เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไทย ชุมชนวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

 

 

ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


   

 

แกรมมี่บุกพาณิชย์ค้านออก กม.ลิขสิทธิ์

โดย ผู้จัดการออนไลน์19 ธันวาคม 2550 07:19

          แกรมมี่ ปลุกครูเพลง นักแต่งเพลง บุกพาณิชย์ ต้านออกกฎหมายลิขสิทธิ์ อ้างรัฐแก้กฎหมายโดยไม่หารือ ขณะที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ยันแก้กฎหมายเพื่อให้การจัดเก็บโปร่งใสมากกว่าเดิม
       
       นายกริช ทอมมัส ผู้ประกอบวิชาชีพด้านดนตรี และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรมมี่โกลด์ จำกัด เปิดเผยภายหลังการนำตัวแทนกลุ่มศิลปิน ผู้ประพันธ์เพลง ผู้ประกอบวิชาชีพดนตรี เข้าพบ นายวรารักษ์ ชั้นสามารถ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง ว่า ผู้ประกอบการวิชาชีพดนตรีไม่เห็นด้วยที่กระทรวงพาณิชย์แก้ไขกฎหมายนี้โดยไม่หารือ และต้องการให้หยุดการผลักดันให้มีผลบังคับใช้ เพราะผู้ประกอบวิชาชีพดนตรีจะได้รับผลกระทบ โดยควรแก้ไขใหม่
 

         สำหรับประเด็นที่ไม่เห็นด้วย คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ (กกบ.) ที่มีตัวแทนภาครัฐ 6 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน แต่ไม่มีเจ้าของสิทธิ หรือผู้สร้างสรรค์ร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นผู้ผูกขาดอำนาจในการออกใบอนุญาตให้จัดเก็บ ควบคุมอัตราจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ ยังลิดรอนสิทธิเจ้าของสิทธิ เพราะไม่ให้กำหนดอัตราจัดเก็บเอง และห้ามให้จัดเก็บค่าเผยแพร่ด้วยตนเองอีก หากจัดเก็บเองจะมีโทษจำคุกไม่ 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีโอกาสที่ครูเพลง หรือนักแต่งเพลงจะติดคุกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่สำคัญ ยังแก้ไขอัตราโทษเป็นไม่มีโทษขั้นต่ำ ซึ่งตามหลักสากลถือว่าลดโทษแก่ผู้ละเมิด และยังเห็นว่า การแก้กฎหมายนี้ไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุด คือ เพลงซ้ำซ้อน และตบทรัพย์ แต่เป็นการแทรกแซงการจัดการทรัพย์สินของเอกชน และคุ้มครองผู้ละเมิด ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่รุนแรงกว่าเดิม

          ด้าน นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ใน กกบ.จะมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ ผู้ใช้งาน และเจ้าของสิทธิร่วมด้วย จะอ้างว่าไม่มีเจ้าของสิทธิ์ไม่ได้ อีกทั้งการให้จัดตั้งบริษัทจัดเก็บ ก็เพื่อให้การจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ได้รับความเป็นธรรม เพราะบริษัทจัดเก็บต้องกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บเองให้ชัดเจน เช่น อัตราจัดเก็บจากผู้ใช้งาน อัตราการจัดสรรให้เจ้าของสิทธิ์ และสัดส่วนที่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท จากปัจจุบัน เมื่อจัดเก็บแล้ว เจ้าของสิทธิ์มักไม่ได้รับการจัดสรร หรือบางรายได้รับการจัดสรรน้อย หรือได้อย่างไม่สม่ำเสมอ

 

xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />xml:namespace prefix = o />พรชัย  ศิรินุกูลชร  ผู้เผยแพร่   19-12-50

 

 

 

       

            แฉขบวนการล้มกฎหมายลิขสิทธิ์

 

นายบรรยงค์  ลิ้มประยูรวงศ์  รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เปิดเผยถึงกรณีที่คนวงการบันเทิง  ทั้งครูเพลง นักร้อง คัดค้านการแก้ไขปรับปรุง  พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์  ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง  ว่า การแก้ไขกฎหมาย  โดยกำหนดให้จัดตั้งบริษัทจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  ก็เพื่อให้การจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ได้รับความเป็นธรรม  เพราะจะกำหนดให้บริษัทจัดเก็บต้องจัดสรรค่าตอบแทนที่จัดเก็บได้ให้กับเจ้าของสิทธิ์อย่างเป็นธรรม  อีกทั้งยังกำหนดให้ครูเพลง  หรือนักแต่งเพลงต้องไม่มอบให้บริษัทจัดเก็บหลายแห่งจัดเก็บซ้ำซ้อน  หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย  อย่างไรก็ตามยืนยันว่าบริษัทจัดเก็บไม่ได้เป็นบริษัทของรัฐ  เพราะกฎหมายกำหนดให้เจ้าของสิทธิ์  เช่น  ค่ายเพลงต่างๆ จัดตั้งบริษัทนี้ได้ 

           “การมีบริษัทจัดเก็บ  เพราะจะทำให้เจ้าของสิทธิ์เช่น  นักแต่งเพลง ได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม  สม่ำเสมอไม่ถูกเอาเปรียบเหมือนปัจจุบัน ทำให้ปัญหานักบิน  และมาเฟียคาราโอเกะหมดไป”

 

นายบรรยงค์กล่าวต่อว่า  ขณะนี้มีขบวนการจ้องล้มกฎหมายฉบับนี้ได้ล้อบบี้  สนช.อย่างหนักไม่ให้ผ่านกฎหมายผู้ที่ออกมาคัดค้านส่วนหนึ่งเป็นพวกที่เสียประโยชน์  ซึ่งพวกทีเสียประโยชน์หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้  มีตั้งแต่ นักบิน  กลุ่มมาเฟีย  เจ้าหน้าที่รัฐที่ร่วมมือกับนักบินรีดไถ  ค่ายเพลงที่ไม่สุจริต  จากการจัดเก็บแล้วไม่จัดสรรให้เจ้าของสิทธิ์อย่างเป็นธรรม  อย่างไรก็ตาม  เชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้จะผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการภายในสัปดาห์หน้าและจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ในเร็วๆนี้  และมีผลบังคับใช้อย่างน้อยภายในสิ้นปีนี้

