ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร

เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
 นวัตกรรม

สิทธิบัตร

 ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์
นวัตกรรม
สิทธิบัตร
ครื่องหมายการค้า

 ลิขสิทธิ์

 
   

ข่าวรายวัน/news

คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

  เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

 chinadaily.com.cn/

cctv online

 

สยามรัฐออนไลน์

tv online/ดูทีวีออนไลน์

 

 คมชัดลึก

ผู้จัดการ 

ไทยรัฐ

 เดลินิวส์
ไทยโพสต์

the nation

people.com.cn/

chinadaily.com.cn/

cctv online

 

หนังสือพิมพ์ทั่วไป....

 Timesonline

 

tv online 3,   5,  7,  9,  nbt,  tpbs 

cctvnews 

tcctvโทรทัศน์ไทยจีน

mono29

 百家讲坛


 

中華日報

新中原報

ตำนานสามก๊ก

อ่านตำนานสามก็ก

โปรแกรมแปลภาษา

แปลอังกฤษเป็นไทย 

โปรแกรมแปลไทยเป็นอังกฤษ

แปลอังกฤษ-จีน English-chinese translate

แปลจีนเป็นอังกฤษ          Mandarin-English translate

 


ดูรายชื่อเพลงล่าสุด 

papa menu



papa menu

ตรวจสอบเพลงซ้ำซ้อน

(download) 

ขออนุญาติใบ 

พรบ.ภาพยนต์และวีดีทัศน์

    

ตรวจสอบรายชื่อ

บริษัทจัดเก็บทั้งระบบ


    bluesky TV

Facebook/papakaraoke  


สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทยยื่นหนังสือ คสช  อ่านรายละเอียด........





                                                                                                                                                                                                                                                    

ทรัพย์สินทางปัญญา

ชุมชนบางบัวทอง

karaoke

สมาพันธ์คาราโอเกะแห่งประเทศไทย

The source of intelligence. The original of innovation.The community of Well-being and Peaceful.


สรุป
Individual  Study
เอกัตศึกษาทางกฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจ
เรื่อง

พระราชบัญญัตลิขสิทธิ์  พ.ศ. 2537
กรณีศึกษาปัญหาการจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ในธุรกิจเพลงไทย

 

 

 


นางสาวสุพัชรา  ดิษฐบรรจง (468  63483 34)
เมษายน  พ.ศ. 2548
หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาวิชากฎหมายเศรฐกิจ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1

 

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
               ในประเทศไทย  การจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานลิขสิทธิ์  ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537  โดยการรวมตัวของนักแต่งเพลงไทยก่อตั้งเป็น  บริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี(ประเทศไทย)จำกัด  เพื่อดูแลพิทักษ์สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงต่อสาธารณชนให้กับนักแต่งเพลงที่เป็นสมาชิก  ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (International  Confederation of Societies of Societies of Authors and Composers: CISAC) ทำให้ผลงานของนักแต่งเพลงไทยได้รับการดูแลสิทธิในต่างประเทศด้วย  ในส่วนสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนของงานสิ่งบันทึกเสียงเพลงสากลนั้น  สมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ (International federation of Phonogram Industry: IFPI)  ได้เข้ามาจัดตั้ง IFPI  (Thai Group)  สนับสนุนให้เกิดบริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์)จำกัดขึ้น  โดยเริ่มดำเนินการจัดเก็บสิทธิเผยแพร่สิ่งบันทึกเสียงแก่ค่ายเทปสากลในปี พ.ศ. 2540
                      ช่วงปี พ.ศ. 2542  ได้มีการตื่นตัวในการพิทักษ์สิทธิของค่ายเทปเพลงไทย  โดยเริ่มต้นจากการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ทำซ้ำเพลงในสถานประกอบการคาราโอเกะแบบมิดิไฟล์ รวมถึงการใช้วีซีดีปลอมในตู้เพลง  ตู้คาราโอเกะ  และร้านคาราโอเกะ  ซึ่งต่อมาภายหลังผู้ประกอบการได้เปลี่ยนมาใช้สินค้าที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์  อย่างไรก็ตามในด้านการจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณนั้นยังไม่เป็นที่ลงตัว  เนื่องจากเจ้าของลิขสิทธิ์หลายรายประสงค์จะดำเนินการจัดเก็บค่าสิทธิเอง  เมื่อประกอบกับวิธีการจัดเก็บที่เน้นการใช้มาตรการทางอาญาและมีการมอบอำนาจช่วงให้ตัวแทนหลายราย  จึงทำให้เกิดความสับสนและความเดือดร้อนต่อผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก  โดยปัจจุบันมีบริษัททั้งสิ้นกว่า  10 บริษัท แจ้งต่อคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่าจะดำเนินการจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั้งงานดนตรีกรรมและ/หรืองานสิ่งบันทึกเสียง  มีการใช้สิทธิในทางไม่ชอบ (Abuse of Rights) และมีการรวบสิทธิไว้เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเฉพาะกลุ่ม  สถานการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคม  เศรษฐกิจและระบบลิขสิทธิ์ของประเทศ ซึ่งโดยสรุปแล้วได้แก่

        1.1 ปัญหาต่อสังคม    
               • ผู้ประกอบการรายย่อย (เช่น   ร้านอาหาร คาราโอเกะ)  ซึ๋งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ  อาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เพราะถูกใช้มาตรการทางอาญาในการบังคับใช้สิทธิอย่างไม่เหมาะสม  โดยเสียค่ายอมความสูงหลายหมื่นบาทต่อครั้งของการถูกดำเนินคดี  หรือหากต้องการใช้งานครบทุกค่ายก็ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ (ทั้งงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียง) สูงถึงเกือบหมื่นบาทต่อเดือน
              • เกิดความสับสนเสมือนมีความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ  ซึ่งอาจยากแก่การที่ประชาชนจะเข้าใจ  เพราะ

