เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


สมาัพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

กรณีการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ในห้องจัดเลี้ยงสถานประกอบการโรงแรมที่กำลังเป็นกรณีขัดแย้งกับผู้ประกอบการและสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย

                                                                                                               -1-

สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย(TOU)

Thai Organization of Copyright Users Confederation

72/18 ม.บางบัวทอง ม.4 ถ.บ้านกล้วย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110

โทรศัพท์ 081-4905263 , 02-9233523,แฟกซ์ 02-9232543 www.bangbuathong.org Email pornchai@bangbuathong.org

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หนังสือที่ 4-0550/9

วันที่ 28 พฤษภาคม 2550

    เรื่อง   การอ้างบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ในห้องจัดเลี้ยงสถานประกอบการโรงแรม

   เรียน   อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญานางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์

   สิ่งที่ส่งมาด้วย  สำเนาหนังสือร้องเรียนของสมาคมโรงแรมไทยถึงสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ที่ ธท 234/49-51 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2550

       สำเนาหนังสือแจ้งอ้างบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่เพลงของบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด  ที่ LW …../2550ลงวันที่ 21 มีนาคม    2550

       สำเนาเอกสารข้อมูลต่างประเทศ 2 แผ่น

   อ้างถึง หนังสือแจ้งบังคับจัดเก็บห้องจัดเลี้ยงในสถานประกอบการโรงแรม จากบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด

      ตามที่ได้มีหนังสือแจ้งจากบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ที่ส่งถึงผู้ประกอบการและสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย โดยได้อ้างบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่งานเพลงของบริษัทฯ ในห้องจัดเลี้ยงพร้อมกับแจ้งรายละเอียดมาตามที่ได้แนบสำเนามาด้วยนั้น

      สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การอ้างบังคับจัดเก็บดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ขัดแย้งต่อข้อเท็จจริง ขัดต่อกฎหมายและวัฒนธรรม ในประเด็นของการจัดงานเลี้ยงและจัดให้มีการบันเทิงในลักษณะของการเล่นดนตรีสดหรือขับร้องเพลง โดยเป็นกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม

       ข้อเท็จจริงในส่วนที่ทางสถานประกอบการโรงแรมได้จัดให้มีห้องงานเลี้ยงงานสังสรรค์งานบันเทิงต่างๆ ในทางปฏิบัติเป็นการให้เช่าสถานที่เพื่อทำกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งมีการทำสัญญาให้เช่าสถานที่อย่างถูกต้องในส่วนของงานจะเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพที่จะรับผิดชอบในการจัดการด้านความบันเทิง สถานประกอบการเป็นผู้ให้เช่าอุปกรณ์ในการจัดงานและบริการด้านอาหารและอำนวยความสะดวกเท่านั้น

      ในส่วนของการใช้งานเพลงของเจ้าภาพทีมีการขับร้องเพลงในงานเลี้ยงก็เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เช่าเอง ฉะนั้นการที่จะมาเรียกเก็บค่าตอบแทนจากการใช้งานเพลงต่อสถานประกอบการที่ให้เช่าจัดงานเลี้ยงจึงขัดต่อข้อเท็จจริงและกฎหมายอย่างชัดเจนอีกทั้งการจัดงานก็เป็นสิ่งไม่แน่นอนและเกิดขึ้นทุกวัน การเผยแพร่เพลงก็อาจจะไม่ใช่งานเพลงของบริษัทฯดังกล่าว อีกทั้งสถานประกอบการโรงแรมก็มีส่วนของห้องคาราโอเกะ หลายประเภทที่ได้จ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัทฯ อย่างถูกต้องอยู่แล้ว การที่มีการจัดเลี้ยงต่างๆเป็นการรวมตัวของคนกลุ่มใหญ่เป็นส่วนกลางก็มีส่วนในการส่งเสริมการนำเพลงของบริษัทฯ มาเผยแพร่ในสถานประกอบการคาราโอเกะภายในโรงแรมที่ได้จ่ายค่าตอบแทนการเผยแพร่แล้ว ซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง

 

-2-

        ในแง่ของสังคมการจัดงานเลี้ยงในโรงแรมก็ไม่ต่างจากการจัดงานเลี้ยงตามชนบททั่วไปหรือตามชุมชนทั่วไปซึ่งเป็นวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ แต่ในสังคมเมืองสถานที่จัดงานจะอยู่ในโรงแรมหรือภัตตาคารตามวิถีชีวิตของคนในเมือง ซึ่งเป็นสถานที่รวมตัวเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม และจัดงานเลี้ยงที่เกี่ยวข้องกับ จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ที่หล่อหลอมเอกลักษณ์ของสังคมไทย ที่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และในส่วนของกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็ได้มีบทบัญญัติและหลักการในการ “คุ้มครองสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่ด้วย” และการบังคับใช้ “กฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา จะต้องไม่มีอำนาจเหนือกว่าหรือขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศ” การจัดเก็บค่าตอบแทนในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์จะต้องให้การส่งเสริมวัฒนธรรมด้วย ซึ่งเป็นหลักการทางสากล

      จากการที่กฎหมายลิขสิทธิ์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่เริ่มต้นมาจากทวีปยุโรปนับเป็นสิ่งใหม่ที่บังคับใช้ไปพร้อมกับการปรับปรุงแก้ไขไปในเวลาเดียวกันเหตุเพราะมีผลกระทบในวงกว้างต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองและไม่มีขอบเขตที่ชัดเจนดังเช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศที่มีมาตรฐานใก้ลเคียงกันทั่วโลก การควบคุมด้านเจ้าของสิทธิ์โดยกฎหมายสากลได้มีการกำหนดมาตราที่มีข้อจำกัดและข้อยกเว้นในการคุ้มครองสิทธิ์ ในบางกรณีเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจใช้สิทธิ์จนเลยเถิดและกระทบผลประโยชน์ของสาธารณะ

     ดังเช่นในยุโรปที่ขณะนี้สถานะการณ์มีความตรึงเครียดเพราะเกิดจากการรุกคืบเข้าเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ในโรงแรมจนเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเช่นในประเทศสเปน ที่องค์กรจัดเก็บสเปน SGAE ได้เจรจากดดันให้ผู้ประกอบการโรงแรมส่งตัวแทนเข้าเจรจาและใช้เวลากว่า สองเดือนจึงได้มีพิธีลงนามในข้อตกลงร่วมกัน ในส่วนของผู้ประกอบการที่ไม่ยอมรับได้ฟ้องร้องต่อศาลในประเด็นที่อ้างว่า “โรงแรมเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ที่ไม่อยู่ในอำนาจการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้เพลง” และอีกสองเดือนต่อมาในภายหลังศาลสเปน ได้มีคำพิพากษาให้ ห้องพักโรงแรมและส่วนอื่นๆเช่น ภัตตาคาร คลับ ภายในบริเวณพื้นที่ของโรงแรม เป็นสถานที่ส่วนบุคคล (ไม่ใช่สาธารณะ) ที่ไม่อยู่ในอำนาจการจัดเก็บค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ทั้งการเผยแพร่เพลงและวีดีทัศน์ (in numerous other countries around the world that has defined guest rooms as a place of private residence and therefore not subject to public performance royalties.) และในสาธารณรัฐเชค เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการแก้กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ยกเลิกการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้เพลงในสถานประกอบการโรงแรม และกระแสร์ย้อนกลับดังกล่าวมีผลให้หลายประเทศเริ่มหันมาทบทวนกฎหมายลิขสิทธิ์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในส่วนขององค์กร CISAC ที่เป็นองค์กรจัดเก็บสากล ได้ดิ้นรนทุกวิถีทางที่ให้ประเทศต่างๆ ยกเลิกมาตราดังกล่าว แต่ไม่เป็นผล ภายหลังได้ประกาศให้สมาชิกยอมรับและให้ความเคารพต่อสถานประกอบการโรงแรมตามกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ