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร ผู้เผยแพร่

 

go back

 

 

'ครูลพ'ประชดชีวิตไม่เก็บลิขสิทธิ์เพลง

12 กันยายน 2550    กองบรรณาธิการ

ครูลพ บุรีรัตน์ ประกาศลั่น มอบเพลงสู่สาธารณชน ไม่คิดเก็บลิขสิทธิ์ หลังหมดหวังจากภาครัฐแก้ไขปัญหา ด้านประธานกองทุนคณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรม

ยันศิลปินแห่งชาติจะได้เงินเดือน 12,000 บาท ไม่มีการลด 2 ปี ในตำแหน่งขอโอกาสแสดงผลงานที่โรงแรมแกรนด์  เมอร์เคียว  ฟอร์จูน  ดร.สุนทร  อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกถา เรื่องกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม  กับการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ของศิลปินแห่งชาติ   พร้อมกล่าวว่าการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ของศิลปินแห่งชาติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  เป็นเรื่องที่คณะกรรมกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรมตระหนักและถือเป็นภารกิจหลัก  เนื่องจากศิลปินแห่งชาติถือเป็นทรัพยากรบุคคลผู้ทรงคุณค่าทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ ของประเทศไทย ก่อนหน้าที่มีการจัดประชุม ตนเองผู้เพิ่งมารับตำแหน่งเมื่อเดือนมิถุนายน ได้มีการพบปะพูดคุยนอกรอบ จึงพอรับทราบปัญหามาบ้าง การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติมาร่วมกิจกรรมเกือบครบ   เชื่อว่าต่อไปนี้ศิลปินแห่งชาติจะได้ทราบสวัสดิการและการคุ้มครองสิทธิทางปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่ทางที่ดี

ประธานกรรมการส่งเสริมงานวัฒนธรรมเปิดเผยอีกว่า  การทำงานของคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมชุดก่อนจะไม่ขอกล่าวพาดพิง   แต่คณะของตนที่ได้รับแต่งตั้งมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม   จะพยายามทำการคุ้มครองสิทธิ  และการเชิดชูศิลปินแห่งชาติให้เกิดรูปธรรมมากที่สุด  พร้อมกับการส่งเสริมเผยแพร่ศาสตร์ศิลปะทุกแขนงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชน ศิลปินท่านใดถูกละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเกิดปัญหาทางด้านใดสามารถที่จะทำหนังสือแจ้งมายังคณะกรรมการกองทุน ซึ่งนับจากนี้จะมีอำนาจครอบคลุมวงกว้าง อย่างกรณีเรื่องการขอวีซ่าเดินทางไปเผยแพร่ศิลปะของศิลปินแห่งชาติ  ต่อไปนี้คณะกรรมการจะขอเป็นศูนย์กลางดำเนินงานให้  เพราะศิลปินแห่งชาติเปรียบเสมือนบุคลากรสำคัญของชาติ ศาสตร์แห่งศิลปะย่อมติดตามไปพร้อมกับบุคคลเหล่านั้น

 

ดร.สุนทรกล่าวอีกว่า   ส่วนการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2522 และฉบับ พ.ศ.2535 ตนได้ทราบว่าทาง สวช.ได้มีการนำเสนอการปรับปรุงแก้ไขไปแล้ว  ในส่วนผู้ปฏิบัติคือ คณะกรรมการกองทุนนั้นมาจากหลายส่วน ทั้งนักวิชาการ, ศิลปินแห่งชาติ และนักธุรกิจ การนำมาปฏิบัติไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพราะมีการประชุมหารือบ่อยครั้ง

ส่วนกรณีเงินเดือนศิลปินแห่งชาติ  ปัจจุบันอยู่ที่รายละ 12,000 บาทต่อเดือน ตนขอยืนยันจะไม่มีการลดลงอยู่ระดับ  8,000  บาท เหมือนครั้งในอดีต ซึ่งเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ และปัจจัยงบประมาณตามคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ  หากนับแต่นี้เงินเดือนศิลปินแห่งชาติจะมีแต่เพิ่มขึ้น หรือมีสวัสดิการดูแลทางด้านอื่นๆ มาช่วยเสริม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้มีศิลปินแห่งชาติหลายสาขา อาทิ เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์,   อัศศิริ  ธรรมโชติ, ประยอม ซองทอง, สวลี ผกาพันธุ์, ชาลี อินทรวิจิตรชัยชนะ  บุญนะโชติ, ลพ  บุรีรัตน์, ไพรัช สังวริบุตร และเกียรติพงศ์ กาญจนภี  โดยมีการบรรยายเรื่องสิทธิประโยชน์ของศิลปินแห่งชาติ ภายใต้การคุ้มครองของระบบทรัพย์สินทางปัญญา โดย น.ส.เขมะศิริ นิชชากร หัวหน้าส่วนส่งเสริมงานลิขสิทธิ์  กรมทรัพย์สินทางปัญญา  และการบรรยายเรื่องสิทธิประโยชน์ของศิลปินแห่งชาติ ตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา  โดยผู้พิพากษาสุรพล  คงลาภ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ

 

 

