรณ์

                               

 

                                มาตรา ๕๓/๓๑  ผู้เริ่มก่อการ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือกรรมการ

ผู้มีอำนาจของบริษัทจัดเก็บมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๕๓/๓ วรรคสอง

หรือวรรคสาม มาตรา ๕๓/๖ วรรคสาม มาตรา ๕๓/๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๓/๑๓ วรรคสอง มาตรา ๕๓/๒๐ วรรคสอง มาตรา ๕๓/๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๕๓/๒๙ วรรคสาม แล้วแต่กรณี ต่อคณะกรรมการ

 

                                การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเสนอต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้า 

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า

 

                                มาตรา ๕๓/๓๒  เมื่อคณะกรรมการได้มีคำวินิจฉัยแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยไม่ชักช้า

 

 

 

                                ในกรณีที่คณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แก้ไขหรือกลับคำสั่งของนายทะเบียน

ในเรื่องใด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า

                                คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

 

ส่วนที่ ๘

คณะกรรมการกำกับดูแล

                               

 

มาตรา ๕๓/๓๓  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกำกับดูแลบริษัทจัดเก็บ ประกอบด้วย

(๑) อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานกรรมการ

(๒) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านการบริหารธุรกิจ เทคโนโลยี การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์ จำนวนไม่เกินแปดคน เป็นกรรมการ

                                ในกรณีที่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทงานตามมาตรา ๕๓/๒ เพิ่มเติม รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์

ที่เกี่ยวข้องกับประเภทงานดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ จำนวนไม่เกินสองคน

ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกินสองคน

 

มาตรา ๕๓/๓๔  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

 

ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

 

 

 

 

มาตรา ๕๓/๓๕  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือหย่อนความสามารถ

(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิด

ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 

มาตรา ๕๓/๓๖  การประชุมของคณะกรรมการกำกับดูแลต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน

ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

 

มาตรา ๕๓/๓๗  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ หรือบุคคลที่มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจัดเก็บที่ประกอบกิจการอยู่

 

มาตรา ๕๓/๓๘  คณะกรรมการกำกับดูแลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) พิจารณาอนุมัติการขอรับความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทจำกัดตามมาตรา ๕๓/๓ วรรคสอง การขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๓ วรรคสาม การขอรับความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับตามมาตรา ๕๓/๑๐ วรรคหนึ่ง หรือข้อกำหนดตามมาตรา ๕๓/๑๓ วรรคสอง แล้วแต่กรณี การเลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๕๓/๒๗ และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๒๐ วรรคสอง และมาตรา ๕๓/๒๙ วรรคสาม

(๒) ออกประกาศเพื่อให้บริษัทจัดเก็บปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) ออกประกาศกำหนดแบบของสัญญามอบหมายและสัญญาให้ใช้งาน 

ทั้งนี้ โดยจะให้มีรายการหรือรายละเอียดอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้

                                (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลมอบหมาย

(๕) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างบริษัทจัดเก็บกับเจ้าของสิทธิ หรือระหว่างบริษัทจัดเก็บกับผู้ใช้งาน โดยคู่กรณีตกลงยินยอมมอบหมายเป็นหนังสือ

                                (๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

                                มาตรา ๔  ให้ยกเลิกความใน (๒) ของมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

(๒) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีตามมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๕๕ หรือคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๕๓/๓ วรรคสองหรือวรรคสาม มาตรา ๕๓/๖ วรรคสาม มาตรา ๕๓/๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๓/๑๓ วรรคสอง มาตรา ๕๓/๒๐ วรรคสอง มาตรา ๕๓/๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๕๓/๒๙ วรรคสาม

 

มาตรา ๕  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

มาตรา ๖๖  ความผิดตามมาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ เป็นความผิดอันยอมความได้

 

มาตรา ๖  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                               

                                                                                                มาตรา ๖๙  ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๗ (๑) หรือ (๒) มาตรา ๒๘ (๑) หรือ (๒) มาตรา ๒๙ (๑) (๒) หรือ (๓) มาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๒) มาตรา ๓๑ (๒) หรือกระทำการละเมิดสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

 

                                มาตรา ๗  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                               

                                                                                                มาตรา ๗๐  ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๒๘ (๓) มาตรา ๓๐ (๓) หรือมาตรา ๓๑ (๑) (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท

 

                                มาตรา ๘  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๐/๑ มาตรา ๗๐/๒ มาตรา ๗๐/๓

มาตรา ๗๐/๔ มาตรา ๗๐/๕ มาตรา ๗๐/๖ และมาตรา ๗๐/๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

พ.ศ. ๒๕๓๗

                                มาตรา ๗๐/๑  ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง โดย

                                (๑) มีความประสงค์ทางการค้า หรือประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้อง

หรือช่วยทำให้เกิดการประกอบการค้า หรือ

                                (๒) มีความประสงค์ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้าโดยวิธีการใด ๆ

หรือประกอบการค้าเกี่ยวกับการให้บริการเผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องหรือช่วยทำให้เกิดการประกอบการค้าเกี่ยวกับการให้บริการเผยแพร่ต่อสาธารณชน

                                ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา ๖๙ ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านหกแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา ๗๐ ผู้กระทำ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                               

                                                                                                มาตรา ๗๐/๒  ผู้ใดจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๕๓/๒ โดยไม่ได้เป็นบริษัทจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

                                มาตรา ๗๐/๓  ผู้ใดที่มิใช่บริษัทจัดเก็บกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

                                มาตรา ๗๐/๔  บริษัทจัดเก็บใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓/๙ (๑) หรือกระทำการ

ฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๑๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

 

มาตรา ๗๐/๕  สมาชิกใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๒๑ ต้องระวางโทษปรับ

ไม่เกินสองแสนบาท

 

มาตรา ๗๐/๖  บริษัทจัดเก็บใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓/๙ (๒) (๓) (๔)

หรือ (๕) มาตรา ๕๓/๑๐ มาตรา ๕๓/๑๑ มาตรา ๕๓/๑๒ มาตรา ๕๓/๑๓ มาตรา ๕๓/๑๕

มาตรา ๕๓/๒๒ มาตรา ๕๓/๒๔ หรือมาตรา ๕๓/๒๗ หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๕๓/๑๗

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท

 

                                มาตรา ๗๐/๗  บริษัทจัดเก็บใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๓/๒๓ หรือมาตรา ๕๓/๒๕

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

 

                                มาตรา ๙  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                               

                                                                                                มาตรา ๗๕  บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิด

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง หรือเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นซึ่งใช้ในการกระทำความผิดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น

 

                                มาตรา ๑๐  ให้ยกเลิกมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

                                มาตรา ๑๑  ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

มาตรา ๗๗  บรรดาความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบ

ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้

 

 

คณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้มีจำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งสองคนต้องเป็นพนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด  และผู้กระทำความผิด

ได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน5

 

                                ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป

 

มาตรา ๑๒  ผู้ใดดำเนินการจัดเก็บค่าใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง

ตามประเภทงานที่มีกฎกระทรวงออกตามมาตรา ๕๓/๒ และจัดเก็บอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ หากผู้นั้นประสงค์จะจัดเก็บค่าใช้งานต่อไปต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๕๓/๓ วรรคสาม ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ และเมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดเก็บค่าตอบแทนโดยเป็นบริษัทจัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้มีสิทธิจัดเก็บแทน     ผู้ซึ่งดำเนินการจัดเก็บค่าใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงเดิมในระหว่างระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามวรรคหนึ่ง มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗๐/๒ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งยื่นคำขอรับใบอนุญาต

 

มาตรา ๑๓  สัญญาหรือข้อตกลงใดที่ผู้ดำเนินการจัดเก็บค่าใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามประเภทงานที่มีกฎกระทรวงออกตามมาตรา ๕๓/ ได้ทำกับผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ นักแสดง หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวใช้บังคับ ให้ถือว่าสัญญาหรือข้อตกลงนั้นยังคงมีผลต่อไปได้จนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น  แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสามปี

 

                                มาตรา ๑๔  ให้ผู้ที่ใช้คำนำหน้าชื่อหรือคำแสดงชื่อในการประกอบธุรกิจว่า

บริษัทจัดเก็บ หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันอยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ซึ่งต้องห้ามมิให้ใช้ตามมาตรา ๕๓/๘ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม

โดยพระราชบัญญัตินี้ เลิกใช้ชื่อหรือคำอื่นใดดังกล่าวภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๑๕  ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๕๓/๓๓ () ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เพื่อให้ได้คณะกรรมการกำกับดูแลตามพระราชบัญญัตินี้

 

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการ

คณะหนึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด

เป็นกรรมการ ทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน

 

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการกำกับดูแลตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมทรัพย์สิน

ทางปัญญาอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

อีกไม่เกินสองคนก็ได้

 

                                มาตรา ๑๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

 

 

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

 

   ...................................