       หากจะย้อนกลับมาพิจารณาปัญหาการจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์เพลง ในประเทศไทยที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้คำอธิบายถึงการไม่มีอำนาจในทางกฎหมายที่จะดำเนินการใดๆให้เกิดผลในการแก้ไขปัญหา จึงได้มีการแก้ไข พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537 โดยกำหนดให้มีองค์กรจัดเก็บในร่างแก้ไข ตามที่ได้ดำเนินการไปแล้วและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น การกระทำใดๆที่เป็นผลกระทบเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บค่าตอบแทนจึงไม่ควรจะดำเนินการในขณะนี้ ควรจะรอให้มีการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บขึ้นมาก่อนจึงจะมีความชอบธรรมในทุกฝ่ายที่สามารถยอมรับได้

-3-

      จากข้อเท็จจริงของข้อมูลและเหตุผลดังที่ได้กราบเรียนท่านอธิบดีฯ ได้รับทราบ จึงใคร่ขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการโรงแรมและในทุกภาคส่วนที่ใช้งานเพลงลิขสิทธิ์ ที่มีการชำระค่าตอบแทนในการใช้อย่างถูกต้องตลอดมา โดยการแจ้งให้บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ได้พิจารณาทบทวนกรณีดังกล่าวอย่างรอบคอบ ในการดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาการละเมิดของกรณีดังกล่าว ที่อาจหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน

      สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย เป็นตัวแทนของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ที่มีสมาชิกองค์กรและส่วนบุคคลในทุกภาคส่วนของผู้เกี่ยวข้องในการใช้งานลิขสิทธิ์ทั้งผู้สร้างสรรค์และผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ มีนโยบายและหลักการที่ส่งเสริมให้สมาชิก ต้องเคารพสิทธิตามกฎหมายของผู้อื่นและใช้สินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นองค์กรที่มีจุดประสงค์ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาด้านลิขสิทธิ์และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการปัญหาโดยการหารือทำความเข้าใจกัน ในฐานะที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน

 

ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา

ขอให้ระงับการอ้างบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในห้องจัดเลี้ยงในสถานประกอบการที่เป็นกิจกรรมทางสังคม

ขอให้ระงับการแจ้งความและดำเนินคดีในข้อกล่าวหา “ละเมิดสิทธิ์เผยแพร่ลิขสิทธิ์” ในห้องจัดเลี้ยงในสถานประกอบการ

ขอให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯระงับพฤติกรรม ในการคุกคาม ข่มขู่ กดดันผู้ประกอบการในประเด็นดังกล่าว

ให้มีการเจรจาแก้ปัญหาร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เท่าทันต่อสถานะการณ์

       จึงกราบเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา

 

                                                                 ขอแสดงความนับถือ

                                       ลงชื่อ…………………………………………………………เลขาธิการฯ

                                                           (นายพรชัย ศิรินุกูลชร)

15/5/50

 

           ตามที่บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (อาร์เอส)ได้ส่งหนังสือเวียนไปถึงผู้ประกอบการโรงแรมฯทั่งประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออ้างจัดเก็บการจัดงานเลี้ยงในสถานประกอบการโรงแรม และได้มีการแจ้งความดำเนินคดีไปแล้วบางส่วน สมาคมโรงแรมไทย โดยนายกสมาคม นาย ชนินทธ์ โทณวณิก ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย นายพรฃัย ศิรินุกูลชร และจะได้มีการประชุมในวาระเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกให้กับทุกฝ่ายอย่างเร่งด่วนต่อไป.....

THAI HOTELS ASSOCIATION

203-209/3 Ratchadkmnoen Klang Avenue, Bowoniwet,Bangkok 10200,Thailand

Tel:02-281-9496 Fax (662)281-4188 Website:www.thaihotels.org Email:info@thaihotels.org

ที่ ธท 234/49-51

15  พฤษภาคม 2550

เรื่อง บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ได้มีหนังสืออ้างบังคับจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ห้องจัดเลี้ยงภายใน

สถานประกอบการโรงแรม

เรียน นายพรชัย ศิรินุกูลชร

เลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย

สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาเอกสารแจ้งเตือนให้ชำระค่าลิขสิทธิ์ ที่ LW 384/2550 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2550

             สืบเนื่องมาจากปัญหาที่ผู้ประกอบการโรงแรมและสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทยได้มีหนังสือร้องเรียนมาทางสมาคมโรงแรมไทย โดยร้องเรียนว่า ได้รับหนังสือแจ้งจากบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (ตามสำเนาที่แนบมาด้วย) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่เพลงของบริษัทดังกล่าว และขอให้สถานประกอบการห้องจัดเลี้ยงทำการชำระค่าเผยแพร่ ตามรายละเอียดที่ส่งมาด้วยนั้น ทางสมาคมฯได้พิจารณาและมีความเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือการที่สถานประกอบการโรงแรมได้จัดให้มีห้องจัดเลี้ยงและบันเทิง ภายในสถานประกอบการโรงแรมนั้น เป็นลักษณะที่เป็นการให้เช่าสถานที่เป็นครั้งคราวโดยผู้เช่าสถานที่มีสิทธิ์ในการดำเนินการในงานเลี้ยงและจัดการแสดงสิ่งบันเทิงในการจัดหาดนตรีหรือการละเล่นอื่นๆตามที่เจ้าภาพได้จัดให้มีขึ้นโดยที่ทางเจ้าภาพเป็นฝ่ายจัดหามาตามที่ได้ระบุในสัญญาการเช่าสถานที่ โดยมีการใช้บริการด้านอาหาร อุปกรณ์ต่างๆรวมทั้งการให้ความสดวกแก่ผู้มาใช้บริการเป็นหน้าที่ของสถานประกอบการเป็นผู้ดูแล และในส่วนของการนำเพลงต่างๆมาขับร้องหรือแสดงนั้นเป็นความรับผิดชอบของผู้เช่าทั้งสิ้น เจ้าของสถานประกอบการไม่มีส่วนรู้เห็นหรือรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งการนำเพลงมาเผยแพร่ก็ไม่แน่ว่าจะมีการนำเพลงของบริษัทดังกล่าวมาเผยแพร่ทุกครั้งที่มีการจัดงาน การจัดงานก็ไม่มีความแน่นอนของความถี่ในการเช่าสถานที่ ที่อาจจัดไม่กี่ครั้งในรอบเดือนซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนทางธุรกิจ แต่ทางบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ จำกัดยังยืนยันว่าต้องการบังคับจัดเก็บกับผู้ประกอบการแบบเหมาจ่ายเป็นปี ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สมาคมฯในฐานะที่เป็นสมาชิกและกรรมการ ของสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย และได้มีส่วนร่วมก่อตั้งสมาพันธ์ฯและได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของสมาพันธ์ฯอย่างใกล้ชิดตลอดมา จึงใคร่เรียนขอความเห็นจากสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิไทย ในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อความถูกต้องและเป็นธรรมในฐานะองค์กรตัวแทนผู้ใช้งานลิขสิทธิ์