ครูลพ บุรีรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า จากที่ได้ประชุมสัมมนา ส่วนตัวยังไม่เห็นมีความคืบหน้าเกิดขึ้น   เป็นการนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่  คงต้องฝากความหวังกับคณะกรรมการกองทุนชุดใหม่ สิ่งที่อยากให้ภาครัฐจัดการก็คือ การออกกฎหมายฉบับเดียวที่ต้องเด็ดขาด ขณะที่ปัญหาลิขสิทธิ์เพลงที่เกิดขึ้นมาจนเป็นดินพอกหางหมู อยากให้มีการโมฆะล้างไพ่ใหม่ เพราะตนเบื่อมากกับการไล่จี้ฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งต้องมาเสียเงินค่าฟ้องร้อง การขับเคลื่อนที่จะได้ผลรัฐบาลต้องเด็ดขาด

"เพลงที่ครูแต่งให้  ผึ้ง-พุ่มพวง ครูโดนละเมิดทุกเพลง จนขี้เกียจฟ้องร้อง เพราะไม่ได้มีอะไรดีขึ้น ส่วนไอ้พวกจัดเก็บลิขสิทธิ์   เราก็เช็กไม่ได้ว่ามันได้ยอดเท่าไหร่   ครูอยากให้รัฐบาลมาจัดเก็บไปเลย  เพราะเชื่อใจไว้ใจว่าศิลปินอย่างเราไม่ถูกโกงแน่"  ครูลพ บุรีรัตน์ กล่าว

ครูเพลงลูกทุ่งยังกล่าวเพิ่มเติมว่า   กรณีปัญหาจัดเก็บลิขสิทธิ์  เมื่อ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ มีสิ่งเกิดขึ้นกับตน   หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวลูกชายร้านอาหารผูกคอตาย เพราะเครียดเรื่องลิขสิทธิ์เพลงของตน   ซึ่งเพลง  "ขอใช้สิทธิ์" ตนเองไม่ได้ขายให้ใคร และมอบให้สาธารณชน ใครจะร้องก็ได้ไม่เสียเงิน  รวมถึงเพลงใหม่ๆ ของตนอีก 200 เพลง ขอแจ้งไว้ว่าไม่ได้ขายให้ใคร ตนอยากทำบุญ และมอบให้กับสังคม.

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร  ผู้เผยแพร่  19-12-50

 

 

มองผ่านเลนส์คม-ลิขสิทธิ์พิฆาตความสุข12 ธันวาคม 2550 17:19 น.

นั่งดูกลุ่มทุนค่ายเพลงแสดงอาการไม่เห็นด้วยกับพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ฉบับใหม่ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นแม่งาน ตรงประเด็นให้มีการจัดตั้ง "องค์กรกลาง" ขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดเก็บลิขสิทธิ์ร่วมทั้งอีกในหลายๆ ประเด็นแล้วรู้สึกเป็นห่วงวงการเพลงเมืองไทย xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

เป็นที่รู้กันว่า"การจัดเก็บ" เริ่มมีปัญหามานาน นับจากที่นายทุนค่ายเพลงเริ่มรู้ถึงสัญญาณความไม่โสภาของรายได้ที่มาจากการ"ขายซีดี" จึงหันมาหารายได้ทางอ้อมจากค่าลิขสิทธิ์ที่ถือเป็นสินทรัพย์อันมหาศาลตัวใหม่แทน

ด้วยการแข่งขันกันกว้านซื้อ"เพลง" กับตัว "นักแต่งเพลง" มาครอบครองให้ได้มากที่สุด ผมจำได้ว่าช่วงนั้นนักแต่งเพลงกลายเป็น"สินค้า" ที่ขายดีกว่า"นักร้อง" บางคนเสียอีกทำให้นักแต่งเพลงบางคนเกิด "หัวหมอ" ไม่รู้จักพอนำเพลงไปขายให้แก่"นายทุน" รายย่อยๆอีกหลายเจ้า

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาความ"ซ้ำซ้อน" ของเพลงที่ลามมาถึงผู้ประกอบการร้านค้าคาราโอเกะในเวลาต่อมา จนเกินที่จะเยียวยาหรือแก้ไข ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเรียกร้องให้รัฐเข้ามาช่วยจัดระเบียบการเก็บลิขสิทธิ์เสียใหม่

และทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้คือการตั้ง "องค์กรกลาง" ขึ้นมาดูแลความเดือดร้อนซึ่งนับว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ เกาได้ถูกจุดคันจริงๆ

อีกด้านหนึ่งก็เข้าใจ"นายทุน" ที่ทำธุรกิจเพลงที่พอจะมองเกมออกแล้วว่า ถ้าขื่นให้มี องค์กรกลางในการจัดเก็บเกิดขึ้นมาเมื่อใดนั่นหมายถึง"ความสูญเสีย" ด้านเงินลงทุนมหาศาลที่ทุ่มเทไปก่อนหน้านี้ ไม่นับรวมรายได้ที่จะหดหายไปอีกเท่าไรไม่รู้เราจึงเห็นอาการเต้นแร้งเต้นกาชูป้าย "ไม่เอาพ.ร.บ." ฉบับดังกล่าว

ทุกฝ่ายควรหา"จุดร่วม" แก้ปัญหาในข้อปลีกย่อยที่ยังเห็นไม่ตรงกันให้ได้อย่าเพิ่งตีโพยตีพายหรือ "งกตัวเลข" จนเสียอาการอย่าคิดร่ำรวยจากมันสมองของคนอื่น จนลืมรับผิดชอบต่อผู้บริโภคเหมือนที่ทำกันอยู่เวลานี้เลย

อย่าลืมว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ตรงไหนที่จะบังคับว่า "องค์กรกลาง" ในการจัดเก็บจะมีเพียงเจ้าเดียว

อย่าลืมว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อะลุ้มอล่วยที่สุดในโลกมันยังไม่ถึงทางตันเสียทีเดียวที่จะร่วมกันแก้ร่วมกันไข

ลองตั้งสติแล้วคิดสักนิดว่า นักแต่งเพลงใช้พลังสมองกลั่นถ้อยคำออกมาเพื่อประโลมสังคมให้มีความสุขมิใช่หรือ  นายทุนอย่านำเพลงมาสร้างความวุ่นวายให้สังคมกันเลย

ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงพากันพร้อมจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตัวเอง และเกิดไม่สบอารมณ์การต่อต้านครั้งนี้ขึ้นมา "สังคมคนทำเพลง" จะพานยุ่งเหยิงไปมากกว่านี้

                                              ขุนแผน แขวนไมค์

 

.