        นายกรัฐมนตรี

 

ผู้เผยแพร่ พรชัย  ศิรินุกูลชร

 

 

 

กฎหมายลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีน

(การประชุมวาระที่ 15 ของสมาชิกถาวรของสภาประชาชนคณะที่ 7 ในวันที่ 7 กันยายน 1990 (2533) และได้พิจารณาแก้ไขใหม่ตามการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขของกฎหมายลิขสิทธิ์สาธารณรัฐประชาชนจีนในวาระการประชุมที่ 24 ของคณะกรรมการถาวรของสภาประชาชนแห่งชาติคณะที่ 9 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2001 (2544) )

 

บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป

มาตราที่ 1   กฎหมายนี้เป็นการออก พระราชบัญญัติ ตามที่เป็นองค์ประกอบ สำหรับความมุ่งหมายของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ของนักประพันธ์ในงานวรรณกรรม ศิลปกรรมและงานวิทยาศาสตร์และ สิทธิ์ข้างเคียงงานลิขสิทธิ์และผลประโยชน์ ของการสนับสนุนการสร้างสรรและการเผยแพร่ของงานซึ่งควรค่าแก่การสนับสนุนสู่การสร้างจิตรวิญญาณแห่งสังคมนิยมและเป็นปัจจัยด้านอารยะธรรม ทั้งการสนับสนุนการพัฒนาและความเจริญรุ่เรืองมั่งคั่งของวัฒนธรรมสังคมนิยมและวิทยาศาสตร์

มาตราที่ 2     งานของพลเมืองจีน นิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ ไม่ว่าจะมีการโฆษณาหรือไม่ก็ตาม จะสามารถใช้งานลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฉบับนี้

ในงานของชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติซึ่งมีคุณสมบัติที่จะใช้งานลิขสิทธิ์ภายใต้การหาข้อยุติตามข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งชาวต่างชาติเป็นเจ้าของหรือซึ่งได้อยู่อาศัยเป็นประจำในประเทศนั้นและในประเทศจีน หรือภายใต้สนธิสัญญานานาชาติ ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นภาคีร่วมกัน จะคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้

งานของชาวต่างชาติหรือบุคคลไร้สัญชาติที่ได้ทำการโฆษณาครั้งแรกภายในประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะใช้งานลิขสิทธิ์ได้ตามกฎหมายฉบับนี้

ในงานของชาวต่างชาติผู้ซึ่งเป็นเจ้าของงานของประเทศซึ่งยังไม่ได้มีขัอยุติในข้อตกลงกับจีน หรือซึ่งไม่ได้เป็นภาคีสนธิสัญญานานาชาติ กับจีนหรือบุคคลไร้สัญชาติได้ทำการโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศซึ่งเป็นภาคีของสนธิสัญญานานาชาติกับจีน หรือซึ่งเป็นรัฐสมาชิกภาคีหรือไม่เป็นสมาชิกภาคี จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้

มาตราที่ 3   สำหรับความมุ่งหมายของกฎหมายนี้ กำหนดเวลาของงานรวมทั้งงานของวรรณกรรม ศิลปกรรม ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ สังคมวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยีและคล้ายคลึงกันซึ่งเป็นการแสดงออกในรูปแแบบดังต่อไปนี้

    (1)  งานเขียน

    (2)  งานพูดปากเปล่า

    (3)  งานดนตรีกรรม,งานแสดงลคร,งาน guyi’ ,งานบัลเลต์และงานกายกรรม,

    (4)  งานศิลปวิจิตร,และงานสถาปัตยกรรม

    (5)  งานถ่ายภาพ

    (6)  งานภาพยนต์และงานที่สามารถสร้างสรรโดยการเลียนแบบวิธีการผลิตฟิล์มภาพยนต์

    (7)  การวาดภาพของการออกแบบวิศวกรรม,และการออกแบบผลิตภัณฑ์,แผนที่,สเก็ตภาพและงานกราฟฟิคและ         งานโมเดล,

    (8)  ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์

    (9)  งานอื่นๆที่ได้กำหนดในกฎหมายฉบับนี้รวมทั้งระเบียบปฏิบัติ

 

มาตราที่ 4    งานโฆษณาเผยแพร่หรือการจำหน่าย จ่ายแจก ของงานซึ่งเป็นการต้องห้ามจะไม่ได้รับการคุ้มโดย   กฎหมายฉบับนี้ เจ้าของงานลิขสิทธิ์, ในการใช้งานลิขสิทธิ์ของตน, จะต้องไม่ละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายหรือทำให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ

มาตราที่  5   กฎหมายฉบับนี้จะไม่ใช้กับ

    (1)   กฎหมาย, กฎระเบียบปฏิบัติ ,คำพิพากษา, การตัดสินและคำสั่งของกลไกภาครัฐ, เอกสารอื่นๆของกฎหมาย พรบ. , การดำเนินการหรือกระบวนการยุติธรรม, และการแปลเอกสารทั้งหลายของหน่วยงานดังกล่าว

    (2)   ข่าวประจำวันและ

    (3)   ปฏิทิน, ตารางตัวเลข, และแบบฟอร์มที่ใช้อยู่ทั่วๆไป, และสูตรต่างๆ

มาตราที่ 6   กฎระเบียบสำหรับการคุ้มครองของลิขสิทธิ์ในการแสดงออกของการแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นจะแยกส่วนจัดตั้งการบริหารโดยสภาแห่งชาติฯ

มาตราที่ 7   สำนักงานบริหารลิขสิทธิ์ภายใต้สภาแห่งชาติจะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการด้านลิขสิทธิ์ภายในประเทศ สำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ของรัฐบาลประชาชนในแต่ละมณฑล, เขตปกครองตนเองและเทศบาลปกครองตนเองโดยตรง ภายใต้รัฐบาลกลางจะรับผิดชอบสำหรับการดำเนินการด้านลิขสิทธิ์ในการดำเนินการของแต่ละเขตมณฑล

มาตราที่ 8    เจ้าของลิขสิทธิ์และผู้มีสิทธิ์ข้างเคียง จะมีความชอบธรรมสำหรับการดำเนินการบริหารจัดเก็บการใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์ข้างเคียงภายหลังการอนุญาตให้ใช้, องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ควรจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยนาม, เรียกร้องสิทธิ์คุ้มครองสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์และ ผู้มีสิทธิ์ข้างเคียง, และมีส่วนร่วม, เป็นฝ่ายได้รับประโยชน์, ในการฟ้องร้องหรือการตัดสินชี้ขาด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียง

องค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์จะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร กำหนดสำหรับการจัดตั้ง, สิทธิและข้อตกลง, การจัดเก็บและการแบ่งปันของค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตลิขสิทธิ์และการกำกับดูแลและการดำเนินการจะแบ่งส่วนงานและจัดตั้งโดยสภาแห่งชาติ

 

บทที่ 2 ลิขสิทธิ์

 

หมวดที่ 1 เจ้าของลิขสิทธิ์และสิทธิ์ที่มี

 

มาตราที่ 9    ทางด้าน “เจ้าของลิขสิทธิ์” จะรวมทั้ง

    1    นักประพันธ์,

    2    พลเมืองอื่นๆ, นิติบุคคลและองค์กรอื่นๆ ที่ใช้งานลิขสิทธิ์ตามกฎหมายฉบับนี้.

มาตราที่ 10   ทางด้าน “ลิขสิทธิ์” จะมีสิทธิ์รวมทั้ง สิทธิ์ส่วนบุคคลและสิทธิ์ทางทรัพย์สิน

    1    สิทธิ์ในการโฆษณาเผยแพร่, ของสิทธิ์ในการตัดสินใจแม้กระทั่งสิทธิ์ที่จะแสวงประโยชน์ของงานจากสาธารณะ

    2    สิทธิ์ของการประพันธ์, ของสิทธิ์ในการคุ้มครองการประพันธ์และมีสิทธิ์ที่จะคงไว้ซึ่งชื่อนักประพันธ์ที่จะเชื่อมโยงกับงานที่สร้างสรร

    3    สิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง, ของสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงหรือการอนุญาตอื่นๆในการเปลี่ยนแปลงงานที่สร้างสรร

    4    สิทธิ์ของการคงไว้ซึ่งความครบถ้วนสมบูรณ์, ของสิทธิ์คุ้มครองในงานระหว่างการทำให้ผิดเพี้ยนและการดัดแปลงจนเสียความ

    5    สิทธิ์ในการทำซ้ำ, ของ สิทธิ์ที่จะผลิตจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนของสำเนาของงานโดยการพิมพ์, การสำเนาภาพ, การพิมพ์หิน, การบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพ, การทำสำเนาโดยการบันทึกหรือ การทำสำเนาโดยงานภาพถ่ายหรือโดยความหมายอื่นๆ