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

นายชนินทธ์ โทณวณิก(นายกสมาคมโรงแรมไทย)

 

 

หนังสือแจ้งเตือนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในห้องจัดเลี้ยงภายในโรงแรม

ที่ LW 384 /2550 ฉบับแจ้งเตือนครั้งที่ 2

  21  มีนาคม 2550

  เรื่อง        ขอให้ชำระค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์

  เรียน       ท่านเจ้าของสถานประกอบ

  อ้างถึง    หนังสือขอให้ชำระค่าลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ lw 1361/2549 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2549

              ตามที่บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (TCC) ได้ทำการประชาสัมพันธ์ และจัดส่งหนังสือแจ้งเตือนให้สถานประกอบการโรงแรมของท่านทราบถึงการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการนำงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียง ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ประเภทสถานประกอบการโรงแรม และประเภทห้องจัดเลี้ยงตามโรงแรม ที่มีการแสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบมีดี้ฟายต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมห้องคาราโอเกะ) ด้วยบริษัทในฐานะเป็นผู้บริหารการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ทำซ้ำ สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน และเป็นองค์กรกลางจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง และงานโสตทัศนวัสดุ ในสิทธิทำซ้ำ และสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตามมาตรา 15 (1),(2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ อาทิเช่น บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือทั้งหมด รวมถึงผู้ประพันธ์เพลง ครูเพลงผู้มีชื่อเสียง ศิลปินแห่งชาติ รวมถึงค่ายเพลงต่างๆ ซึ่งครอบคลุมงานเพลงที่หลากหลายจำนวนกว่า 15,466 เพลง ความแจ้งแล้วนั้น

                บัดนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับสถานประกอบการโรงแรมทั่วประเทศ ที่ได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานอันมีลิขสิทธิ์ที่บริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เป็นตัวแทนในการจัดเก็บค่าตอบแทน หากสถานประกอบการโรงแรมของท่านได้ใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ขอให้ท่านเร่งดำเนินการขออนุญาตใช้งานอันมีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง โดยหากท่านมีข้อสงสัยประการใดโปรดดำเนินการติดต่อกลับมายัง บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 02-9388000 ต่อ 1307-9 และหากสถานประกอบการโรงแรมของท่านถูกดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด บริษัทฯขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง หากสถานประกอบการโรงแรมของท่านได้ดำเนินการขออนุญาตใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยถูกต้องแล้วต้องกราบขออภัยเป็นอย่างยิ่ง และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดี

ขอแสดงความนับถือ นายประเวช จิวัฒนาชวลิตกุล

ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด

เจ้าของเรื่อง; นายธนชล วิภพสุวรรณ ฝ่ายกฎหมาย 02-9388000 (1309)

 

(ได้รับเอกสารจากการประชุมสมาคมโรงแรม 9/5/50) 11/5/50

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร  ผู้จัดทำรายงาน

13/5/50

 

 

"สุทธิศักดิ์" บ.ทีซีซี  "กร้าว"  วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2550

** ต่อไปโรงแรมไหนที่ชอบแอบลักลอบเปิดเพลงค่ายต่าง ๆ ตามห้องจัดเลี้ยงโดยไม่จ่ายลิขสิทธิ์ ระวังให้ดี หลัง “สุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ” เอ็มดีฝ่ายกฎหมายและปราบปราม ค่ายอาร์เอส ประกาศกร้าวตั้งแต่ 1 ก.ค. นี้ เตรียมส่งขุนพลเอกซเรย์โรงแรมทั่วประเทศ โรงแรมไหนยังเป็นอีแอบชอบเปิด แต่ไม่ชอบจ่าย เจอดีแน่ เพราะผ่อนผันมาหลายปีแล้ว แต่ชอบทำตัวเป็นพวกดื้อเงียบ ทั้งที่เป็นกลุ่มที่รู้เรื่องลิขสิทธิ์อย่างดี **

ข่าว เดลินิวส์ 29/6/50

 

In brief :RS waives some copyright fees

RS will next month start to collect its copyright fee from 440 restaurants and hotels nationwide, to increase protection of its intellectual property right, according to the company's senior legal and copyright official, Sutthisak Prasatkarukarn.

But copyright fees for enterprises in the deep South will be waived for the rest of the year as a special concession.

Sutthisak said the company planned to increase intellectual-property awareness for its alliance business and people nationwide. The company copyright fee ranges between Bt10,000 and Bt25,000 per month.

Despite targeting an income of Bt200 million from copyright fees, the company expected only Bt130 million to Bt150 million because of the economic slow-down.

Nation news 29/6/50

นายชนินทธ์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า สมาคมได้ร่วมกับสมาคมภัตตาคารไทย  มีมติที่จะไม่เปิดเพลงของค่ายอาร์เอสในสถานประกอบการของสมาชิก เพื่อตอบโต้ที่ค่ายเพลงจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่ดนตรีในห้องจัดเลี้ยง ทั้งๆ ที่โรงแรมเป็นเพียงการให้บริการสถานที่เท่านั้น โดยที่ผู้เช่าห้องจัดเลี้ยงเป็นผู้จัดหาวงดนตรีมาบรรเลง

       "ขณะที่ปัจจุบันก็มีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในห้องอาหารและห้องคาราโอเกะอยู่แล้ว"

  • ศึกเก็บลิขสิทธิ์เพลงปะทุ ส.โรงแรมลุกต้านอาร์เอส 29 มิถุนายน 2550 02:34 น.

    ปัญหาเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงปะทุอีกรอบ สมาคมโรงแรมและสมาคมภัตตาคารออกโรงต้านค่ายอาร์เอส ปลุกพนักงานไม่ให้ซื้อสินค้า

    นายชนินทธ์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า สมาคมได้ร่วมกับสมาคมภัตตาคารไทย มีมติที่จะไม่เปิดเพลงของค่ายอาร์เอสในสถานประกอบการของสมาชิก เพื่อตอบโต้ที่ค่ายเพลงจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่ดนตรีในห้องจัดเลี้ยง ทั้งๆ ที่โรงแรมเป็นเพียงการให้บริการสถานที่เท่านั้น โดยที่ผู้เช่าห้องจัดเลี้ยงเป็นผู้จัดหาวงดนตรีมาบรรเลง ขณะที่ปัจจุบันก็มีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในห้องอาหารและห้องคาราโอเกะอยู่แล้ว

    อีกทั้งอาร์เอสยังมีองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์มากถึง 16 องค์กร ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการสับสน และยังมีปัญหาผู้แอบอ้างเป็นเจ้าของสิทธิมาจับกุม เรียกผลตอบแทนทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ

    "ได้เสนอให้พนักงานของสมาชิกทั้งสองสมาคมจำนวนรวมกันกว่า 1.2 ล้านราย เลิกซื้อสินค้าเพลงค่ายอาร์เอส และจะหาแนวทางต่อสู้ หากมีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรม โดยจะร่วมกับสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ยินยอมพร้อมจ่ายค่าลิขสิทธิ์มาโดยตลอด แต่ครั้งนี้เราเป็นฝ่ายถูกกระทำที่ไม่สามารถเรียกร้องสิ่งใดได้" นายชนินทธ์ กล่าว

    ข่าว คม ชัด ลึก 29/6/50

     

    1,000โรงแรมบอยคอตต์เพลงอาร์เอส
    29 มิถุนายน 2550 กองบรรณาธิการ

    นายชนินทธ์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย เปิดเผยว่า จากการที่ค่ายเพลงชื่อดังอย่างบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้มาขอจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่ดนตรีในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม โดยอ้างว่าการที่วงดนตรีต่อสายเข้าลำโพงของโรงแรมถือเป็นการเผยแพร่ ต้องมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์นั้น ทางสมาคมโรงแรมและภัตตาคารไทยมองว่าเป็นเหตุผลที่รับไม่ได้ เนื่องจากเป็นการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเข้ามาหาผลประโยชน์ เพราะที่ผ่านมาโรงแรมและภัตตาคารต่างๆ ก็ได้มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงให้กับค่ายเพลงทุกค่ายมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์การเผยแพร่ดนตรีผ่านเสียงตามสายในห้องโถงและห้องพัก การแสดงสดในห้องอาหารเมื่อมีนักร้องและวงดนตรีมาแสดง หรือการเสียค่าลิขสิทธิ์เพลงในห้องคาราโอเกะ ซึ่งการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวทางโรงแรมได้ยินยอมให้มีการจัดเก็บเสมอมา
    "อยากบอกอาร์เอสอย่านำช่องว่างทางกฎหมายมาหาประโยชน์ เพราะปัจจุบันธุรกิจโรงแรมก็แข่งขันกันลำบากอยู่แล้ว หากมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเราก็อยู่ไม่ได้ ตอนนี้ก็ได้แต่ให้อาร์เอสพิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าว แต่หากยังเป็นเช่นเดิมชาวโรงแรมกว่า 3,000 ราย และชาวภัตตาคารอีกกว่า 100,000 ราย มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะเลิกเผยแพร่ในห้องจัดเลี้ยง เช่น ไม่เปิดเพลง ไม่เล่นเพลง และไม่ซื้อเพลงของค่ายอาร์เอส เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้เรากำลังเดือดร้อน" นายชนินทธ์กล่าว
    นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า การที่อาร์เอสจะเข้ามาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในห้องจัดเลี้ยงนั้น จะส่งผลกระทบต่อร้านอาหารและภัตตาคารไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะร้านอาหารรายเล็กแบบไม่เกิน 20 โต๊ะ ต้องมาเสียค่าลิขสิทธิ์เดือนละ 20,000-50,000 บาท ในขณะที่ร้านอาหารที่เกิน 50 โต๊ะ จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เดือนละ 200,000-500,000 บาท ซึ่งบางร้านเสียค่าลิขสิทธิ์สูงถึง 1 ล้านบาท.

    ไทยโพสต์ 29/6/50

    ส.โรงแรมสุดทนลิขสิทธิ์งานเพลง

    ใช้ช่องโหว่รีดเงินเอกชน อาร์เอสเมิน รร.บอยคอต

    ผู้จัดการรายวัน-สมาคมโรงแรม ช่องโหว่กฎหมายส่งผลเจ้าของงานเพลงและดนตรีรุมทึ้งหารายได้เข้ากระเป๋า จนโรงแรมรายเล็กบักโกรก ระบุภาครัฐเมินแก้ปัญหา ยังมาหวังใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นฟันเฟืองหารายได้ ล่าสุดประกาศโรงแรมเขตปลอดอาร์เอสพร้อมเตรียมพิจารณาส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเร็วๆนี้ ด้านอาร์เอส ยันเปิด เพลงห้องจัดเลี้ยงเป็นธุรกิจที่ต้องจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

    นายชนินทธ์ โทณวณิก นายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) และสมาชิกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(สลทท.)หรือเฟสต้า เปิดเผยว่าปัจจุบันภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้มีการเคลื่อนไหวเข้ามาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในส่วนของค่ายเพลงซึ่งโรงแรมจะเป็นกิจการหนึ่งที่ถูกจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเรื่องของการเผยแพร่ดนตรีในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจโรงแรม ห้องอาหารและภัตตาคาร ได้ถูกปัญหาด้านการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์รบกวนอยู่ตลอดเวลา และเพิ่มขึ้นจำนวนมากขึ้น

    ล่าสุด ค่ายเพลงของบริษัท อาร์เอส จำกัด(มหาชน) ได้ยื่นขอเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงที่อยู่ในสังกัดของค่ายอาร์เอส หากมีการนำไปเปิดหรือเล่น ในห้องจัดเลี้ยง และล้อบบี้ของโรงแรมโดยคิดจากตารางเมตรตามพื้นที่ ซึ่งสมาคมมองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และเห็นว่าบริษัท อาร์เอส ใช้ช่องกฎหมายทำเกินกว่าเหตุ เพราะอย่างงานเลี้ยงจัดเลี้ยงโรงแรมจะเป็นผู้ให้เช่าสถานที่พร้อมให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนเพลงหรือดนตรี เป็นความประสงค์ของผู้จัดงานไม่เกี่ยวกับโรงแรม ขณะเดียวกันน่าจะมองว่าการเปิดเพลงถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้แก่เพลงนั้นๆด้วย

    เขตปลอดอาร์เอส

    ซึ่งครั้งนี้ใม่ใช่ครั้งแรก ที่กลุ่มผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากการเก็บค่าลิขสิทธิ์ด้านงานเพลงและดนตรีจึงได้หารือกันในนามเฟสต้าประกอบด้วย 5สมาคมหลักคือ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และผจญภัย สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว และอีกหนึ่งสมาคมคือ สมาคมภัตตาคารไทย จึงลงความเห็นว่าต้องรวมตัวกันเพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องและการกระทำเกินไป ในการเก็บค่าลิขสิทธิ์จึงขอรวมตัวประกาศว่าจะไม่นำงานเพลงจากค่าอาร์เอส มาเปิดที่โรงแรมหรือภัตตาคารอีกต่อไป