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร  ผู้เผยแพร่  20-12-50

 

นักแต่งเพลงรวมตัวต้าน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์11 ธันวาคม 2550 18:20 น.

 

กลุ่มผู้ประพันธ์เพลง -เจ้าของลิขสิทธิ์เพลงชื่อดัง รวมตัวชุมนุมต้าน ก.ม.ลิขสิทธิ์ เรียกร้อง สนช.ถอนร่างออก ชี้เจ้าของสิทธิ์ ไม่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่าง ก.ม. ทั้งๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง ขณะที่สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทยออกโรงหนุน ชี้ลดปัญหาจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อน จ่ายหลายต่อ xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 11 ธันวาคม กลุ่มผู้ประพันธ์เพลง และเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงชื่อดัง รวมถึงตัวแทนจากค่ายเพลง เช่น แกรมมี่ อาร์เอส รถไฟดนตรี นพพรซิลเวอร์โกลด์ ยูทูเรคคอร์ด ชัวร์ออดิโอ ฯลฯ ประมาณ 200 คน รวมตัวชุมชุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณารับร่างในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ โดยกลุ่มผู้ชุมนุม ได้แก่ นายชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ นายวินัย พันธุรักษ์ นายกสมาคมดนตรีในพระราชูปถัมภ์ นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา นายกสมาคมผู้ดำเนินการรายการวิทยุ นายนิติพงษ์ ห่อนาค นายกสมาคมนักประพันธ์เพลงอาชีพ นายสลา คุณวุฒิ นักแต่งเพลงชื่อดัง นายชีวิน โกสิยพงษ์ หรือ บอย นายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ น.ส.อรทัย ดาบคำ หรือ ต่าย อรทัย และนายชินวุฒ อินทรคูสิน กลุ่มศิลปินจีเจอาร์

 

จากนั้นกลุ่มผู้คัดค้านได้ถือป้ายคัดค้าน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เคลื่อนตัวไปที่หน้าอาคารรัฐสภา ตลอดทางทุกคนได้ตะโกนเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว ทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชนที่ผ่านไปผ่านมา เมื่อถึงที่รัฐสภา ได้ส่งตัวแทนประมาณ 20 คนเข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมี น.ส.นภาภรณ์ ใจสัจจะ ผอ.สำนักงานประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับหนังสือ

เนื้อหาของหนังสือระบุว่า ขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาถอนร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ..... ออกจากการพิจารณาของ สนช. เนื่องจากเจ้าของสิทธิ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทั้งๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรง เช่น การยกเลิกโทษขั้นต่ำของการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดของเถื่อนรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังลิดรอนสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่น ลิดรอนสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สมาพันธ์ และลิดรอนสิทธิในการทำสัญญา โดยสามารถยกเลิกสัญญาเดิมที่ทำโดยความสมัครใจระหว่างเจ้าสิทธิ์ และบริษัทจัดเก็บได้

ครูสลา คุณวุฒิ นักแต่งเพลงชื่อดัง กล่าวว่า เท่าที่ดูรายละเอียดของกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่นี้ มีจุดที่นำไปสู่ความขัดแย้งแน่นอน จึงอยากขอร้องให้ สนช.และรัฐบาลถอนร่างนี้ออก แล้วดึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดและแนวทางร่วมกัน โดยส่วนตัวเข้าใจว่าเป็นความตั้งใจดีของฝ่ายรัฐบาล แต่ข้อปลีกย่อยต่างๆ ยังไม่มีความชัดเจน จึงควรจะมีการแจกแจงรายละเอียด ซึ่งผู้ที่จะแจกแจงรายละเอียดได้ ก็ควรที่จะมาจากสายงานโดยตรง เท่าที่ดูคณะกรรมการที่ถูกตั้งขึ้นมา ไม่มีความหลากหลาย และน่าจะมาจากสายงานนี้โดยตรง รวมถึงมีสัดส่วนที่ดี ไม่ใช่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดแบบนี้

ส่วนปัญหาค่าลิขสิทธิ์เพลงที่ผู้ประกอบการคาราโอเกะเดือดร้อน เนื่องจากมีผู้ไปเรียกเก็บเงินซับซ้อนนั้น ครูสลา กล่าวว่า เป็นปัญหาที่ต้องร่วมมือกันแก้ไข แต่ไม่ใช่ฟังเพียงผู้ประกอบการอย่างเดียว ต้องฟังเจ้าของลิขสิทธิ์ และผู้สร้างสรรค์ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่น่าเป็นห่วงมาก

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มศิลปินที่มาเรียกร้องได้ปักหลักชุมนุมหน้าประตูทางเข้ารัฐสภา พร้อมชูป้ายคัดค้าน ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐสภาต้องปิดประตูดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะไม่ปลอดภัย โดยหลังยื่นหนังสือแล้วทั้งหมดได้สลายตัวไปอย่างสงบ

ขณะเดียวกัน ได้มีกลุ่มค่ายเพลงและศิลปินบางส่วนที่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ส่งตัวแทน คือ นายศรีสุภางค์ อินทร์ไทร นายกสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อมอบดอกไม้เป็นกำลังให้ สนช. โดยมีนายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ เป็นตัวแทนรับดอกไม้