    6    สิทธิ์ในการจำหน่าย จ่ายแจก,ของสิทธิ์นั้นในการทำประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งต้นฉบับหรือการทำซ้ำของงานผ่านทางการขายหรือการโอนของเจ้าของสิทธิ์

    7    สิทธิ์ในการเช่า, ของสิทธิ์นั้นในสิทธิ์การอนุญาต, โดยการจ่ายค่าตอบแทน, อื่นๆถึงการใช้ชั่วคราวในงานภาพยนต์, งานสร้างสรรโดยความสามารถในวิธีการเลียนแบบการผลิตของฟิล์มภาพยนต์, และซอฟแวร์คอมพิวเตอร์, ยกเว้นในซอฟแวร์ที่ไม่ได้เป็นเนื้อหาสาระของเรื่องราวในการเช่า

    8    สิทธิ์ในการจัดนิทรรศการ, ของสิทธิ์นั้นในสิทธิ์การแสดงเผยแพร่ต่อสาธารณะของต้นฉบับหรือการทำซ้ำของงานวิจิตรศิลป์และงานถ่ายภาพ

    9    สิทธิ์ในการแสดง,เป็นสิทธิ์ซึ่ง, สิทธิ์ในการแสดงต่อสาธารณะและถ่ายทอดสู่สาธารณะในการแสดงของงานโดยความหมายต่างๆ

    10   สิทธิ์ในการแสดงออก, เป็นสิทธิ์ซึ่ง, สิทธิ์ในการแสดงออกของงานให้ปรากฏต่อสาธารณะของงานวิจิตรศิลป์, งานถ่ายภาพ, งานภาพยนต์, และงานสร้างสรรโดยวิธีการที่สามารถเลียนแบบวิธีการผลิตของฟิล์มผ่านทางวิธีการโปรเจคเตอร์ผ่านฟิล์มใส, โอเวอร์เฮดโปรเจคเตอร์ หรือกลไกทางเทคนิคอื่นๆ

    11   สิทธิ์ในการถ่ายทอดทางสถานีถ่ายทอด เป็นสิทธิ์ในการถ่ายทอดทางสถานีถ่ายทอดสู่สาธารณะหรือการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะของงาน, ที่ไร้สายโดยความหมายในการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะของงานสถานีถ่ายทอดโดยทางสายหรือทวนสัญญาณโดยความหมาย, และการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะของงานสถานีถ่ายทอดโดยงานกระจายเสียงผ่านลำโพงหรือโดยเครื่องมือที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ ในการใช้ถ่ายทอดสัญลักณ์, ของเสียงหรือภาพ

    12   สิทธิ์ของการสื่อสารคมนาคมของข้อมูลบนเครือข่าย, เป็นสิทธิ์ซึ่งเป็นการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะของงาน, โดยสายหรือไร้สายของความหมาย ดังเช่นวิธีการของสมาชิกของสาธารณะสามารถเข้าถึงงานนั้นๆจากสถานที่และเวลาที่ต้องการเป็นเอกเทศในการเลือกโดยบุคคลนั้น

    13   สิทธิ์ในการสร้างงานภาพยนต์, เป็นสิทธิ์ซึ่งการบันทึกงานบนตัวนำโดยทางการผลิตฟิล์มหรือโดยความสามารถของวิธีการคล้ายคลึงกับวิธีการผลิตฟิล์มภาพยนต์

    14   สิทธิ์ในการดัดแปลง, ของสิทธิ์นั้นๆเป็นสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงในงานที่สร้างสรรเป็นงานใหม่ของต้นฉบับเดิม

    15   สิทธิ์ในการแปล,ของสิทธิ์นั้นๆเป็นสิทธิ์ที่จะแปลงานในภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาอื่นๆ

    16   สิทธิ์ในการรวบรวม, ของสิทธิ์นั้นๆเป็นสิทธิ์ที่จะรวบรวมงานหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของงานไปสู่งานใหม่โดยผลของการเลือกหรือเรียบเรียง, และ

    17   สิทธิ์อื่นๆของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นนิติบุคคลในการใช้งาน

เจ้าของลิขสิทธิ์เห็นสมควรอนุญาตให้บุคคลอื่นในการใช้ภายใต้ข้อบัญญัติย่อหน้า (5)ถึง(17) และได้รับค่าตอบแทน

ตามข้อตกลงหรือสิทธิ์อื่นๆในกฎหมายฉบับนี้

เจ้าของลิขสิทธิ์จะมอบหมาย, ในบางส่วนหรือทั้งหมดของสิทธิ์ภายใต้บทบัญญัติของย่อหน้าที่ (5) ถึง (17) และได้

รับค่าตอบแทนตามข้อตกลงหรือสิทธิ์อื่นๆในกฎหมายฉบับนี้

 

 

หมวดที่ 2 การเป็นเจ้าของสิทธิ์ของลิขสิทธิ์

มาตราที่ 11   ข้อยกเว้นที่ซึ่งกำหนดตามเจตนาอื่นๆในกฎหมายฉบับนี้, ลิขสิทธิ์ในงานที่จะเป็นเจ้าของของนักประพันธ์

นักประพันธ์ของงานที่เป็นพลเมืองผู้ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรผลงาน

ที่ซึ่งงานสร้างสรรตามความมุ่งหมายและภายใต้การกำกับดูแลและรับผิดชอบของนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ, ดังเช่นกฎหมายนิติบุคคลหรือองค์กรที่จะให้ความเห็นชอบในงานของนักประพันธ์

พลเมือง, กฎหมายนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆผู้ซึ่งในนามได้ดำรงอยู่ในเครือข่ายกับงานที่จะ, พิสูจน์ถึงงานที่ไม่มีการขัดแย้งกัน, ในการลงความเห็นว่าเป็นงานของนักประพันธ์

มาตราที่ 12   งานซึ่งเป็นการสร้างสรรโดยการดัดแปลง, การแปล, คำอธิบายประกอบหรือการเรียบเรียงของงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้, ลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรจะใช้โดยผู้ดัดแปลง, ผู้แปล, ผู้บรรยายหรือเรียบเรียง, กำหนดการใช้นั้นๆดังเช่นจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่องานลิขสิทธิ์ของต้นฉบับเดิม

มาตราที่ 13   งานที่ซึ่งเป็นการสร้างสรรร่วมกันโดยสองคนหรือมากกว่าของนักประพันธ์ร่วม, ลิขสิทธิ์ในงานที่จะใช้ร่วมกันโดยนักประพันธ์ร่วม การประพันธ์ร่วมกันไม่ควรจะคุ้มครองโดยผู้หนึ่งผู้ใดที่ไม่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรผลงาน ถ้างานของการร่วมกันประพันธ์สามารถแบ่งออกเป็นส่วนที่เป็นอิสระและแยกการใช้ประโยชน์, ของแต่ละการประพันธ์ร่วมกันจะเป็นนิติบุคคลในอิสระของลิขสิทธิ์ในส่วนที่ผู้มีส่วนในการสร้างสรร กำหนดเป็นการใช้ดังเช่นจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายในงานลิขสิทธิ์ร่วมกันทั้งหมด

มาตราที่ 14    งานสร้างสรรงานหนึ่งโดยการรวบรวมจากงานหลายๆงาน, บางส่วนของงาน, ข้อมูลนั้นไม่เป็นองค์ประกอบของงานหรือรายละเอียดอื่นๆและการมีความเป็นต้นฉบับในการเลือกหรือเรียบเรียงของเนื้อหาเป็นงานของการรวบรวม ลิขสิทธิ์ในงานของการรวบรวมจะใช้โดยผู้รวบรวม, กำหนดให้เป็นการใช้งานลิขสิทธิ์นั้นจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อลิขสิทธิ์อันเป็นงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้

มาตราที่ 15    ลิขสิทธิ์ในงานภาพยนต์และงานอื่นๆที่สร้างสรรโดยวิธีการของการผลิตฟิล์มจะสามารถใช้โดยผู้ผลิตงาน, แต่ผู้เขียนบท,ผู้กำกับ, ช่างกล้อง, ผู้บรรยาย, ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน, และผู้ประพันธ์อื่นๆจะสามารถใช้สิทธิ์ของการประพันธ์ในงาน, และมีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทนตามสัญญากับผู้ผลิต
นักประพันธ์ของฉากการแสดง, งานดนตรีกรรมและงานอื่นๆนั้นเป็นการร่วมมือกันในงานภาพยนต์และงานสร้างสรรโดยความสามารถของการเลียนแบบในวิธีการผลิตฟิล์มและสามารถแยกส่วนในการใช้ประโยชน์จะเป็นนิติบุคคลในการใช้ลิขสิทธิ์เหล่านั้นอย่างอิสระ