    “ปัจจุบันอัตราค่าลิขสิทธิ์เพลงที่ร้านอาหารและโรงแรมต้องเสียให้แก่ค่ายเพลง เป็นเงินจำนวนมาก ได้แก่ ร้านขนาด 20 โต๊ะจะเสียประมาณ 2 หมื่นบาทต่อปี ส่วนห้องคาราโอเกะในโรงแรม ก็จะเสียมากกว่านั้น ซึ่งปัจจุบันโรงแรมทั่วประเทศมีมากกว่า 3 พันแห่ง ส่วนร้านอาหารก็มีมากกว่า 2 แสนร้านอาหารทั่วประเทศซึ่งตรงนี้เรารับได้เพราะถือเป็นการตอบแทนภูมิปัญญาของผู้แต่งเพลงและดนตรี รวมถึงค่ายเพลงเพราะเรานำเพลงเขาไปทำเชิงพาณิชย์จริง แต่หากเปิดในงานเลี้ยงเรามองว่าไม่แฟร์และทำเกินไป จึงต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน”

    กว่า 16 องค์กรรุมทึ้งรายได้

    ที่ผ่านมาเคยส่งหนังสือร้องเรียนถึงภาครัฐหลายครั้งในหลายรัฐบาล ซึ่งทุกครั้งได้รับคำตอบว่าจะเร่งพิจารณาให้ แต่ก็เงียบหายทุกที ทางสมาคมจึงต้องรวมตัวกันแล้วประกาศจุดยืนที่ชัดเจนในวันนี้ เพราะปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรมากที่สุดในโลก เพราะในต่างประเทศเขามีเพียง 3-4 องค์กรเท่านั้นและที่สำคัญปัจจุบันธุรกิจโรงแรมที่พัก ได้รับผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีลูกค้าลดจำนวนลง แล้วยังต้องมาแบกภาระค่าใช้จ่ายที่มาจากสารพัดรอบด้าน ธุรกิจนี้เป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการไม่ดีแต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น เขาก็อยู่ไม่ได้ ทั้งที่รัฐบาลต้องการภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นตัวจักรในการนำรายได้เข้าประเทศ แต่กลับไม่ให้ความสนใจในการดูแลแก้ไขปัญหา

    อย่างไรก็ตามสถานการณ์ธุรกิจโรงแรมปีนี้แย่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดย5 เดือนแรก อัตราเข้าพักรวมทั่วประเทศเฉลี่ยลดลงราว 10-20 % โดยเฉพาะโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครเนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้โรงแรมในประเทศไทยไม่สามารถปรับขึ้นราคาได้ ทำให้มีราคาห้องพักถูกที่สุดในเอเซียแปซิฟิก โดยเวียตนามและสิงคโปร์ปรับราคาห้องพักขึ้นได้ 20%-30% ขณะที่มาเลเซีย ยังสามารถปรับค่าที่พักขึ้นได้ 10%

    นายชนินทธ์กล่าวอีกว่า ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยได้ให้สัมปทาน เอกชน 20 บริษัทให้เข้ามาตรวจสอบระบบความปลอดภัยภายในโรงแรมและอาคารขนาดใหญ่พื้นที่มากกว่า 5000 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ปัจจุบันโรงแรมทั่วประเทศไทยมีจำนวนห้องพักทั้งสิ้นกว่า 3 แสนห้อง ซึ่งการตรวจสอบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทผู้ตรวจห้องละ 1000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 300 ล้านบาทที่อุตสาหกรรมนี้ต้องเสียไป ทั้งที่ปกติก็มีการตรวจสอบเรื่องระบบความปลอดภัยของอาคารจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้วเป็นประจำทุกปี

    ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนและซ้ำเติมผู้ประกอบการโรงแรม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นรายเล็ก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เฟสต้าอยู่ระหว่างการดูสถานการณ์ และตรวจสอบข้อมูลก่อนที่จะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ช่วยแก้ไขปัญหาในเร็วๆนี้

    ไม่สนกลุ่ม รร.บอยคอตอาร์เอส

    นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในหลักการแล้วผู้ที่นำเพลงของบริษัทฯไปใช้ในแง่ธุรกิจก็สมควรที่จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัทฯในฐานะที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากไม่ใช้ก็ไม่ต้องจ่ายก็ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องยุติธรรม ซึ่งในส่วนของห้องคาราโอเกะนั้นไม่มีปัญหา บริษัทฯจัดเก็บอยู่แล้ว ส่วนการเปิดเพลงในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรมนั้นสุดท้ายมันก็คือธุรกิจที่เราจะต้องจัดเก็บเพิ่มเติม

     

    ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 27 ฉบับที่ 2,229 วันที่ 24 มิถุนายน 2550

    ลิขสิทธิ์เพลงเชื้อประทุ ผนึกสมาคมภัตตาคารบอยคอตต์ "เฮียฮ้อ"/อ้าง "อากู๋" ยังไม่เก็บเงินเลย600 โรงแรม แตกหักอาร์เอส

    600 โรงแรมไทยบอยคอตต์เปิดเพลงค่ายเพลงอาร์เอส พร้อมติดสติกเกอร์ "โน อาร์เอส" ตอบโต้เรียกเก็บค่าลิขสิิทธิ์เพลงในห้องจัดเลี้ยงผนึกสมาคมภัตตาคารสู้ยิบตาพร้อมตั้งองค์กรกลางทำหน้าที่เก็บลิขสิทธิ์ อาร์เอสขู่จะดำเนินการตาม ก.ม.ทันที เล็งเก็บลิขสิทธิ์อื่นเพิ่มหากนำเพลงไปต่อยอดธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    เมื่อค่ายเพลงยักษ์ อาร์เอส เผชิญหน้ากับทางสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย สืบเนื่องจากผลประโยชน์ลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์อ้างความสามารถของโรงแรม หรือร้านอาหาร สามารถบวกเพิ่มเข้าในค่าบริการได้พร้อมกันนั้นบริษัทได้มีหนังสือแจ้งเตือนและเพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ

    600 รร. “โน อาร์เอส” นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ฝ่ายกฎหมายสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอสเอ) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าทางสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย า(สสทท.) จะรวมตัวกันแถลงข่าวร่วมกันในวันที่ 28 มิถุนายน นี้ เพื่อประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อกรณีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่ล่าสุดได้ทยอยส่งหนังสือไปตามโรงแรมต่างๆ รวมกว่า 30 แห่ง เพื่อขอเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในส่วนของห้องจัดเลี้ยงของโรงแรม ทั้งๆที่ปกติโรงแรมต่างๆ จะจ่ายลิขสิทธิ์ให้อยู่แล้วหากนำเพลงมาใช้ทำการค้า ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงในทุกห้อง ตั้งแต่ห้องโถงกลาง ห้องอาหาร ห้องคาราโอเกะ โดยใช้วิธีเหมาจ่ายในแต่ละส่วนไป