นายไพฑูรย์ ขันทอง ครูเพลงและนักแต่งเพลงชื่อดัง กล่าวว่า ที่มาวันนี้ไม่ได้อยู่ในสังกัดใคร แต่มาในนามสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ที่ค่อนข้างจะเห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เพราะดูรายละเอียดแล้ว เป็น พ.ร.บ.ที่มาแก้ปัญหา ทั้งผู้ประกอบการ และเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างแท้จริง

"การจัดเก็บเพียงองค์กรเดียว น่าจะทำให้ปัญหาลดน้อยลง เพราะที่ผ่านมา ทั้งผู้ประกอบการและเจ้าของลิขสิทธิ์เดือดร้อนมาก และขอประณามนักแต่งเพลงที่เอาเพลงไปขายให้หลายบริษัท เพราะนี่ก็เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ปัญหาเกิดขึ้น และขอประณามบริษัทกับค่ายเพลงที่ซื้อเพลงจากครูเพลงเหล่านี้ไป ทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง จึงต้องแก้ปัญหาที่ต้นตอ และ พ.ร.บ.ฉบับนี้ น่าจะแก้ปัญหาได้" นายไพฑูรย์ กล่าว

 

ด้านนายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ที่กำลังแก้ไขว่า เป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการสร้างองค์กรการจัดเก็บ เพื่อเป็นตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการจัดเก็บค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์ต่างๆ จากผู้ใช้งาน เช่น ร้านคาราโอเกะ หรือโรงแรม ที่นำเพลงของค่ายเพลงไปใช้ โดยองค์กรดังกล่าวจะเป็นตัวแทนจัดเก็บ และจัดสรรคืนให้เจ้าของสิทธิ์ เช่น ครูเพลง นักร้อง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในอัตราที่เป็นธรรม

ทั้งนี้ แต่เดิมนั้นการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จะต่างคนต่างเก็บ และซ้ำซ้อนกันมาก เช่น ค่ายเพลงหนึ่งเมื่อเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งแต่งโดยครูเพลงท่านหนึ่งไปแล้ว แทนที่ผู้จ่ายค่าลิขสิทธิ์จะได้รับความสะดวก แต่กลับมีคนอื่นมาเก็บซ้ำซ้อนอีก เพราะว่าครูเพลงได้มอบลิขสิทธิ์ให้หลายคน ทำให้ผู้ที่จ่ายเงินไปแล้วไม่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องผู้ประกอบการที่ไม่สุจริต ดำเนินการโดยซื้อใบมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในเพลงต่างๆ มาไว้ในมือแล้วไปไล่เก็บเงินจากร้านคาราโอ เกะ ซึ่งบุคคลเหล่านี้เรียกกันว่า "นักบิน" ออกไปข่มขู่เจ้าของร้านคาราโอเกะ หรือขู่ให้จ่ายเงิน โดยอ้างว่ามีหนังสือมอบอำนาจ แล้วไปยอมความกันภายหลังโดยเรียกเก็บเงิน 3-5 หมื่นบาท ทำให้ร้านคาราโอเกะได้รับความเดือดร้อน รวมถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เอง ก็ได้รับความเดือดร้อนด้วยเช่นกัน

“แถมยังมีกลุ่มพวกมาเฟียอีกด้วย ที่จะคอยติดสติกเกอร์ขาวตามตู้คาราโอเกะต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงค่าคุ้มครองที่แสดงให้เห็นว่าไม่ให้ผู้อื่นมาจัดเก็บ เรื่องเหล่านี้ทำให้มีความวุ่นวายมากทีเดียว” นายบรรยงค์ กล่าว

นายบรรยงค์ กล่าวว่า ในต่างประเทศนั้น การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จะมีการจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมา เป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ ที่มีใบอนุญาตจัดเก็บที่ถูกต้อง โดยนำเพลงต่างๆ มาประกาศกันก่อน เพื่อดูว่าจะมีคนคัดค้านหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เหลือเจ้าของเพลงรายเดียว เมื่อมีคนนำเพลงไปใช้งานที่จ่ายค่าลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว กฎหมายก็จะรับรองให้ว่าคนที่ดำเนินการโดยสุจริตจะไม่ได้รับความเดือดร้อนซ้ำซ้อนอีก

นายบรรยงค์ กล่าวว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อมีคนนำเพลงไปใช้ ก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนแน่นอน เพราะเมื่อองค์กรกลางจัดเก็บเงินแล้วจะต้องจัดสรรให้ครูเพลง นักร้อง ซึ่งถือเป็นหลักประกันที่จะได้รับ รวมทั้งให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้งานอย่างสุจริตด้วย เพราะเมื่อเสียค่าตอบแทนแล้วก็จะได้รับความคุ้มครองว่าจะไม่มีใคร ไปเก็บเงินซ้ำซ้อนอีก และไม่มีใครกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ได้อีก ตลอดจนจะไม่เกิดปัญหาการเก็บซ้ำซ้อน หรือการเก็บตามใจชอบอีก ส่วนคนที่เดือดร้อนนั้นน่าจะเป็นพวกคนที่ไม่สุจริตเสียมากกว่า

 

“ร่างกฎหมายฉบับนี้ดำเนินการมานานกว่า 2-3 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มีการจัดประชุมกลุ่มบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งไม่มีใครคัดค้านเลย ส่วนความคืบหน้า ขณะนี้ได้ผ่านการรับหลักการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปในวาระแรกแล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา และได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณา โดยมีนายกิตติ ลิ้มชัยกิจ เป็นประธาน รวมทั้งมีตัวแทนจากค่ายเพลงทั้งแกรมมี่ และอาร์เอส ร่วมเป็นกรรมาธิการด้วย” นายบรรยงค์ กล่าว