มาตราที่ 16   ในงานสร้างสรรงานหนึ่งโดยพลเมืองในการปฏิบัติการโดยเฉพาะในการมอบหมายที่ของผู้ที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายหรือองค์กรอื่นๆจะให้ความเห็นชอบของงานสร้างสรรในส่วนของการว่าจ้าง ลิขสิทธิ์ของงานนั้นจะใช้โดยนักประพันธ์, อยู่ในอำนาจที่จะกำหนดของย่อหน้าที่สองของมาตรานี้, ได้กำหนดเป็นนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆที่จะมีลำดับของสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ภายในขอบเขตของกิจกรรมในวิชาชีพ ระหว่างสองปีภายหลังการรวบรวมงาน, นักประพันธ์จะไม่กระทำโดย ปราศจากการยินยอมของนิติบุคคลหรือองค์กร, การอนุญาตต่อบุคคลอื่นๆที่จะใช้ประโยชน์ของงานในทางเดียวกันที่เป็นนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ
ในแต่ละกรณี นักประพันธ์ของงานสร้างสรรในส่วนของการว่าจ้างจะใช้สิทธิ์ของการประพันธ์, ในขณะที่นิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆจะใช้ ในสิทธิ์อื่นๆรวมทั้งในลิขสิทธิ์และควรให้รางวัลตอบแทนแก่นักประพันธ์

การวาดภาพของวิศวกรรมการออกแบบและออกแบบผลิตภัณฑ์และแผนที่, ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และการสร้าสรรในงานอื่นๆ ในส่วนของการว่าจ้างเป็นหลัก กับปัจจัยและที่มาของเทคนิคของนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆและภายใต้ความรับผิดชอบ

งานสร้างสรรในส่วนของการว่าจ้างที่ซึ่งเป็นงานลิขสิทธิ์, ตามกฎหมาย, การรดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติหรือสัญญา, การใช้โดยนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ

มาตราที่ 17   เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานค่านายหน้า(คอมมิสชั่น)จะเป็นไปตามข้อตกลงตามสัญญาระหว่างการเป็นนายหน้าและเป็นฝ่ายผู้รับค่านายหน้า ในการไม่มีสัญญาของข้อตกลงที่ความชัดเจนของสัญญา ลิขสิทธิ์ในงานเช่นว่านี้จะเป็นของฝ่ายนายหน้า

มาตราที่ 18   การถ่ายโอนของเจ้าของสิทธิ์ของต้นฉบับ และ สำเนาของงานศิลปวิจิตร, หรืองานอื่นๆ, จะไม่รับความเห็นชอบรวมถึงการถ่ายโอนของงานลิขสิทธิดังกล่าว การกำหนดสิทธิ์ในการนำมาแสดงในงานนิทรรศการของต้นฉบับหรือสำเนาของงานศิลปวิจิตร จะใช้โดยผู้เป็นเจ้าของของต้นฉบับหรือสำเนาที่กล่าวถึง

มาตราที่ 19   ที่ซึ่งงานลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของของพลเมือง เป็นสิทธ์ของการใช้ประโยชน์และสิทธิ์ภายใต้ มาตราที่ 10, ย่อหน้า (5) ถึง (17), ของกฎหมายฉบับนี้ในการยอมรับของงานจะภายหลังที่เจ้าของสิทธิ์เสียชีวิตลง, ระหว่างกำหนดเวลาของการกำหนดคุ้มครองสำหรับในกฎหมายฉบับนี้, เป็นการถ่ายโอนตามข้อกำหนดของกฎหมายทายาท

ที่ซึ่งลิขสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของงานตามนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ เป็นสิทธิ์ภายใต้มาตรา 10, ย่อหน้า (5) ถึง (17),ของกฎหมายฉบับนี้,จะภายหลังการเปลี่ยนหรือการสิ้นสุดลงของสถานะของนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ, ในระหว่างกำหนดเวลาของการกำหนดคุ้มครองสำหรับกฎหมายฉบับนี้ เป็นการใช้โดยการสืบทอดตามนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ ซึ่งเป็นการได้มาแบบเป็นสิทธิ์โดยทางการและตามข้อตกลง หรือในการไม่มีผู้สืบทอดนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ, โดยสถานะ

 

 บทที่ 3 กำหนดเวลาของสิทธิ์คุ้มครอง

มาตราที่ 20   สิทธิ์ของการประพันธ์, การเปลี่ยนแปลงและการคงความสมบูรณ์ของนักประพันธ์จะไม่จำกัดระยะเวลา

มาตราที่ 21 กำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ของการโฆษณาเผยแพร่และสิทธิ์อ้างอิงถึงมาตรา 10,ย่อหน้า (5) ถึง (17) , ของกฎหมายฉบับนี้ ในการยอมรับของงานของพลเมืองตลอดชีวิตของนักประพันธ์และ 50 ปีหลังจากเสียชีวิต, และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 50 หลังจากนักประพันธ์เสียชีวิต ในกรณีของงานที่มีการประพันธ์ร่วมกัน, จะสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 50 หลังจากการเสียชีวิตของนักประพันธ์ร่วมคนสุดท้ายที่เหลืออยู่
กำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ของการโฆษณาเผยแพร่และสิทธิ์ในการกำหนดสำหรับในมาตราที่ 10, ย่อหน้าที่ (5) ถึง (17),ของกฎหมายฉบับนี้ในการยอมรับของงานที่ซึ่งลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของตามกฎหมายนิติบุคคลหรือองค์กรหรือในการยอมรับของงานสร้างสรรในส่วนของการว่าจ้างที่ซึ่งนิติบุคคลตามกฎหมายหรือองค์กรอื่นๆใช้ลิขสิทธิ์ (ยกเว้นสิทธิ์ของนักประพันธ์), จะมีระยะเวลา 50 ปี, และสิ้นสุดลงวันที่ 31ธันวาคม ของปีที่ 50 หลังจากการเผยแพร่เป็นครั้งแรกของงานดังกล่าว, กำหนดในแต่ละงานที่ไม่มีการโฆษณาเผยแพร่ภายใน 1 ปีหลังจากทำให้สมบูรณ์ครบถ้วนของการสร้างสรรจะไม่ยาวนานกว่าการคุ้มครองภายใต้กฎหมายนี้
ในกำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ของการโฆษณาเผยแพร่สำหรับสิทธิ์ของการคุ้มครองการโฆษณาเผยแพร่หรือสิทธิ์อ้างอิงถึงมาตรา 10, ย่อหน้าที่ (5) ถึง (17), ของกฎหมายฉบับนี้ในการยอมรับของงานภาพยนต์, งานสร้างสรรโดยความสามารถของการเลียนแบบในวิธีการผลิตฟิล์มหรืองานถ่ายภาพจะมีระยะเวลาคุ้มครอง 50 ปี , และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 50 หลังจากการเผยแพร่ของงานนั้นๆ, การกำหนดนั้นในแต่ละงานที่ไม่มีการเผยแพร่ภายใน 50 ปีหลังจากการทำให้สมบูรณ์ครบถ้วนของการสร้างสรรจะไม่ยาวนานกว่าการคุ้มครองภายใต้กฎหมายนี้

หมวดที่ 4 การจำกัดสิทธิ์

มาตราที่ 22 ในกรณีของงานที่ควรใช้ประโยชน์โดยปราศจากการขออนุญาต, และปราศจากการจ่ายค่าตอบแก่เจ้าของสิทธิ์, การกำหนดชื่อของนักประพันธ์และชื่อเรื่องของงานจะคงอยู่และสิทธิ์อื่นๆในการใช้โดยเจ้าของสิทธิ์ โดยอาศัยตามอำนาจของกฎหมายนี้ ที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายในงานนั้น

    1    การใช้งานในการโฆษณาเผยแพร่ของความมุ่งหมายของผู้ใช้เป็นเจ้าของการศึกษาเอกชน, การวิจัยหรือความบันเทิงส่วนตัว,

    2    การกล่าวอ้างที่เหมาะสมจากการเผยแพร่งานในงานของเจ้าของงานสำหรับความมุ่งหมายของการแนะนำหรือวิจารณ์งาน, หรือ การสาธิตในของงาน

    3    การนำกลับมาใช้ใหม่หรือกล่าวอ้างถึง, สำหรับเหตุผลที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้, ของการโฆษณาเผยแพร่งานในหนังสือพิมพ์, หรือการพิมพ์เป็นครั้งคราว, สถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์หรือ สื่ออื่นๆสำหรับความมุ่งหมายในการรายงานที่เกี่ยวข้อง กับข่าวสาร

    4    การพิมพ์ซ้ำโดยหนังสือพิมพ์หรือพิมพ์เป็นครั้งคราว หรือถ่ายทอดซ้ำโดยสถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์, หรือในสื่อต่างๆ, ของมาตราในประเด็นที่เกี่ยวข้องถึงการเมือง, เศรษฐกิจหรือการเผยแพร่ความเชื่อความศรัทธาโดยหนังสือพิมพ์ต่างๆ, การพิมพ์เป็นครั้งคราว, หรือการถ่ายทอดโดยสถานีวิทยุต่างๆ, สถานีโทรทัศน์หรือสื่อต่างๆ, ยกเว้นกรณีที่นักประพันธ์ได้มีการประกาศว่าการพิมพ์ซ้ำหรือการถ่ายทอดซ้ำเป็นการไม่อนุญาต

