บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ
ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์(ฉบับที่...) พ.ศ. ....
โดยคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ สภาทนายความ
------------------------------------------------
บทนำ
ด้วยเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ นายพรชัย ศิรินุกูลชร เลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่นายกงกฤช หิรัญกิจสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอ และร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ฉบับที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้เสนอ แก่นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ และรองประธานกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายแห่งสภาทนายความ ต่อมาวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ นายพรชัย เลขาธิการสมาพันธ์ฯและนายชยธวัช อติแพทย์ นายกสมาคมส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย เข้าพบนายเจษฎา อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ เพื่อชี้แจงรายละเอียดการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และนายชยธวัช นายกสมาคมฯมีหนังสือลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ถึงประธานกรรมการร่างกฎหมายแห่งสภาทนายความ เพื่อส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเลขาธิกรสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในการส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวพร้อมด้วยบันทึกหลักการและเหตุผล และบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณา นายเจษฎา ในฐานะรองประธานกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายแห่งสภาทนายความ นำเสนอหนังสือของสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยพร้อมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายแห่งสภาทนายความในการประชุมครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ คณะกรรมการกลั่นกรองฯได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....รวมทั้งสิ้น ๗ ครั้ง (การประชุมครั้งที่ ๒๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐,ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐, ครั้งที่ ๓๑/๒๕๕๐ เมื่อ
๑
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๐, ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๑, ครั้งที่ ๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑, ครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ และครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑ ) ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมมีดังนี้
๑ นายสมัคร เชาวภานันท์ ที่ปรึกษา
๒ นายไสว จิตเพียร ที่ปรึกษา
๓ นายดนัย อนันติโย ที่ปรึกษา
๔ นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ประธานกรรมการ
๕ นายเจษฎา อนุจารี รองประธานกรรมการ
๖ นายประดิษฐ์ เอี่ยมสำอางค์ รองประธานกรรมการ
๗ นายศิริ อาบทิพย์ กรรมการ
๘ นายวินิจ กระทอง
๙ นายวีรศักดิ์ ติวิรัช
๑๐ นายดามพ์ กิติภัทรย์พิบูลย์
๑๑ นายสมชัย โรจน์วณิชย์
๑๒ นายกมล เอกอินทุมาศ
๑๓ นายจำนง ธนะ
๑๔ นายเกรียงศักดิ์ ไพบูลย์
๒
๑๕ นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย
๑๖ นายวิฑูรย์ พื้นแสน
๑๗ นายปพนวัชร์ มนตรีวิทย์
๑๘ นายวิโรจน์ ช่างสาร
๑๙ นายปราโมทย์คริษฐ์ ธรรมคุณากร
๒๐ พล.ต.ชุมพล เกลียวสัมพันธ์ใจ
๒๑ นายภคพล เพชรกิ่ง
๒๒ นายวิเชียร รุจิธำรงกุล
๒๓ นายวสันต์ ฝีมือช่าง
๒๔ นายชำนาญ ชาดิษฐ์
๒๕ นายอิศรา ทองอินศรี
๒๖ นายชลินทร นิพัทธสัจก์ กรรมการ/เลขานุการ