ทั้งนี้ มีผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายฉบับนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้ทำวิจัยในเรื่องนี้ และเรียกร้องให้มีการจัดตั้งองค์กรการจัดเก็บ และกลุ่มผู้ใช้งาน เช่น สมาคมโรงแรม สมาคมภัตตาคาร สมาพันธ์คาราโอเกะ และสมาคมผู้ประพันธ์เพลง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีนายกงกฤช หิรัญกิจ สนช. และคณะ เสนอกฎหมายฉบับที่ คล้ายคลึงเดียวกันนี้ด้วย และนายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สนช. เสนอให้กฎหมายลิขสิทธิ์มีข้อยกเว้นสำหรับคนพิการที่จะนำงานลิขสิทธิ์ไปใช้ได้ด้วย

นายบรรยงค์ กล่าวว่า หากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ ก็ใช่ว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมาทันที เพราะจะมีคณะกรรมการกำกับดูแล ซึ่งจัดตั้งโดยคณะรัฐบาล เพื่อพิจารณาว่าลิขสิทธิ์ประเภทใดมีความจำเป็นจะต้องจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อทำการจัดเก็บลิขสิทธิ์ โดยมองว่าลิขสิทธิ์ประเภทดนตรีมีความเป็นไปได้มากที่สุด

 

พรชัย  ศิรินุกูลชร ผู้เผยแพร่ 21-12-50

go back............

 

คมเคียวคมปากกา-ถึงเวลา"พ่อค้า"ไถ่บาป  28 สิงหาคม 2550 18:48 น.xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

www.komchadluek.net/2007/08/29/f001_132994.php?news_id=132994 - 34k –

ต้องบอกว่ายังไม่สายเกินไปที่ค่ายเพลงจะกลับตัวกลับใจยกเลิกการ "ซื้อขาด" ลิขสิทธิ์เพลง อย่างกรณีค่ายอาร์สยามที่ประกาศจะไม่มีการซื้อขาดอีกต่อไปแล้ว

จำได้ว่าเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ผมเคยเขียนในคอลัมน์นี้วิจารณ์แนวทางซื้อลิขสิทธิ์เพลงของ "เฮียฮ้อ" แบบตรงไปตรงมา เนื่องจากตอนนั้นค่ายเพลงต่างๆกำลังตื่นตัวกับการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง

จึงคิดว่าการที่เพลงหนึ่งจะดังหรือไม่ดัง มันขึ้นอยู่กับการโปรโมท ซึ่งหากมีการซื้อขายแบบ "1 ต้นแบบ 1 ต้นฉบับ" ตามสัญญาของสมาคมดนตรีฯ ค่ายเพลงจะเสียเปรียบ เพราะนักแต่งเพลงจะนำเพลงที่โด่งดังไปขายต่อให้ค่ายอื่นในราคาแพง และค่ายเดิมจะไม่ได้ดูแลลิขสิทธิ์การจัดเก็บคาราโอเกะแต่เพียงผู้เดียว

"เฮียฮ้อ" จึงยกเลิกสัญญาซื้อขายเพลงในยุคป๋ามนต์ เมืองเหนือ ที่ทำสัญญา "เช่าซื้อ" กับนักแต่งไว้ "เพลงละ 5 ปี" ให้เปลี่ยนเป็น "ซื้อขาด" เพลงละหมื่นเพลงละห้าพันก็ว่ากันไป และลิขสิทธิ์ตกเป็นของนายทุนไปตลอดชาติ

จำได้ว่าตอนนั้นมีครูเพลงอาวุโสกลุ่มหนึ่ง ที่มอบให้อาร์เอสดูแลเรื่องการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงได้เข้าร้องทุกข์กับ "เฮียจั๊ว" พี่ชายเฮียฮ้อ เพราะมันไม่เป็นธรรม แต่เฮียจั๊วก็โบ้ยไปที่เฮียฮ้อ เพราะมันไม่ใช่ "บริษัทครอบครัว" เหมือนเก่าอีกแล้ว

พอเห็นตัวอย่างดังนี้พวกค่ายรองๆ ที่เคยซื้อ "1 ต้นแบบต้นฉบับ" ก็พลอยยกเลิกตาม โดยนายห้างส่วนใหญ่ยื่นเงื่อนไข "ซื้อขาด" เพลงละ3,000-10,000 บาทใครไม่ขายก็ไม่ซื้อ!

อย่าให้เอ่ยชื่อค่ายเลยครับบางคนเป็นตัวเป้งๆ ในสมาคมนักเพลงลูกทุ่งฯ แต่กดขี่ค่ามันสมองนักแต่งเพลงหนักหนาสาหัสครับ

เมื่อเจอนโยบายซื้อขาดของค่ายต่างๆทำให้นักแต่งเพลงไม่มีทางเลือกมากนัก ยกเว้นนักแต่งมือทองบางคนพอมีทางเลือก จึงใช้ "มือขวา" ให้ค่ายเพลงที่ยึดสัญญาสมาคมดนตรีฯและใช้ "เท้าขวา" ให้ค่ายเพลงที่ซื้อขาด

หรือบางรายก็ขายให้แกรมมี่เพราะมีออปชั่น "แบ่งเปอร์เซ็นต์" ให้ตามยอดขาย แต่ลิขลิทธิ์นั้นจะอยู่ในความดูแลของค่ายตลอดไป มันก็เป็นการซื้อขาดอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าเพลงดังระเบิด ก็จะได้ค่าลิขสิทธิ์สูงถึงเพลงละแสนสองแสนบาท และหากไม่ดังจะได้เพลงละหมื่นสองหมื่นบาท

อย่างไรก็ตาม การลุกขึ้นมา "ปลดแอก" ให้นักแต่งเพลงของอาร์สยามยามนี้ นับว่าเป็นเรื่องดี และควรแก่การอนุโมทาสาธุ!

จะด้วยการ "จำยอม" หรือ "ตั้งใจจริง" อะไรก็ช่างเถิด การปล่อยให้นักแต่งมีอิสระที่จะเลือก ย่อมจะส่งผลดีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างแน่นอน

สรุปว่า "เลิกทาส" ตอนนี้ ดีกว่าค่ายเจ๊งแล้วถึงสำนึกได้ครับ!