    5    การเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือการพิมพ์เป็นครั้งคราว, หรือการถ่ายทอดโดยสถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์หรือสื่ออื่นๆ, ของการส่งมอบสุนทรพจน์จากการรวบรวมจากที่สาธารณะ, ยกเว้นกรณีที่นักประพันธ์ได้มีการประกาศว่าการเผยแพร่หรือการถ่ายทอดจะเป็นการไม่อนุญาต

    6    การแปล, หรือการทำซ้ำในจำนวนเล็กน้อยของสำเนา, ของงานโฆษณาเผยแพร่สำหรับใช้โดยผู้สอนหรือผู้วิจัยทางวิทยาศาสตร์, ในการสอนในชั้นเรียนหรือการวิจัยทางวิทยาศาสคร์, กำหนดเป็นการแปลหรือการทำซ้ำจะไม่โฆษณาเผยแพร่หรือจำหน่ายจ่ายแจก

    7    การใช้ของงานโฆษณาเผยแพร่, ภายในขอบเขตที่เหมาะสม, โดยกลไกภาครัฐสำหรับความมุ่งหมายของการทำให้ครบถ้วนในหน้าที่ของสำนักงาน

    8    การทำซ้ำของงานในการรวบรวมสะสมโดยห้องสมุด, การได้มา, อนุสรณ์สถาน, พิพิธภัณฑ์, หอศิลป์หรือองค์ประกอบที่เสมือนกันอื่นๆ, สำหรับความมุ่งหมายของการแสดงงาน, หรือการเก็บรักษาของสำเนาหรือของงาน

    9    การไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการแสดงสดของงานเผยแพร่และการแสดงในการพูดจะไม่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกของสาธารณะหรือไม่จ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้แสดง

    10   การสำเนา, การวาดภาพ, การถ่ายภาพหรือการบันทึกภาพของงานศิลปแสดงในที่ตั้งหรือการแสดงผลงานในสถานที่สาธารณภายนอกอาคาร

    11   การแปลของงานเผยแพร่ของพลเมืองจีน, ภายใต้กฎหมายนิติบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ จากภาษาจีนไปเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยสำหรับการเผยแพร่และจ่ายแจกภายในประเทศและ

    12   การถ่ายตัวอักษรของงานโฆษณาเผยแพร่ไปสู่อักษรเบรลล์(อักษรคนตาบอด)เพื่อการเผยแพร่ของงานถ่ายตัวอักษร

       การจำกัดสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถใช้ประโยชน์ถึงสิทธิ์ของผู้โฆษณาเผยแพร่, นักแสดง, ผู้ผลิตงานสิ่งบันทึกเสียงและการบันทึกภาพ, สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์

มาตราที่ 23    ในการรวบรวมและการโฆษณาหนังสือตำราสำหรับการนำไปปฏิบัติเป็นการชั่วคราว 9 ปี ในการศึกษาและโปรแกรมการศึกษาของชาติ, โฆษณาบางส่วนของงาน, งานชวเลข, งานดนตรีกรรมหรืองานสำเนาเดี่ยวของงานการพิมพ์หรืองานถ่ายภาพควรได้รวบรวมอยู่ในตำราโดยปราศจากการอนุญาตจากนักประพันธ์, ยกเว้นในกรณีที่นักประพันธ์ได้ประกาศแจ้งล่วงหน้าในการใช้ให้เป็นการไม่อนุญาต กับการจ่ายค่าตอบแทนตามกฎระเบียบ ในนามของนักประพันธ์และชื่อเรื่องของงานที่บ่งชี้และปราศจากการทำให้เกิดความเสียหายของการใช้สิทธิ์อื่นๆโดยเจ้าของสิทธิ์ตามกฎหมายฉบับนี้

ในข้อจำกัดสิทธิ์ดังกล่าวจะสามารถใช้ประโยชน์กับสิทธิ์ของผู้โฆษณาเผยแพร่, นักแสดง, ผู้ผลิตของงานสิ่งบันทึกเสียงและการบันทึกภาพ, สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์

บทที่ 4 การอนุญาตงานลิขสิทธิ์และสัญญามอบอำนาจ


มาตราที่ 24   ภายใต้บทบัญญัติในกฎหมายฉบับนี้ตามที่ซึ่งไม่ต้องการในการอนุญาต, บุคคลใดจะใช้ประโยชน์ในงานสร้างสรรโดยการกำหนดข้อตกลงที่ในสัญญาหรือในวัตถุประสงค์อื่นๆที่ได้รับในรูปแบบของการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

สัญญาการอนุญาต จะรวมทั้งข้อปลีกย่อยพื้นฐาน

    1    ประเภทของสิทธิ์ที่อนุญาตสำหรับใช้ประโยชน์ของงานได้กำหนดครอบคลุมโดยใบอนุญาต

    2    ความเป็นสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวหรือไม่แต่เพียงผู้เดียวโดยสาระของสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ของงานจะกำหนดในใบอนุญาต

    3    เขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และกำหนดเวลาของใบอนุญาต

    4    มาตรฐานของการตอบแทนและวิธีการชำระเงิน

    5    ในกรณีที่อยู่ในข่ายของการละเมิดต่อสัญญาและ

    6    เรื่องอื่นๆนั้นฝ่ายที่ทำสัญญาจะพิจารณาตามความจำเป็น


มาตราที่ 25   การมอบอำนาจของสิทธิ์ที่ได้อ้างอิงใมาตราที่ 10, ย่อหน้าที่ (5) ถึง (17) , ตามกฎหมายฉบับนี้จะแนะนำให้มีการร่างสัญญาร่วมกัน

สัญญามอบอำนาจจะรวมทั้งข้อปลีกย่อยพื้นฐาน

    1    ชื่อเรื่อง

    2    ประเภทและเขตพื้นที่ของการมอบอำนาจ

    3    ค่าอัตราการมอบอำนาจ

    4    วันที่และประเภทของการชำระของค่าอัตราการมอบอำนาจ

    5    กรณีที่อยู่ในข่ายของการละเมิดต่อสัญญาและ

    6    ในเรื่องอื่นๆที่ฝ่ายที่ทำสัญญาจะพิจารณาตามความจำเป็น

มาตราที่ 26   ฝ่ายอื่นๆจะต้องไม่, ปราศจากการอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์, ในการใช้สิทธิ์นั้นๆของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ไม่ได้ออกใบอนุญาตให้หรือมอบหมายในใบอนุญาตและสัญญามอบอำนาจ

มาตราที่ 27   มาตรฐานของค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ของงานควรกำหนดตายตัวโดยฝ่ายที่ได้ประโยชน์หรือควรจ่ายตามมาตรฐานที่ตั้งขึ้นโดย สำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ภายใต้สภาแห่งชาติในความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ซึ่งฝ่ายได้รับประโยชน์ไม่มีการกำหนดอัตราแน่นอน, ค่าตอบแทนควรจะจ่ายตามมาตรฐานโดยสำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ ภายใตสภาแห่งชาติในการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มาตราที่ 28   ผู้โฆษณา, นักแสดง, ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงและบันทึกภาพ, สถานีวิทยุ, สถานีโทรทัศน์และนิติบุคคลอื่นๆหรือซึ่งได้รับ, ตามความเกี่ยวข้องในบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้, สิทธิการใช้ประโยชน์ลิขสิทธิ์และอื่นๆ, จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายในสิทธิ์นักประพันธ์ของการประพันธ์, การเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ขาดความครบถ้วน, หรือสิทธิ์ในการรับค่าตอบแทนนั้น ๆ

 

บทที่ 4 การทำสำเนา,การแสดง, การบันทึกเสียง, การบันทึกภาพและ สถานีถ่ายทอด

หมวดที่ 1 การโฆษณาของหนังสือ, หนังสือพิมพ์และการพิมพ์เป็นครั้งคราว

มาตราที่ 29    หนังสือของผู้โฆษณาผู้ซึ่งโฆษณาหนังสือจะรวมทั้งสัญญาการโฆษณากับ, การจ่ายค่าตอบแทนถึงเจ้าของลิขสิทธิ์

มาตราที่ 30   เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการโฆษณาเผยแพร่งานที่ส่งมอบให้โดยเจ้าของลิขสิทธิ์สำหรับการโฆษณาเผยแพร่ สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการโฆษณาเผยแพร่งานที่ใช้โดยผู้โฆษณาเผยแพร่โดยเฉพาะพิเศษตามสัญญาที่จะคุ้มครองตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ไม่มีการโฆษณาโดยผู้อื่น

มาตราที่ 31 จ้าของลิขสิทธิ์จะส่งมอบงานภายในกำหนดเวลาโดยเฉพะที่ระบุในสัญญา ผู้โฆษณาเผยแพร่หนังสือจะโฆษณางานตามคุณสมบัติของสิทธิประโยชน์และภายในกำหนดเวลาที่ระบุเป็นพิเศษในสัญญา