    “การเรียกเก็บดังกล่าวหากโรงแรมต่างๆยอมจ่าย จะเกิดปัญหาการจัดเรียกเก็บแบบไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้สมาชิกของสมาคมโรงแรมไทยจำนวน 600 โรงแรมทั่วประเทศไทยได้ร่วมลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าจะบอยคอตต์การเปิดเพลงค่ายอาร์เอสในทุกส่วนของโรงแรมยกเว้น คาราโอเกะ และภัตตาคารที่มีคนไทยเป็นลูกค้า พร้อมทั้งมีการติดสติกเกอร์ “โน อาร์เอส” รวมทั้งภายในห้องจัดเลี้ยงจะมีการเขียนข้อความว่าโรงแรมไม่มีลิขสิทธิ์และไม่รับผิดชอบในการเล่นเพลงอาร์เอสให้แก่ลูกค้าได้รับทราบด้วย”

    อ้าง “แกรมมี่ไม่เห็นเก็บ” ทั้งนี้การที่โรงแรมต่างๆตัดสินใจบอยคอตต์ ไม่ใช่มีวัตถุประสงค์ไม่จ่ายค่าลิขสิทธิ์แต่ต้องการจ่ายลิขสิทธิ์แบบเป็นธรรม เพราะทุกวันนี้ก็จ่ายอย่างเต็มที่อยู่แล้ว อย่างโรงแรมระดับ 5 ดาวบางแห่งต้องเสียค่าลิขสิทธิ์มูลค่านับแสนบาทต่อปี โรงแรมต่างก็ยอมรับได้เพราะเมื่อใช้ก็ต้องจ่าย เพราะถือว่าการเปิดเพลงในห้องอาหารและคาราโอเกะ ก็ถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้าของโรงแรม แต่ไม่ใช่อยู่ดีๆก็มาบอกว่าจะเก็บลิขสิทธิ์ในห้องจัดเลี้ยงเพิ่มอีก ซึ่งการนำเพลงมาใช้ในห้องจัดเลี้ยง บางส่วนก็เป็นเพราะลูกค้านำมาใช้ แต่จะให้โรงแรมต้องมารับผิดชอบในการจ่ายลิขสิทธิ์

    อีกทั้งทางสมาคมได้สอบถามค่ายเพลงรายใหญ่อย่าง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ว่าจะเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงในส่วนของห้องจัดเลี้ยงหรือไม่ เขาบอกไม่เก็บ เพราะมันยุบยับเกินไป แต่อาร์เอสยืนยันว่าจะเก็บ ทำให้โรงแรมต่างๆรับไม่ได้ ซึ่งจริงๆโรงแรมใหญ่ระดับ 5 ดาวก็ไม่ได้รับผลกระทบเท่าไหร่ต่อการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงของค่ายอาร์เอสในส่วนของห้องจัดเลี้ยง เพราะก็ไม่ได้ใช้เพลงไทยเท่าไหร่ เนื่องจากลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติแต่โรงแรมที่มีลูกค้าหลักเป็นคนไทยก็จะมีผลกระทบ แต่เพื่อให้เกิดเป็นเสียงเดียวกันในการบอยคอตต์เพลงค่ายอาร์เอส ในส่วนของห้องจัดเลี้ยงในโรงแรมต่างๆกว่า 600 แห่งจึงมีโรงแรมตั้งแต่ 2 ดาว-5 ดาวร่วมด้วย

    ดันตั้งองค์กรกลางเก็บลิขสิทธิ์ พร้อมกันนี้ในวันแถลงจุดยืนการบอยคอตต์ค่ายเพลงดังกล่าว สมาคมโรงแรมไทยก็จะมีการเชิญนายกสมาคมโรงแรมไทยจากภาคต่างๆมาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ รวมทั้งดึงสมาคมภัตตาคารไทย มานำเสนอถึงปัญหาราคาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมด้วย เนื่องจากร้านอาหารที่เป็นสมาชิกของสมาคมภัตตาคารไทย ก็มีปัญหากับค่ายเพลงอาร์เอส ในเรื่องของการต่ออายุสัญญาลิขสิทธิ์เพลง ที่มีการขอจัดเก็บเพิ่มอีก 16% และในระหว่างการเจรจายังถูกห้ามไม่ให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงด้วย

    นอกจากนี้ยังจะมีการเรียกร้องถึงปัญหาของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ที่ไม่เป็นธรรมซึ่งทาง สสทท.และสมาคมภัตตาคารไทย จะผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แก้ไข ก.ม. ดังกล่าวโดยจะขอให้มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพียงองค์กรเดียวเพราะทุกวันนี้มีการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมด 16 องค์กร อาทิบริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด, บริษัท มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์,บริษัท โฟร์เอส สตูดิโอ จำกัด,ห้างหุ้นส่วนจำกัดลิขสิทธิ์สุรพล,บริษัท เอ็มเอ็น จำกัด,บริษัทสหพันธ์ลิขสิทธิ์เพลงไทย จำกัด,บริษัท ลิขสิทธิ์เพลง จำกัด, เป็นต้น ซึ่งต่างคนต่างเก็บค่าลิขสิทธิ์ทำให้เกิดความวุ่นวายแก่ผู้ประกอบการมาก

    ดังนั้นจึงต้องการให้มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบครั้งเดียวจบ รวมทั้งยังต้องการให้มีการเก็บค่าลิขสิทธิ์ในราคาที่เป็นธรรมไม่ใช่ว่าพอหมดสัญญา อยากจะขึ้นค่าลิขสิทธิ์ก็ขึ้นได้ตามใจชอบและไม่สามารต่อรองได้ เพราะค่ายเพลงถือว่ามีกฎหมายอยู่ในมือ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆก็ไม่ไหว เพราะไม่รู้ว่าต่อไปจะมีการเพิ่มการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในส่วนใดตามมาอีกรวมทั้งขอให้มีการแก้ไขบทลงโทษใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ด้วย โดยขอให้ลงโทษตามบทลงโทษของ ก.ม.แพ่ง แทนอาญา เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องการค้าไม่ใช่คดีอาญา นายสัมพันธ์ กล่าวในที่สุด

    แจ้งลูกค้าไม่เปิดเพลงอาร์เอส ด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ)กล่าวว่าขณะนี้สมาชิกของทีเอชเอ ได้ร้องเรียนเข้ามาจำนวนมากถึงกรณีที่ บมจ.อาร์เอส ได้เรียกเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์เพลงในส่วนของห้องจัดเลี้ยงในโรงแรมทั้งที่ปกติโรงแรมก็ได้มีการเหมาจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพลงให้กับบริษัทเป็นรายปีอยู่แล้ว ซึ่งสมาคมมองว่าเป็นการเอาเปรียบโรงแรมมากเกินไปและถ้าวันนี้อาร์เอสเก็บได้ต่อไปค่ายอื่นก็คงจะเก็บตาม โดยจะเก็บห้องจัดเลี้ยงเพิ่มอีกปีละหมื่นกว่าบาท จากยอดเดิมที่จ่ายอยู่แล้ว ทำให้ ทีเอชเอ จึงได้แจ้งแก่โรงแรมสมาชิกว่าต่อไปนี้ถ้ามีการจัดงานในส่วนของห้องจัดเลี้ยงโรงแรมต้องชี้แจงลูกค้าว่าไม่มีการเล่นเพลงของค่ายอาร์เอสและอาจมีการเซ็นสัญญาระหว่างโรงแรมกับลูกค้าด้วยว่าจะไม่รับผิดชอบหากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น