บรรณวัชร

 

 

โอเกะ รากหญ้าหนุนกรมทรัพย์ฯ ตั้งองค์กรกลางยุติซ้ำซ้อน18 ธันวาคม 2550 18:01 น.

 

หลังจากบ้านเรามีระบบการเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์ในการเปิดเพลงคาราโอเกะสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม ร้านคาราโอเกะต่างๆ มาระยะหนึ่งแล้วนั้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าเผยแพร่ลิขสิทธิ์ขึ้นมาหลายองค์กรจากค่ายเพลงต่างๆ มากมาย จนเกิดปัญหาการจัดเก็บ "ซ้ำซ้อนกัน" เช่นจ่ายค่าจัดเก็บไปหนึ่งแห่ง แต่เพลงบางเป็นลิขสิทธิ์ของอีกบริษัท เมื่อนำไปเปิดก็อาจถูกอีกบริษัทจับกุมดำเนินคดี หรือมีเจ้าหน้าที่บริษัทไปตระเวนเก็บเงินค่าเปิดเพลงจากร้านคาราโอเกะโดยผู้ประกอบการไม่สาสมารถแยกแยะได้ว่า เพลงxml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /> xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:word" />ไหนเป็นของบริษัทใด ฯลฯ (ยกตัวอย่างอื่นๆ ด้วย)

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเตรียมแก้ปัญหา"ลิขสิทธิ์ซ้ำซ้อน" ด้วยการเสนอตั้ง"องค์กรกลาง" ขึ้นมาดูแลเรื่องการจัดเก็บซึ่งร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจาก สนช.แล้ว ถึงแม้จะมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มค่ายเพลงต่างๆ ให้ยกเลิก

ทีมข่าว"คมชัด ลึก" ได้ออกสำรวจความคิดเห็นของบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีบริการตู้คาราโอเกะรอบปริมณฑลถึงความคิดเห็นในการตั้ง"องค์กรกลาง" ขึ้นมาดูแลเรื่องการจัดเก็บ ซึ่งแต่ละคนก็พร้อมแสดงความคิดเห็นโดยทุกร้านขอ สงวนชื่อผู้ให้สัมภาษณ์และชื่อร้าน

"ทุกวันนี้ผมเสียค่าลิขสิทธิ์ 2-3 เจ้า พวกเราเป็นคนทำมาค้าขายไม่รู้ขั้นตอนกฎหมาย หรือธุรกิจการเก็บลิขสิทธิ์ เมื่อค่ายเพลงบอกว่าต้องเสียเราก็ยินดีปฏิบัติตาม แต่สิ่งที่เราได้คือต้องเสียเงินให้แก่คนอีกหลายๆ คนที่มาบอกว่าเป็นเจ้าของสิทธิในเพลงนี้เพลงนั้น ซึ่งค่ายเพลงที่เราเสียเงินให้ไปก็ไม่สามารถช่วยเราได้ พวกที่มาเก็บก็มีพวกตำรวจท้องที่มาด้วย เราเดือดร้อนมาก ผมมาดูรายละเอียดบางอันคิดว่าความซํ้าซ้อนที่เกิดขึ้นมาจากครูเพลงที่เป็นเจ้าของสิทธิค่ายเพลงอาจจะไม่ใช่เจ้าของสิทธิจริงๆ ฉะนั้นต้องแก้ที่ครูเพลง"

สมบัติเจ้าของร้านอาหารริมถนนพระราม 5 ระบายความเดือดร้อนกับเหยี่ยวข่าว "คม ชัด ลึก" ด้วยความอึดอัดใจนอกจากการเรียกเก็บเงินจากเหล่า "นักบิน" (บรรดาผู้ที่ข่มขู่เรียกเก็บเงินโดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายลิขสิทธิ์คาราโอเกะ) ดังกล่าวแล้ว เจ้าของร้านคนเดิมบอกอีกว่า รายได้จากตู้คาราโอเกะทุกวันนี้ก็ลดลงเช่นกัน จนคิดจะขายตู้คาราโอเกะ

"จำนวนคนที่มาร้องคาราโอเกะทุกวันนี้ มีไม่มาก บางครั้งวันหนึ่งมีคนหยอดแค่ 2-3 เพลงเท่านั้น ถ้าวันไหนถูกพวกนักบินมาไถอีก 2-3 หมื่นก็เตรียมตัวเจ้งได้เลย ปีหน้าคุยกันในกลุ่มพ่อค้าด้วยกัน ประมาณ 50 กว่าร้านทุกคนลงความเห็นว่าจะขาย แต่อาหารอย่างเดียวไม่เอาตู้คาราโอเกะแล้วเพราะไม่คุ้ม"

ผู้สื่อข่าว"คม ชัด ลึก" ได้ตระเวนสอบถามความคิดเห็นของร้านอาหารร้านหนึ่งริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยทุกร้านยินดีให้ข้อมูล แต่ขอไม่เปิดเผยชื่อเช่นกัน โดยบอกเหตุผลว่ากลัวเดือดร้อน ซึ่งหลายร้านอาหารให้ข้อมูลตรงกันถึงความซ้ำซ้อนเรื่องการเก็บค่าลิขสิทธิ์

"คุณเชื่อไหมว่าช่วงวันศุกร์จะเป็นวันที่พวก "ตบทรัพย์" มันออกทำงานร้านละแวกๆ นี้โดนกันทั่วหน้า มันมาล่อซื้อโดยตำรวจท้องที่ก็เป็นพวกมัน มันทำกันเป็นทีมเลย ค่ายเพลงช่วยเราไม่ได้เลย ทั้งที่เราเป็นลูกค้าเขา ผมก็เรียนจบปริญญาตรีด้านประชาสัมพันธ์มา การเปิดเพลงของร้านอาหารถือเป็นการช่วยค่ายประชาสัมพันธ์ทางหนึ่ง แต่พวกค่ายไม่คิดแบบนี้ จะให้เราเสียเงินรายเดือนเราก็ยอม แต่พอถูกจับก็ช่วยเราไม่ได้ ดีเหมือนกันมีองค์กรกลางขึ้นมาดูแลพวกนี้จะได้รู้สึกบ้าง ว่าความเดือดร้อนเป็นยังไง"