ผู้โฆษณาหนังสือ จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งตามมาตราที่ 53 ของกฎหมายฉบับนี้ถ้าประสพความล้มเหลวในการโฆษณาภายในกำหนดเวลที่ระบุเป็นพิเศษในสัญญา

ผู้โฆษณาหนังสือจะแจ้งและจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เมื่องานได้มีการพิมพ์ซ้ำหรือโฆษณาเผยแพร่ ถ้าผู้เผยแพร่ปฏิเสขการพิมพ์ซ้ำหรือโฆษณษซ้ำของงานเมื่อสต๊อคของหนังสือได้หมดลง, เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ที่จะหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าว

มาตราที่ 32   ที่ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีการยืนยันรายการบทความของงานในหนังสือพิมพ์หรือการโฆษณาเผยแพร่การพิมพ์เป็นครั้งคราวสำหรับการโฆษณาเผยแพร่และไม่ได้รับ, ภายใน 15 วันจากผู้โฆษณาเผยแพร่หนังสือพิมพ์หรือภายใน 30 วันจากผู้โฆษณาเผยแพร่เป็นครั้งคราว, นับได้จากวันที่ยืนยันของรายการบทความ, การแจ้งใดๆของผู้พิจารณาโฆษณาเผยแพร่แก่งานเผยแพร่ เจ้าของลิขสิทธิ์ควรยืนยันรายการบทความของบางงานแก่หนังสือพิมพ์อื่นๆหรือผู้โฆษณาเผยแพร่เป็นครั้งคราวรายอื่นสำหรับการโฆษณาเผยแพร่, นอกเสียจากว่าทั้งสองฝ่ายได้มีข้อตกลงเป็นอื่น
ยกเว้นซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ประกาศให้การพิมพ์ซ้ำหรือข้อความที่ตัดตอนมาเป็นการไม่อนุญาต, หนังสือพิมพ์อื่นๆหรือผู้โฆษณาเผยแพร่เป็นครั้งคราวควรจะ ภายหลังการโฆษณาเผยแพร่ของงานโดยหนังสือพิมพ์หรือหนังสือเป็นครั้งคราว, การพิมพ์ซ้ำงานหรือพิมพ์บทคัดย่อของบทความหรือพิมพ์เป็นรายละเอียดอ้างอิง, แต่ในผู้โฆษณาเผยแพร่อื่นๆจะจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการแนะนำในระเบียบปฏิบัติ

มาตราที่ 33   ผู้โฆษณาหนังสือควรจะปรับเปลี่ยนหรือการคัดย่อของงานกับการอนุญาตของเจ้าของลิขสิทธิ์

หนังสือพิมพ์หรือหนังสือออกเป็นครั้งคราวควรทำการแก้ไขบทบรรณาธิการและบทคัดย่อในงาน, แต่จะไม่ทำการแก้ไขในเนื้อหาของงาน นอกเสียจากว่าได้รับการอนุญาตที่ได้รับจาก นักประพันธ์

มาตราที่ 34   เมื่อการโฆษณาเผยแพร่งานสร้างสรรโดยการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบ, การเรียบเรียงหรือรวบรวมของงานที่มีอยู่การหน้านี้, ผู้โฆษณาเผยแพร่จะมีทั้งรูปแบบของการอนุญาตและการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์ในงานลิขสิทธิ์ที่สร้างสรรโดยความหมายของการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบ, การเรียบเรียงหรือการรวบรวมและเป็นเจ้าของของงานลิขสิทธิ์ในงานต้นฉบับนั้น

มาตราที่ 35  ในผู้โฆษณาเผยแพร่มีสิทธิ์ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งในการใช้การเรียบเรียงพิมพ์ตัวอักษรของหนังสือหรือการออกหนังสือเป็นครั้งคราวที่มีการโฆษณาเผยแพร่

ในกำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ที่กำหนดสำหรับย่อหน้าที่เกิดขึ้นก่อนจะเป็นเวลาสิบปี, และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ สิบ ภายหลังการโฆษณาเผยแพร่ครั้งแรกของหนังสือหรือการออกเป็นครั้งคราวในการใช้ การเรียบเรียงอักษรตัวพิมพ์

หมวดที่ 2 การแสดง

มาตราที่ 36    นักแสดง(เป็นเอกเทศของนักแสดงหรือการแสดงนิติบุคคล)ผู้ซึ่งสำหรับการแสดงที่ได้ประโยชน์กับงานที่สร้างสรรโดยบุคคลอื่นจะได้รับรูปแบบการอนุญาตและจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่ เจ้าของงานลิขสิทธิ์ ที่ซึ่งการแสดงของผู้ที่ได้จัดทำขึ้นในการจัดให้มีการแสดง, ผู้ดำเนินการจัดให้มีขึ้นจะได้รับรูปแบบการอนุญาตและการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อการใช้ประโยชน์, สำหรับการแสดงงานที่สร้างสรรโดยการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบ, การเรียบเรียงหรือรวบรวมของงานที่มีมาก่อนหน้านี้, นักแสดงจะต้องมีทั้งรูปแบบการอนุญาตและการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรโดยความหมายของการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบ, การเรียบเรียงหรือรวบรวม, และเป็นเจ้าของของงานลิขสิทธิ์ในงานต้นฉบับ

มาตราที่ 37   นักแสดงจะ, มีความเกี่ยวเนื่องของการแสดง, การใช้สิทธิ์

    1   ที่จะเรียกร้องสิทธิคุ้มครองของนักแสดง

    2   ที่จะคุ้มครองภาพพจน์ที่เป็นเอกลักษ์ในการแสดงจากความผิดเพี้ยน

    3   ที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นๆในการถ่ายทอดสดและถ่ายทอดสู่สาธารณะของการแสดงและได้รับค่าตอบแทน,

    4   ที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นๆในการจัดทำสิ่งบันทึกเสียง, บันทึกภาพ, และได้รับค่าตอบแทนนั้น

    5   ที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นๆ ในการทำซ้ำหรือจำหน่ายจ่ายแจกสิ่งบันทึกเสียงและบันทึกภาพในการร่วมกันของนักแสดงและได้รับค่าตอบแทนนั้นและ

    6   ที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นๆในการสื่อสารคมนาคมการแสดงสู่สาธารณะในเครือข่ายอินเตอร์เนท , และได้รับค่าตอบแทนนั้น

บุคคลผู้ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ประโยชน์ของงานในการอ้างอิงตามย่อหน้าที่ (3) ถึง (6) จะได้รับการอนุญาตจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

มาตราที่ 38   กำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ที่กำหนดสำหรับในมาตราที่ 37 , ย่อหน้าที่ (1) และ(2), ของกฎหมายฉบับนี้จะไม่มีอำนาจในการจำกัดสิทธิ์อื่นๆ

กำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับสิทธิ์ที่กำหนดสำหรับในมาตราที่ 37 ,ย่อหน้าที่ (3) ถึง (6), ของกฎหมายฉบับนี้จะเป็นเวลา 50 ปีและสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 50 ภายหลังที่ได้จัดให้มีการแสดง

หมวดที่ 3

สิ่งบันทึกเสียงและสิ่งบันทึกภาพ

มาตราที่ 39   ผู้ผลิตในสิ่งบันทึกเสียงหรือสิ่งบันทึกภาพผู้ซึ่ง, ได้ทำการผลิตสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพ, การใช้ประโยชน์ใงานสร้างสรรโดยบุคคลอื่นๆ, จะต้องได้รับการอนุญาตจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพผู้ซึ่งใช้ประโยชน์ของงานสร้างสรรโดยการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบหรือการเรียบเรียงของงานที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ จะใช้ทั้งการได้รับอนุญาตและจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่จ้าของลิขสิทธิ์ ในงานสร้างสรรโดยการดัดแปลง, การแปล, การอธิบายประกอบหรือเรียบเรียงและแก่เจ้าของของงานลิขสิทธิ์ในงานต้นฉบับ

ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงผู้ซึ่งใช้ประโยชน์ในงานดนตรีของบุคคลอื่นในการกระทำอย่างถูกต้องในสิ่งบันทึกเสียงไปสู่การผลิตสิ่งบันทึกเสียง, ที่ไม่ได้รับการอนุญาต, แต่ต้องการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์จะเป็นการแนะนำโดยระเบียบปฏิบัติ, ดังเช่นงานที่จะไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่ซึ่งเจ้าของสิทธิ์ได้มีการประกาศให้การใช้ประโยชน์ดังกล่าวเป็นการไม่อนุญาต

มาตราที่ 40   เมื่อการผลิตสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพ, ผู้ผลิตหาข้อยุติโดยการจัดทำข้อตกลงในสัญญาการจ่ายค่าตอบแทนแก่นักแสดง