๒๗ นางสาววรลักษณ์ จินะดิษฐ์ กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ นายชยธวัช นายกสมาคมฯ นายพรชัย เลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย นางสาว สุพัชรา ดิษฐบรรจง นักวิชาการอิสระ
ในขณะที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯกำลังพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ปรากฏว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่สามารถพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. ... ได้ทันกำหนด
๓
อายุของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำให้ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่....) พ.ศ. ...... ต้องตกไป แต่เมื่อมีรัฐบาล ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า นายชาตรี ชินวุฒิ (นามแฝง พนม นพพร) ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ภาคเอกชน) ได้มีหนังสือที่ ปปท. (ภาคเอกชน) ๐๑๖/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอให้พิจารณายุติการยืนยันนำร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมการกลั่นกรองฯได้สรุปความเห็นเรื่องร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ลงวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๑ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในการร่างกฎหมายให้แก่สมาชิกสภาทนายความ ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป เป็นการร่วมกับภาคเอกชนในการเสนอร่างกฎหมายซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศ และสร้างเสริมประสบการณ์การร่างกฎหมายแก่ภาคเอกชน
ต่อมานายชยธวัช นายกสมาคมฯ มีหนังสือขอให้สภาทนายความจัดทำร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความมีคำสั่งสภาทนายความที่ ๓๗/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ แต่งตั้งคณะทำงานร่าง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. .... เพื่อให้จัดทำร่างพระราชบัญญัติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยทางปฏิบัติตลอดจนหลักสากล คณะทำงานประกอบด้วย
๑ นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ที่ปรึกษา
๒ นายเจษฎา อนุจารี ประธานคณะทำงานฯ
๓ นายชยธวัช อติแพทย์ รองประธานคณะทำงานฯ
๔
๔ นายประดิษฐ์ เอี่ยมสำอางค์ คณะทำงาน
๕ นายปพนวัชร์ มนตรีวิทย์
๖ นายวิเชียร รุจิธำรงกุล
๗ นายอิศรา ทองอินศรี
๘ นายภคพล เพชรกิ่ง
๙ นายพรชัย ศิรินุกูลชร
๑๐ นางสาวสุพัชรา ดิษฐบรรจง
๑๑ นายชลินทร นิพัทธสัจก์ คณะทำงาน/เลขานุการ
๑๒ นางสาววรลักษณ์ จินะดิษฐ์ คณะทำงาน/ผู้ช่วยเลขานุการฯ
ต่อมานายเดชอุดม นายกสภาทนายความมีคำสั่งสภาทนายความ ที่ ๗๑/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ คำสั่งฯ ที่ ๑๓๒/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และคำสั่งฯ ที่ ๑๓๖/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพิ่มเติมอีกหกคน คือ
๑ นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ คณะทำงานฯ
๒ นางปวรวรรณ กุลมงคล คณะทำงานฯ
๓ นายวิชิต เอื้อวารีวรกุล คณะทำงานฯ
๔ นายสมพจน์ สิงห์สุวรรณ คณะทำงานฯ
๕ นายวรวิทย์ กนิษฐนาคะ คณะทำงานฯ
๕
๖ นายเจริญ นัดพบสุข คณะทำงานฯ