    สมาคมภัตตาคารร่วมถล่มด้วย นางปวรวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมได้ต่อสู้เรื่องความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลงมาโดยตลอด เมื่อ 2 ปีก่อนก็เป็นเรื่องของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของแกรมมี่ แต่ทุกอย่างก็ตกลงกันได้ไม่มีปัญหาอะไรตามมาส่วนการที่สมาคมเข้ามาร่วมคัดคัานในครั้งนี้ร่วมกับทาง สสทท. เพราะในช่วงหลังสมาคมโรงแรมฯสมาคมเชฟและสมาคมภัตตาคารทำงานใกล้ชิดกันมาก และมีการแลกเปลี่ยนถึงปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง

    สมาคมจึงได้ร่วมใช้เวทีการแถลงข่าวของ สสทท.เพื่อนำเสนอถึงปัญหาราคาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมที่สมาชิกของสมาคมภัตตาคารไทยได้รับผลกระทบมาโดยตลอด เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องของการจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพียงองค์กรเดียวเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บลิขสิทธิ์ พราะตอนนี้มีมากมายหลายองค์กรและต่อไปก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกหลายองค์กรตามมา

    อาร์เอส เสียงแข็ง ขณะที่นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด (ทีซีซี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครืออาร์เอส เผยว่า การที่โรงแรมใช้เพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของอาร์เอสในการต่อยอดทางธุรกิจมีผลประโยชน์ทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทได้ประชาสัมพันธ์ไปยัง 400 โรงแรมเป้าหมายตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ว่าในปีนี้บริษัทในฐานะผู้ดูแลการจัดเก็บลิขสิทธิ์ อาทิเช่น บมจ.อาร์เอส และบริษัทในเครือทั้งหมด รวมถึงผู้ประพันธ์เพลง ครูเพลงที่มีชื่อเสียง ศิลปินแห่งชาติ รวมถึงค่ายเพลงต่างๆ ซึ่งครอบคลุมงานเพลงกว่า 15,466 เพลง จะขอเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ในห้องจัดเลี้ยงของโรงแรมที่มีการแสดงสดหรือใช้งานดนตรีกรรมในรูปแบบมิดี้ฟายต่างๆ รวมถึงงานดนตรีกรรมผ่านสิ่งบันทึกเสียง (ไม่รวมห้องคาราโอเกะ)

    โดยกำหนดเป้าหมายในการเก็บค่าลิขสิทธิ์ส่วนนี้ประมาณ 4 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีผู้ประกอบการบางส่วนได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์และมีผู้ประกอบการบางส่วนที่ปฏิเสขการใช้งาน และยอมรับว่าก่อนหน้านี้สมาคมโรงแรมไทยและกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เข้ามาเจรจาขอผ่อนผันไปแล้ว พร้อมทั้งในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ที่ผ่านมา บริษัทจึงได้จัดโปรโมชั่นสำหรับผู้ประกอบการที่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในช่วงระหว่างเดือนดดดังกล่าวอาทิ หากชำระค่าลิขสิทธิ์ระยะยาวจะมีส่วนลดสูงสุด 30% จากการขอเรียกเก็บปกติ ทึ่คิดราคาลิขสิทธิ์เพลงในห้องจัดเลี้ยงเริ่มต้นตั้งแต่ห้องจัดเลี้ยงจำนวน 1-3 ห้องราคา 1 หมื่นบาทและสูงสุด 2.5 หมื่นบาทต่อปี ขณะที่ห้องคาราโอเกะราคา 700 บาทต่อห้องต่อเดือน ห้องอาหารขนาด 50 ที่นั่ง ราคา 4 พันบาท ขนาด 100 ที่นั่ง ราคา 5 พันบาท และขนาด 100 ที่นั่งขึ้นไปราคา 6 พันบาทเป็นต้น

    อย่างไรก็ตามหากจะมีการบอยคอตต์กันไม่เปิดเพลงอาร์เอสในโรงแรมก็ไม่มีปัญหาอะไรหากไม่ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย ซึ่งช่วงแรกผมเข้าใจว่าอาจจะทิฐิบ้างเล็กน้อยเพราะไม่เคยจ่ายมาก่อน แต่บริษัทยืนยันว่านับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไปหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ บริษัทจะดำเนินคดีแจ้งความร้องทุกข์ทันที โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1-8 แสนบาท แต่สำหรับผู้ที่ไม่รู้อาจจะมีการเจรจาผ่อนผันได้

    นอกจากนี้ในอนาคตหากโรงแรมยังมีช่องทางที่จะนำเพลง ภาพยนต์และอื่นๆ อาทิลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลที่เป็นลิขสิทธิ์ของอาร์เอสและสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจของโรงแรมได้ บริษัทก็มีความจำเป็นจะต้องเก็บค่าลิขสิทธิ์อื่นๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน นายสุทธิศักดิ์กล่าวในที่สุด

  • copyright data update of hotel conflicting  in collective

     

    SGAE Signs Record Agreement with Hotel Sector

    Spanish society SGAE is celebrating its agreement with representatives of the country's hotel sector, who have agreed to a series of rules and regulations governing the latter's use of the SGAE repertoire. The contract, which is the result of two months of negotiations with ZONTUR and FEH, took effect July 1st and is valid through December 31, 2008. It covers 95% of Spain's hotel sector and roughly 6,000 individual establishments. Under the agreement, hotels pay a single tariff based on such factors as the hotel's category type and degree of repertoire use, as well as royalties applicable to the use of on-demand videos or pay-per-view. The agreement also includes the use of works during special hotel functions such as weddings, receptions.

    The agreement marks quite an accomplishment for the Spanish society: just two months ago a judge ruled that hotel rooms could be considered private spaces, and thus were exempt from royalty payments involving the use of music or TV.

     

    Pornchai Sirinukulchol

    24/5/50

    ECJ:”Hotel Rooms are Public”

    The European court of Justice clarified the answer to this question in December 2006 when it delivered a favourable judgement to SGAE in its case against the Spanish hotel group Rafael Hoteles SA. The ECJ ruled that the use of television sets and the playing of ambient music within the hotels’ premises constituted acts of public communication, and therefore the hotels must pay royalties to SGAE.

    The decision covered common areas of the hotel as well as guest rooms, which contradicts legislation in numerous other countries around the world that has defined guest rooms as a place of private residence and therefore not subjects to public performance royalties. This important precedent is a major step towards achieving strong legal protection for authors in the hospitality industry and reaffirms their right to receive adequate strong compensation for the use of their works.

    The ruling will certainly have repercussion in the Czech Republic as their recently amended Copyright Law contains an exception that allows hotel guests to listen to music and view films in hotel rooms even though the hotel is not required to compensate creators or publishers. CISAC ,in collaboration with GESAC and CIEM, has been pushing for the removal of this clause since its promulgation in February 2005 and will refer to the ECJ decision to strengthen its case.