มาตราที่ 41   ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพจะมีสิทธิ์อนุญาตอื่นๆในการทำซ้ำ, จำหน่ายจ่ายแจก, การให้เช่าและการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะบนเครือข่ายอินเตอร์เนท ดังเช่นสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพและสิทธิ์ที่จะได้รับค่าตอบแทนนั้น กำหนดเวลาของการคุ้มครองของสิทธิ์จะมีระยะเวลา 50 ปี, และสิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 50 ภายหลังจากการบันทึกของผลิตภัณฑ์ครั้งแรก

บุคคลผู้ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตในการทำซ้ำ, การจำหน่ายจ่ายแจกและ การสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะบนเครือข่ายอินเตอร์เนท สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพจะได้รับการอนุญาตจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์และนักแสดงเป็นการนำเสนอโดยระเบียบปฏิบัติ

 

หมวดที่ 4

สถานีถ่ายทอดโดยสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์

มาตราที่ 42   สถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดงานที่ไม่ใช่การโฆษณา ที่สร้างสรรโดยบุคคลอื่นๆ, จะต้องได้รับการอนุญาตจากการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

สถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดการโฆษณาเผยแพร่งานที่สร้างสรรโดยบุคคลอื่นๆ,โดยบุคคลที่ไม่ต้องการอนุญาตแต่ต้องการจะจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

มาตราที่ 43   สถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดโฆษณาเผยแพร่สิ่งบันทึกเสียง ที่ไม่ต้องการการขออนุญาตจะต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์, ยกเว้นฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์จะมีข้อตกลงเป็นอื่น โดยเฉพาะตามระเบียบขั้นตอนในการปฏิบัติในเรื่องที่จะจัดตั้งโดยสภาแห่งชาติ

มาตราที่ 44   สถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์จะมีสิทธิ์ในการห้ามการกระทำที่ปราศจากการอนุญาตดังเช่น

    1   ที่จะถ่ายทอดซ้ำในการถ่ายทอดทางสถานวิทยุหรือโปรแกรมสถานีโทรทัศน์และ

    2   ที่จะบันทึกการถ่ายทอดสถานีวิทยุหรือโปรแกรมสถานีโทรทัศน์โดยสิ่งบันทึกเสียงหรือสัญญาณนำบันทึกภาพและการทำซ้ำสิ่งบันทึกเสียงหรือสัญญาณนำบันทึกภาพ

กำหนดเวลาของการคุ้มครองสำหรับอ้างอิงถึงสิทธิ์ในย่อหน้าก่อนหน้านี้จะเป็นเวลา 50 ปี, และสิ้นอายุวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ 50 ภายหลังจากโปรแกรมวิทยุหรือโทรทัศน์ได้ถ่ายทอดครั้งแรก

มาตราที่ 45   สถานีโทรทัศน์เป็นการถ่ายทอดงานภาพยนต์, งานสร้างสรรโดยความสามารถของการเลียนแบบวิธีการของการผลิตฟิล์มภาพยนต์หรืองานวีดีโอกราฟฟิค , สถานีเป็นการถ่ายทอดงานวีดีโอกราฟฟิคที่ผลิตโดยบุคคลอื่นจะต้องได้รับการอนุญาตและจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

 

บทที่ 5

ความรับผิดทางกฎหมายและมาตราการบังคับใช้

มาตราที่ 46   บุคคลผู้ซึ่งกระทำการโดยมีพฤติกรรมในการละเมิดจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งสำหรับการเยียวยาแก้ไขเป็นการระงับบทบาทในการละเมิด การกำจัดความพยายามของพฤติกรรมโดยการขอรับโทษหรือจ่ายค่าชดเชยสำหรับความเสียหาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

    1   การโฆษณาเผยแพร่งานโดยปราศจากการอนุญาตของเจ้าของลิขสิทธิ์

    2   การโฆษณาเผยแพร่งานของการประพันธ์ร่วมเป็นงานสร้างสรรแต่เพียงผู้เดียวของตนเอง, โดยปราศจากการอนุญาตของผู้ประพันธ์ร่วมอื่นๆ

    3   การมีชื่อของบุคคลอยู่ในการเชื่อมโยงกับงานสร้างสรรโดยบุคคลอื่น, ในการจัดลำดับที่ต้องการแสวงหาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและการได้มา, ที่ซึ่งบุคคลที่ไม่มีส่วนในการสร้างสรรงาน

    4   การผิดเพี้ยนหรือทำให้เสียความสมบูรณ์ ของงานสร้างสรรโดยผู้อื่น

    5   การคัดลอกงานของบุคคลอื่น

    6   การใช้ประโยชน์โดยการจัดนิทรรศการ, การผลิตฟิล์มหรือการทำเลียนแบบวิธีของการผลิตฟิล์ม, หรือโดยการดัดแปลง, การแปล, การประกาศ, หรือโดยความหมายอื่นๆ โดยปราศจากการอนุญาตของเจ้าของสิทธิ์, นอกเสียจากการกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    7   การใช้ประโยชน์ของงานสร้างสรรโดยบุคคลอื่นโดยปราศจากการจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามคำแนะนำในระเบียบปฏิบัติ

    8   การให้เช่างาน, สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพ, ที่ปราศจากการอนุญาตของเจ้าของลิขสิทธิ์ ของงานภาพยนต์, เป็นงานสร้างสรรโดยความสามารถของการเลียนแบบวิธีของการผลิตฟิล์ม, ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์, สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพหรือเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียง นอกเสียจากการกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    9   การใช้ประโยชน์ของงานเรียบเรียงพิมพ์ตัวอักษรของหนังสือโดยปราศจากการขออนุญาตจากผู้โฆษณา

   10  การถ่ายทอดสดของการแสดงหรือการสื่อสารคมนาคมการแสดงสดสู่สาธารณะ, หรือการบันทึกของการแสดงโดยปราศจากการอนุญาตของนักแสดงหรือ

   11   การกระทำอื่นๆของพฤติกรรมการละเมิดลิขสิทธิ์และในสิทธิ์อื่นและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในงานลิขสิทธิ์

มาตราที่ 47   บุคคลใดผู้ซึ่งกระทำการอื่นใดในการกระทำของการละเมิดจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งสำหรับการเยียวยาเป็นการระงับพฤติกรรมที่ละเมิด, ในการกำจัดความพยายามของพฤติกรรมดังกล่าว การขอรับผิดหรือการจ่ายค่าชดเชย ขึ้นอยู่กับในแต่ละกรณีและควร, เพิ่มเติม, ให้อยู่ในอำนาจของสำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ดังเช่นบทลงโทษเป็นการระงับพฤติกรรมการละเมิด, การยึดทรัพย์ ที่มีการกระทำที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย, การยึดทรัพย์และการทำลายสินค้าที่ละเมิดการทำซ้ำและตรวจสอบด้านภาษี, ที่ซึ่งกรณีเป็นการกระทำอย่างต่อเนื่อง, สำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ควรจะยึดทรัพย์และปัจจัย, เครื่องมือ, และอุปกรณ์หลักในการใช้สำหรับการกระทำละเมิดการทำซ้ำ, และถ้ามีพฤติกรรมองค์ประกอบทางคดีอาญา, ในการละเมิดก็จะฟ้องร้องดำเนินคดีให้รับโทษทางอาญา.

    1   การทำซ้ำ, การจำหน่ายจ่ายแจก, การแสดง, การนำเสนอ, การถ่ายทอด, การรวบรวมหรือการสื่อสารคมนาคมสู่

สาธารณะบนเครือข่ายอินเตอร์เนทโดยปราศจากการอนุญาตของนักแสดง, หรือนอกเสียจากการกำหนดให้เป็นอื่น

ในกฎหมายฉบับนี้

    2   การโฆษณาเผยแพร่หนังสือที่ซึ่งสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของการโฆษณาเผยแพร่สู่บุคคลอื่น,

    3   การทำซ้ำและการจำหน่ายจ่ายแจกของสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพของการแสดง, หรือการสื่อสารคมนาคมสู่สาธารณะของการแสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เนทโดยปราศจากการอนุญาตของนักแสดง, หรือนอกเสียจากว่าจะกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    4   การทำซ้ำและการจำหน่ายจ่ายแจกหรือการสื่อสารโทรคมนาคมสู่สาธารณะบนเครือข่ายอินเตอร์เนทของสิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพที่ผลิตโดยบุคคลอื่น, โดยปราศจากการอนุญาตของการผู้ผลิต, หรือนอกเสียจากว่าจะกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    5   การถ่ายทอดและการทำซ้ำของโปรแกรมวิทยุหรือโทรทัศน์ ที่ผลิตโดยสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ ที่ปราศจากการขออนุญาตของสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์, หรือนอกเสียจากว่าจะกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    6   โดยเจตนาที่จะใช้อุบายหรือการทำลายมาตราการทางเทคโนโลยีที่ยึดถือโดยเจ้าของสิทธิ์สำหรับการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์ข้างเคียงในงานนั้น, สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพโดยปราศจากการอนุญาตของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียง, หรือนอกเสียจากว่าจะกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้