คณะทำงานฯได้นำร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .....ที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นต้นแบบของการยกร่าง และเชิญผู้เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์เข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่นายจิรศักดิ์ โสภาชัย (กิจการร่วมค้า เอ็มซีที-โฟโนไรทส์) นายภิญโญ ทวีแจ่มทรัพย์ (ประธานที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจคาราโอเกะไทย) นายภาส อินทรประพงษ์ (อุปนายกสมาคมธุรกิจคาราโอเกะไทย) นายเกียรติณรงค์ วงศ์งาม (กรรมการสมาคมธุรกิจคาราโอเกะไทย) นางสาวสุพัฒสร ฤทธิ์มาก (ทนายความ สมาคมธุรกิจคาราโอเกะไทย) นายสมชาย มั่นคง (รองประธานสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย) นายเอกชัย อุณหทรงธรรม (รองประธานสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย) นายสงกรานต์ ตันสิทธิพันธุ์ (ที่ปรึกษากฎหมายสมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย) นายมานิตย์ ศิริตัน (ผู้แทนสมาคมภัตตาคารไทยแทนนางปวรวรรณ กุลมงคล) นายจิตรกร บัวเนียม (นายกสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย) นายตวงกฤษ เตชะคุปต์ (ผู้ประกอบการ โรงแรมระยองออคิด) นายพิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ (ที่ปรึกษาสมาคมนักร้อง/ประธานชมรมนักแต่งเพลงอาชีพ) นายประมุข โชติวรรณ (ผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์) นายประเวช จิวัฒนาชวลิตกุล (ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด) นายธนชล วิภพสุวรรณ (เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด ) นางอุไรวรรณ หนูทอง (ฝ่ายกฎหมายบริษัทลิขสิทธิ์เซ็นเตอร์ จำกัด) นางอนงค์นาถ นิลดำ (สมาคมธุรกิจคาราโอเกะไทย ) นายอนันต์ สิงห์พันนา (ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายบริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ร.ต.สุเทพ วงศ์กำแหง (นายกสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย) นายสดใส โรจนวิชัย หรือรุ่งโพธิ์ทอง (นักร้องและนักแต่งเพลง) นายสุติพงษ์ คนสม (รองเลขาธิการสมาคมนักแต่งเพลง) นาย กมล ทัพคัลไลย (นักแต่งเพลง) นายณรงค์ รื่นพิทักษ์ (นักร้อง-นักแต่งเพลง-นักจัดรายการวิทยุ) นายชาตรี ชินวุฒิ (พนม นพพร นายกสมาคมนักแต่งเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย)
๖
วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ นายวินัย พันธุรักษ์ (นักร้อง) นายนิติพงษ์ ห่อนาค (นักร้องและนักแต่งเพลง) นายวิชัย ปุญญะยันต์ (นักร้องและนักแต่งเพลง) นายสลา คุณวุฒิ (นักร้องและนักแต่งเพลง) นายชาตรี ชินวุฒิ (พนม นพพร) (นายกสมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทยและค่ายเพลง นพพร ซิลเวอร์โกลด์) นายปรีชา ธรรมพิภพ (นายกสมาคมอุตสาหกรรมเพลงไทย) นายอัจฉริยะ (จารุ) หร่ำเดช (บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ) นายกริช ทอมมัส (บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) นายประเวช จิวัฒนาชวลิตกุล(บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)และบริษัทจัดเก็บลิขสิทธิ์ไทย จำกัด) นายปรีชา ถาวรานนท์ (บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) นายภิญโญ ทวีแจ่มทรัพย์ (บริษัทลิขสิทธิ์เซ็นเตอร์ จำกัด) นายชูเกียรติ บัวผาง (บริษัท ลิขสิทธิ์เซ็นเตอร์) นายสมควร มีศิลปะสุข (นักแต่งเพลง) นายชนะ เสวิกุล (นักแต่งเพลง) นายอุทัย บุรทวีรัตน์ (ผู้แต่งเพลง) นายปิยะวุฒิ ณ บางช้าง (ผู้แต่งเพลง) นางสาวสุภาวรรณ พวงงาม (นักแต่งเพลง) นายกีรติ ศิริสุทธิพัฒนา (ผู้แต่งเพลง) นายศิลาแลง อาจสกสิ (นักแต่งเพลง) นายกิตติพงศ์ สุขกำแหง (นักแต่งเพลง) นายเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน (นักแต่งเพลง) นายสันติ ชัยปรีชา (นักแต่งเพลง) นายสมพร โชคดีมีบุญ (นักแต่งเพลง) นายพงษ์สุวรรณ รัตนสุวรรณ (นักแต่งเพลง) นาย(อ่านไม่ออก) จรแจ่ม (นักแต่งเพลง) นายจุลาเชษฐ์ เลอเกียรติ (นักแต่งเพลง) นายอิทธิพงศ์ กฤดากร (นักแต่งเพลง) และนายไพรัตน์ ชูรัตน์ (นักแต่งเพลง) มีหนังสือถึงนายกสภาทนายความ เรื่องคัดค้านร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .....