เจ้าของร้านคนเดิมกล่าวอีกว่าเห็นข่าวการคัดค้านกฎหมายตัวใหม่จากค่ายเพลงใหญ่ๆ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามีแต่เรื่องผลกระทบที่ค่ายเพลงได้รับอย่างเดียว

"พวกผมเดือดร้อนอย่างไร ไม่เห็นมีใครมาสนใจเลย สื่อมวลชนเองที่บอกว่าอยู่ข้างคนเดือดร้อนก็เสนอแต่ข่าวค่ายเพลงได้รับผลกระทบอย่างนี้อย่างนั้น ทีพวกผมเดือดร้อนไม่เห็นมีใครมาดูมาสนใจเลย พวกร้านอาหารต้องมีรายจ่ายเรื่องลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นมาก็ต้องจ่าย ขึ้นราคาค่าอาหารก็ไม่ได้"

นี่เป็นความคิดเห็นของบรรดาเจ้าของร้านอาหารเพียงส่วนหนึ่งในหลายๆส่วนที่ได้รับผลกระทบจากความซ้ำซ้อนของลิขสิทธิ์เพลง ทั้งที่เสียเงินค่าลิขสิทธิ์ให้เจ้าของอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งต้องดูกันต่อไปว่าปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขอย่างไรต่อไป

 

 

 

คมเคียวคมปากกา-ศิลปินสู้เพื่อใคร  11 ธันวาคม 2550 13:31 น.

วันก่อนมีดาราสาวคนหนึ่งมาร่วมเสวนาเรื่องการเมืองที่ตึกเนชั่นจู่ๆ เธอก็เปิดประเด็นที่คนบันเทิงจะรวมพลค้านกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ ซึ่งผมอ่านจากข่าวที่ตีพิมพ์ในวันถัดมา ก็รู้ว่าเธอฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด

เธอหยิบเอาประเด็นปลีกย่อยมาขยายให้เป็นเรื่องน่ากลัวทั้งที่ความเป็นจริง "หัวใจ" ของการแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ที่มีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นแม่งานคือ การจัดระเบียบการจัดเก็บลิขสิทธิ์ดนตรี โดยมีการเสนอจัดตั้ง "องค์กรกลาง" ขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดเก็บลิขสิทธิ์

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนี้มีปัญหาการจัดเก็บลิขสิทธิ์ที่ซ้ำซ้อน สร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการร้านค้าจำนวนไม่น้อย และฝ่ายลิขสิทธิ์บางกลุ่มสมคบกับ "คนมีสี" ออกรีดไถคาราโอเกะรากหญ้าเป็นว่าเล่น

แถมบางค่ายเพลงยังใช้นโยบาย "จัดเก็บ" คู่ไปกับ "จับเก็บ" เพิ่มรายได้ให้แก่ค่ายทางอ้อม ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารเรียกร้องให้รัฐเข้ามาช่วยจัดระเบียบการเก็บลิขสิทธิ์เสียใหม่

ดังที่ทราบกันลิขสิทธิ์เพลง (มันสมองของนักแต่งเพลง) คือ "สินทรัพย์" หรือขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าของค่ายเพลง

ถ้าสินทรัพย์นับพันนับหมื่นล้าน ตกไปอยู่ในมือ "องค์กรกลาง" ที่มีคนของรัฐบริหารจัดการ...มีหรือคนอย่าง "อากู๋" หรือ "เฮียฮ้อ" จะยอม

ขณะที่ผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะ ร้านอาหาร โรงแรม ฯลฯ อาจชื่นชอบวิธีการแก้ปัญหาความไร้ระเบียบการจัดเก็บลิขสิทธิ์

รวมถึงนักแต่งเพลงอิสระที่รวมตัวกันอยู่ใน สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย ซึ่งมีจุดยืนสนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ฉบับแก้ไข

ในทัศนะของผม เห็นว่าเรื่องนี้คงต้องพบกันครึ่งทาง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน(ค่ายเพลง-ผู้ประกอบการ) ควรมาพูดคุยกันให้ชัดว่าจะเอายังไง

กรุณาอย่าเอา "ประชาชน" มาเป็นตัวประกัน เหมือนผู้ใหญ่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ที่ให้ข่าวทำนองว่า หาก สนช.ไม่ฟังเสียงคัดค้าน สองค่ายยักษ์จะยุติการออกรายการเพลงทุกคลื่นวิทยุ และรายการ

เพลงทางทีวีทุกช่อง

ผมอ่านข่าวนี้แล้วรู้สึกคันหัวใจ จึงขอยุส่งให้ สนช.ผ่าน ร่างกฎหมายฉบับนี้ไปเลยครับ

อยากรู้เหมือนกันว่า ถ้าคนในชาตินี้ ไม่ได้ฟังเพลงแกรมมี่ เพลงอาร์เอสแล้ว...บ้านเมืองมันจะล่มจม มันจะอยู่ไม่รอด

พ่อค้าเขาคงคิดว่า เราๆท่านๆ โง่เง่าเต่าตุ่น เหมือนนักร้องในค่ายที่จะจูงไปทางไหนก็ได้ จึงเอาความจริงแค่ครึ่งเดียวมาบอกชาวบ้าน!

บรรณวัชร

 

พรชัย ศิรินุกูลชรผู้เผยแพร่22-12-50

 


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.