    7   โดยเจตนาในการลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการบริหารสิทธิ์ทางอีเลคโทรนิคของงาน, สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพ, โดยปราศจากการขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียง, หรือนอกเสียจากว่าจะกำหนดให้เป็นอื่นในกฎหมายฉบับนี้หรือตามระเบียบปฏิบัติหรือ

    8   การผลิตหรือการจำหน่ายงานที่ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการทำเทียมเลียนแบบ


มาตราที่ 48   ที่ซึ่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์ข้างเคียงเป็นการละเมิด, ผู้ละเมิดจะต้องชดใช้สำหรับความเสียหายตามจริงแก่ผู้ถือสิทธิ์ , ที่ซึ่งตามที่เสียหายเป็นการยากในการคำนวณ, ความเสียหายจะเป็นการจ่ายบนพื้นฐานของการกระทำที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายของการละเมิด ทั้งหมดของความเสียหายจะรวมทั้งความเหมาะสมของการจ่ายค่าธรรมเนียม โดยผู้ถือสิทธิ์จะมีสิทธิ์ในการยับยั้งพฤติกรรมการละเมิด

ที่ซึ่งผู้ถือสิทธิ์เสียหายตามจริงหรือผู้ละเมิดได้กระทำการอันได้มาซึ่งทรัพย์สินที่มิชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถตรวจสอบได้, ศาลประชาชนจะตัดสินพิจารณาให้ชดใช้ค่าเสียหายไม่เกิน RMB 500,00 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีของการกระทำละเมิด

 

มาตราที่ 49   เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงผู้ซึ่งมีหลักฐานที่ชัดเจนที่จะตั้งบุคคลอื่นเป็นการกระทำหรือจะกระทำพฤติกรรมของการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น, ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้ไม่สามารถแก้ไขได้ในความเสียหายในสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและผลประโยชน์ถ้าเป็นพฤติกรรมที่ไม่หยุดโดยทันทีทันใด, ควรนำสู่ศาลประชาชนยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการของการกระทำที่เกี่ยวข้องและสำหรับการนำมาตรการสำหรับการอายัดทรัพย์สินก่อนการเริ่มต้นในขั้นตอนของกฎหมาย

บทบัญญัติของมาตรา 93 ถึง 96 และ 99 เป็นขั้นตอนในกฎหมายแพ่งของสาธารณะรัฐประชาชนจีนจะใช้ต่อเมื่อศาลประชาชนนำมาใช้ประโยชน์อ้างอิงในย่อหน้าถัดมา

มาตราที่ 50   สำหรับความมุ่งหมายของการยับยั้งพฤติกรรมการละเมิดและภายใต้กรณีที่ซึ่งอาจจะสูญเสียหลักฐานที่ชัดเจน หรือยากที่จะได้ความคืบหน้า, เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของสิทธิ์ข้างเคียงควรนำสู่ศาลประชาชนสำหรับหลักฐานที่ชัดเจนในการอายัดทรัพย์สินก่อนการดำเนินการริเริ่มตามขั้นตอนทางกฎหมาย

ศาลประชาชนจะทำการตัดสินภายใน 48 ชั่วโมงภายหลังการยอมรับการร้องขอใช้, มาตรการของการอายัดทรัพย์ จะนำมาใช้โดยปราศจากการล่าช้าถ้ามีความปราถนาที่จะดำเนินการ

ศาลประชาชนจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องกำหนดการค้ำประกัน, ถ้าหากภายหลังล้มเหลวในการดำเนินการ, ศาลจะนำกลับคืนให้
ที่ซึ่งการร้องขอล้มเหลวในการริเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายภายใน 15 วันภายหลังศาลประชาชนดำเนินการตามมาตรการของการอายัดทรัพย์, ภายหลังจะสิ้นสุดมาตรการของการอายัดทรัพย์

มาตราที่ 51   ศาลประชาชนจะรับฟังกรณีที่ควรยึดทรัพย์ ที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย ในการละเมิดการทำซ้ำและปัจจัยการใช้สำหรับการกระทำละเมิดของลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์ข้างเคียง

มาตราที่ 52   ผู้โฆษณาเผยแพร่หรือผู้ผลิตของการทำซ้ำผู้ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นการโฆษณาเผยแพร่หรือการผลิตที่มีการอนุญาต, ผู้จำหน่ายจ่ายแจกของการทำซ้ำหรือการให้เช่าของการทำซ้ำของงานภาพยนต์ เป็นงานสร้างสรรโดยความสามารถของการเลียนแบบวิธีการของการผลิตฟิล์ม, ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์, สิ่งบันทึกเสียงหรือบันทึกภาพผู้ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ว่าได้จำหน่ายจ่ายแจกหรือให้เช่าการทำซ้ำ โดยมาจากแหล่งที่ถูกกฎหมาย, จะต้องรับโทษทางกฎหมาย

มาตราที่ 53   ในฝ่ายผู้ซึ่งล้มเหลวที่จะทำให้สมบูรณ์ของข้อตกลงในสัญญา, หรือทำให้สมบูรณ์ในประเภทที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงตามสัญญา, จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งตามความเกี่ยวข้องของบทบัญญัติของหลักการทั่วไปของกฎหมายแพ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน, กฎหมายสัญญาของสาธารณรัฐประชาชนจีนและความเกี่ยวข้องอื่นๆของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ

มาตราที่ 54   ความขัดแย้งทางลิขสิทธิ์ควรยุติโดยการประณีประนอม, และควรยอมรับการตัดสินชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของงานลิขสิทธิ์คณะตัดสินชี้ขาดภายใต้การร่างข้อตกลงตัดสินชี้ขาดยุติลงระหว่างทั้งสองฝ่ายหรือภายใต้สาเหตุของการตัดสินชี้ขาดในสัญญา

ในแต่ละฝ่ายควรริเริ่มขั้นตอนโดยตรงในศาลประชาชนในส่วนที่ไม่มีการเขียนข้อตกลงการตัดสินชี้หรือในการที่ไม่มีการระบุเหตุการตัดสินชี้ขาดในสัญญา

มาตราที่ 55   ในแต่ละฝ่ายผู้ซึ่งไม่พอใจกับการดำเนินการในบทลงโทษควรริเริ่มเข้าสู่กระบวนการในศาลประชาชนภายใน 3 เดือนจากวันที่ได้รับสำนวนคำตัดสินลงโทษ ถ้าฝ่ายอื่นๆที่ไม่ได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายหรือไม่ทำให้เป็นผลตามคำตัดสินภายในเวลาที่กำหนด, สำนักงานกำกับดูแลลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องจะนำเข้าสู่ศาลประชาชน ในการบังคับคดี

 

บทที่ 6

ส่วนเพิมเติมของบทบัญญัติ

 

มาตราที่ 56   สำหรับความมุ่งหมายของกฎหมาย, กำหนดเวลา “zhuzuoquan” 2 เป็น “banquan” 2

มาตราที่ 57   “การโฆษณาเผยแพร่” อ้างอิงถึงมาตราที่ 2 ของกฎหมายฉบับนี้ในความหมาย การทำซ้ำและการจำหน่ายจ่ายแจกของงาน

มาตราที่ 58   ระเบียบปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองของซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และสิทธิ์ในการสื่อสารคมนาคมของเครือข่ายอินเตอร์เนทจะแยกส่วนจัดตั้งโดยสภาแห่งชาติ

มาตราที่ 59   สิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์, ผู้โฆษณาเผยแพร่, นักแสดง, ผู้ผลิตในสิ่งบันทึกเสียงและบันทึกภาพ, สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ เป็นการกำหนดสำหรับในกฎหมายฉบับนี้ ของกำหนดเวลาของการคุ้มครองโดยเฉพาะในกฎหมายฉบับนี้ ยังไม่สิ้นสุดของวันที่ของกฎหมายฉบับนี้ ได้บังคับใช้, จะคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้

การละเมิดของลิขสิทธิ์และสิทธิ์ข้างเคียงหรือการฝ่าฝืนละเมิดของสัญญาของลำดับการกระทำที่เข้าสู่อำนาจของกฎหมายจะมีข้อตกลงภายใต้ความเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบหรือนโยบายในการบังคับควบคุมที่เเมื่อการกระทำและพฤติกรรมที่เข้าข่าย

มาตราที่ 60   กฎหมายฉบับนี้จะเริ่มบังคับใช้เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 1991(2534)
----------------------------------

1 Quyi refers to such traditional art forms as ballad singing, story telling, comic dialogues, clapper talks and cross talks.

2 Zhuzuoquan corresponds to "author's right", but literally translated as "right in a work"; "banquan" is the literal translation of
"copyright".

 

 

          พรชัย  ศิรินุกูลชร 

         แปลและเรียบเรืยง  10/11/49

    go back


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.