คณะทำงานฯได้ประชุมในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ รวม ๑๔ ครั้ง ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึงการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ส่วนในปี พ.ศ.๒๕๕๒ มีการประชุม ๘ ครั้ง ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ถึงการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ รวมมีการประชุม ๒๒ ครั้ง คณะทำงานฯ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... แล้วเสร็จในการประชุมครั้ง
๗
ที่ ๘/๒๕๕๒ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ อย่างไรก็ตามนายเจษฎา อนุจารี ประธานคณะทำงานมีหนังสือลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒ ถึงอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวประกอบการพิจารณา
นายเจษฎา อนุจารี ในฐานะอุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ รักษาการนายกสภาทนายความ มีหนังสือลงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒ ถึงประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อเสนอโครงการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ..พร้อมส่งร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. ....ดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการฯ ต่อมานายเจษฎา อนุจารี ในฐานะประธานคณะทำงานฯ มีหนังสือลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ถึงอธิบดีศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เพื่อทราบและเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจ
คณะทำงานฯ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับงานลิขสิทธิ์หลายฝ่าย เช่น กลุ่มผู้สร้างสรรค์งานดนตรี กลุ่มผู้สร้างสรรค์งานซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ประกอบการกิจการร้านอินเตอร์เน็ต ผู้ประกอบกิจการจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ กลุ่มผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ด้านวรรณกรรม และกลุ่มผูสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ด้านอื่นๆ มาร่วมประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อนำไปพิจารณาในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๒ คณะกรรมการปฎิรูปกฎหมายอนุมัติโครงการประชุมกลุ่มย่อย โดยสำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมายจัดประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ ๗ : การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานเรื่อง ประชาชนกับการใช้กฎหมายลิขสิทธิ์และกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ณ ห้องแซฟไฟร์ ๗ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีนางสาวสุพัชรา ดิษฐบรรจง บริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย)จำกัด นายพรชัย ศิรินุกูลชร เลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย เป็นวิทยากร โดยมี
๘
นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความเป็นผู้ดำเนินรายการ ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
โดยที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ กำหนดประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์และให้ความคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์ และเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังคงเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ งานอันมีลิขสิทธิ์เป็นสิทธิของเอกชนซึ่งรัฐได้ใช้งบประมาณและทรัพยากรบุคคลจำนวนมากในการบริหารจัดการคุ้มครองสิทธิของเอกชน ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์กลายเป็นปัญหาในระดับสากล ซึ่งประเทศมหาอำนาจใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ และนับวันจะขยายความรุนแรงมากขึ้น ทางภาคเอกชนพยายามใช้มาตรการหลากหลายในการสงวนป้องกันและรักษาสิทธิของตนอย่างเต็มความสามารถ ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ได้มอบหมายให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจัดเก็บผลประโยชน์ค่าตอบแทนลิขสิทธิ์โดยใช้มาตรการจับกุมและบีบบังคับให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์จ่ายเงินแลกกับอิสรภาพและแลกกับการขอทรัพย์สินที่ถูกยึดอายัดคืน โดยมิได้มุ่งหมายต่อการจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์เป็นสำคัญ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดเก็บค่าตอบแทนสำหรับสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณะของงานอันมีลิขสิทธิ์ได้แก่ดนตรีกรรม วรรณกรรม และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คณะทำงานจัดทำร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ....) พ.ศ. .... จึงได้จัดทำร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้น โดยมีองค์ประกอบในการนำเสนอเพื่อการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ในสาระสำคัญดังนี้
๑.กำหนดให้มีการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์
กรณีที่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการดำเนินการบริหารจัดการค่าตอบแทน ที่มี ผู้สร้างสรรค์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์หลายรายและผู้ใช้งานหลายราย โดยผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของสิทธิ์มีความประสงค์ที่
๙
จะบริหารจัดการค่าตอบแทน ซึ่งต้องดำเนินการโดยนิติบุคคลพิเศษ ที่ก่อตั้งโดยสมาชิกได้แก่เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทนั้นๆ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งนิติบุคคลบริหารลิขสิทธิ์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นิติบุคคลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการค่าตอบแทนลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และจัดสรรค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ที่เก็บได้ โดยหักค่าใช้จ่ายพร้อมกับส่งมอบให้แก่สมาชิกโดยเร็วที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลซึ่งมีสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างกรรมการโดยตำแหน่งซึ่งเป็นข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากภาคเอกชนทำหน้าที่กำกับดูแลบริหารจัดการค่าตอบแทนลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเพื่อนำค่าตอบแทนดังกล่าวมาจัดสรรแบ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยความรวดเร็ว และมีความเป็นธรรม
๒. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่คณะกรรมการลิขสิทธิ์
ร่างพระราชบัญญัติฯ ได้แก้ไขอำนาจหน้าที่คณะกรรมการลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๖๐(๓) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ ที่เหมาะสมมากขึ้น โดยให้มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนสมาคมหรือองค์กรของผู้สร้างสรรค์หรือนักแสดงเพื่อสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ และส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย และคุ้มครองหรือปกป้องสิทธิหรือประโยชน์อื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เนื่องจากอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเพื่อจัดเก็บค่าตอบแทนจากบุคคลอื่นที่ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลนิติบุคคลบริหารลิขสิทธิ์ตามร่างกฎหมายใหม่นี้แล้ว
๑๐
อ่านต่อหน้า ๑๑
go-back
|