    The public/private debate is a major issue for rights holders on every continent. It touches on many other grey areas that authors’ societies must address with regards to hotel operators such as cable transmission, pay channels, or the use of copyright works by third parties in hotel conference rooms or separately-owned business (restaurant, clubs) located on hotel premises.

     

    Pornchai  Sirinukulchol 28/5/50

     

    CISAC Expresses Concern over Reform of Spanish Intellectual Property Law to Minister of Culture

    In the name of the 210 authors' societies in 109 countries and 2.5 million creators it represents, CISAC expressed its concern to the Spanish Minister of Culture, Mrs Doña Carmen Calvo Poyato, over the reform of the Intellectual Property Law in Spain. Certain amendments to the Bill on Intellectual Property, which is currently before the Upper Chamber of the Spanish Parliament after having been approved by the House of Representatives, constitute a real threat to authors' rights as established by the Spanish IP Law currently in effect. In addition, the reform would be a radical u-turn in current Spanish cultural policy. The consequences of these amendments would be: (1) increased vulnerability of audiovisual creators, (2) inadequate remuneration for authors for the private copying of their works, and (3) arbitrary tariff setting by the Government for authors' rights in the event of a disagreement with a third party.

     

    Far from protecting the interests of authors and artists, the reform risks fragmenting rights and generating conflicts between authors and users of creative works. If approved in its present form, the legislation would mean a loss for authors' economic rights estimated by the Spanish authors' society SGAE at over 80 million Euros per year. CISAC urges that the amendments be rejected and that a solution is found whereby creators' rights are fully restored

     

    CISAC is most concerned with one amendment to the Bill which discriminates against audiovisual authors (directors, scriptwriters and music composers) by eliminating remuneration for the on-line exploitation of their works while establishing such right for actors and performers. Such an amendment would be contrary to international treaties to which Spain is a party, in particular the Berne Convention.

    With regard to private copying, the current wording of the Bill provides for remuneration to apply only to copies made from "a source lawfully acquired for private use". This phrasing would NOT protect or remunerate authors for the private copying of their works as it would exclude, inter alia, remuneration for copies made from TV and radio broadcasts and electronic files Finally, an additional provision to the Bill empowers the Government to create an Intellectual Property commission with authority to set the tariff when those using copyright works refuse to pay at the rate set by the authors' society. This
    would open the door to arbitrary tariff and reduce authors' rights to being treated as mere merchandise

     

    Pornchai  Sirinukulchol  18/05/06

     

    Creators Address the European Commission to Defend their Rights

     

    CIAM - International Council of Authors and Composers of Music

     

    Brussels - 23 February, 2006 – A delegation of six prominent songwriters and music composers met with Commissioner McCreevy, on February 21st, to share their views on the future of authors' rights and collective management in the digital environment. Creators fear that the recent European Commission's initiatives (i.e. the Recommendation on cross-border licensing issued in October 2005 and the recently published Statement of Objections) may undermine cultural diversity and their longstanding and effective relationship with authors' societies. In the spirit of Jacques Delors' words "culture is not a commodity", Commissioner McCreevy reassured creators that the European Commission does not intend to limit or denigrate authors' rights. Creators are now committed to continue the dialogue with the Commission to adopt the best online licensing scheme.

    "For the very first time authors of music were given a chance to address the European Commission with issues that primarily affect them and to present the case for the protection of authors' rights in the online environment," said Pia Raug – Danish songwriter, composer, singer and musician. "Disrupting the efficient authors' rights system that has cultivated the richness and diversity of European culture for 200 years in the digital environment would have devastating economical, political and cultural  consequences

    Pornchai  Sirinukulchol  26/5/50

     

     

    Private copying: rightholders greet the European Commission's decision to give time for reflection

    Brussels / London / Paris, 19 December 2006
    Private copying: rightholders greet the European Commission's decision to give time for reflection

    On Thursday, 14 December the Commission confirmed its decision to defer the adoption of a draft recommendation on private copying.

    On behalf of the artistic and creative community and the content industry, the "Culture first!" Coalition expresses its relief and appreciates the soundness of the Commission's option not to adopt hastily a recommendation that would have jeopardized current remuneration systems for private copying.

    We salute the Commission's determination to address intellectual property and cultural issues with all appropriate consideration and proper debates, as also appears in the EU prompt ratification of the UNESCO Convention on cultural diversity.

    We recognize its independence of action towards hard pushing industries that praised the pure and simple substitution of current systems by lockers - the so called 'technical protection measures', which efficiency remains questionable - to be put on every music, film or other creative content with the aim of preventing users from making copies of them.

    Remuneration for private copying entails no significant extra costs for the hardware industry that markets copy-enabling equipment or media and makes high profits from these sales. Crucially, in exchange of a legitimate top-up to the income of rightholders, it enables consumers to make copies for their private use.

    It is currently the only mechanism that allows the creative sector to be compensated for the widespread copying of their works for domestic use.

    –2-

    The "Culture First!" Coalition*
    * The "Culture First!" Coalition groups 15 organisations of different categories of rights holders including authors, performers, actors, journalists, music publishers and record and audiovisual producers.
    AEPO-ARTIS
    Association of European Performers' Organisations
    Contact: Xavier Blanc, General Secretary
    AFI
    Italian Association of Phonographic Producers
    Contact: Massimo Baldinato, Regulatory and Public Affairs Manager
    BIEM
    Bureau International des Sociétés gérant les Droits d'Enregistrement et de Reproduction Mécanique
    Contact: Ronald Mooij, Secretary General
    CISAC
    International Confederation of Societies of Authors and Composers
    Contact: Eric Baptiste, Director General
    EUROCINEMA
    Association de Producteurs de Cinéma et de Télévision
    Contact: Yvon Thiec, Délégué Général
    EUROCOPYA
    European Federation of Joint Management Societies of Producers for Private Audiovisual Copying
    Contact: Nicole La Bouverie, Head of Delegation
    EuroFIA
    European Group of the International Federation of Actors
    Contact: Dominick Luquer, General Secretary
    EVA
    European Visual Artists
    Contact: Carola Streul, Secretary General

    -3-

    FERA
    Federation of European Film Directors
    Contact: Cécile Despringre, CEO
    FSE
    Federation of Scriptwriters in Europe
    Contact: Pyrrhus Mercouris, Manager
    FIM
    International Federation of Musicians
    Contact: Benoît Machuel, General Secretary
    GESAC
    European Grouping of Societies of Authors and Composers
    Contact: Véronique Desbrosses, Secretary General
    GIART
    The International Organisation of Performing Artists
    Contact: Francesca Greco, Managing Director
    EFJ/ IFJ
    European Federation of Journalists/
    International Federation of Journalists
    Contact: Céline Simonin, Authors' Rights Assistant
    IMPALA
    The Independant Music Companies Association
    Contact: Patrick Zelnik, President

     

     

     

    Pornchai  sirinukulchol   31/5/50 over sea data

     

    26/5/50 พรชัย ศิรินุกูลชร

    go back.......


             

    Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.