2


                  -ในเพลง 1 เพลง  ประกอบด้วยงานลิขสิทธิ์ 2 งาน คืองานดนตรีกรรม และงานสิ่งบันทึกเสียง
                  - ใน 1  งานดนตรีกรรม  ผู้แต่คำร้องอาจมอบให้บริษัทหนึ่งจัดเก็บค่าสิทธิ  ในขณะที่ผู้แต่งทำนองอาจมอบให้   อีกบริษัทหนึ่ง
                 - ใน 1 งานดนตรีกรรม  สามารถมีการนำไปทำสิ่งบันทึกเสียง  หลายครั้ง  หลายรูปแบบของดนตรี  โดยภาคธุรกิจต่างบริษัท  ดังนั้นภายใต้เพลงเดียวกัน  สามารถมีงานสิ่งบันทึกเสียงหลายงาน  ผลิตโดยบริษัทหลายแห่ง

            • จากการที่สังคมสับสน  และไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริงของระบบจัดเก็บค่าสิทธิที่จะมีต่อสังคม  จึงอาจเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อระบบคุ้มครองลิขสิทธิ์
            • เกิดความซ้ำซ้อนในระดับจุลภาคที่เป็นปัญหาเดือดร้อน  เช่น  ความซ้ำซ้อนของงานลิขสิทธิ์ที่ถูกเรียกเก็บค่าสิทธิ  เนื่องจากมีการให้เงินล่วงหน้าแก่นักแต่งเพลงแลกกับการเซ็นสัญญาโอนสิทธิเผยแพร่ฯและ/หรือมอบอำนาจการจัดเก็บให้ผู้จัดเก็บทำให้นักแต่งเพลงเซ็นให้ผู้จัดเก็บหลายราย

              1.2    ปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจ  และระบบลิขสิทธิ์ของประเทศ

            • เกิดความซ้ำซ้อนในระดับมหภาคที่อาจทำให้ขาดประสิทธิภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economy  efficiency) เช่น  ความซ้ำซ้อนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต้องเกิดขึ้นกับผู้จัดเก็บทั้งกว่า 10 ราย  ในการติดต่อสถานประกอบการผู้ใช้เพลงแห่งเดียวกัน
            • หลักการขององค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ (ที่มิได้มุ่งหวังผลกำไรและจัดสรรค่าสิทธิตามปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์)  อาจถูกบิดเบือนไปเป็นรูปของธุรกิจการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่ประสงค์ผลกำไรสูง  เนื่องจากมียอดเงินลงทุนที่สูงเกินความจำเป็นอันเกิดจากการซื้อลิขสิทธิ์นักแต่งเพลง
            • หลักการของลิขสิทธิ์ที่ต้องการคุ้มครองและตอบแทนผลประโยชน์เสมือนเป็นรางวัลไห้แก่ผู้สร้างสรรค์นั้นอาจไม่บรรลุผล  เนื่องจากผลตอบแทนค่าสิทธิจะไม่ถึงมือนักแต่งเพลงอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในระยะยาว  จึงไม่สามารถสร้างสมดุลย์ให้เกิดกัยนักแต่งเพลง/ผู้สร้างสรรค์  ภาคธุรกิจ  และผู้ใช้งาน
 
                            รัฐในฐานะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในสังคม  และในฐานะผู้กำหนดนโยบายระบบลิขสิทธิ์ของประเทศ  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ามาแทรกแซงเรื่องของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน  เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้  ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ  และผู้สร้างสรรค์จำนวนมหาศาล  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดดุลยภาพระหว่างผลตอบแทนของนักแต่งเพลงหรือผู้สร้างสรรค์กับธุรกิจเพลงที่มีส่วนทำให้เพลงเป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง  และประชาชนส่วนรวมของสังคมประเทศชาติ  โดยอาจจำเป็นต้องปรับกลไกการบริหารจัดการปรับกลไกข้อกฎหมายและ

3

ข้อบังคับต่างๆให้สอดประสานกับหลักการจัดเก็บค่าสิทธิที่สุจริต  เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับว่าสอดคล้องกับระบบในระดับสากล
                รายงานฉบับนี้ทำการศึกษาระบบจัดระบบจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานดนตรีกรรม  ที่มีในต่างประเทศ  แล้วทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์  การจัดเก็บค่าสิทธิของธุรกิจเพลงในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา
                จากการศึกษาพบว่า  เพลงมีลักษณะบางส่วนในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เสมือนเป็นสินค้าสาธารณะ (Public goods)  ประกอบกับลักษณะของสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณนั้น   เกี่ยวข้องกับเจ้าของสิทธิและผู้ใช้งานมากมาย  จึงมีการรวมตัวของผู้สร้างสรรค์/เจ้าของสิทธิเป็นองค์กรเพื่อบริหารจัดการสิทธินี้   วิวัฒนาการการจัดเก็บค่าสิทธิ์ในธุรกิจเพลงนั้นเริ่มต้นในทวีปยุโรป  จนมีการรวมตัวของผู้สร้างสรรค์เพื่อดูแลสิทธิต่างๆ โดยเป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากล

              การรวมตัวของผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์และงานสิทธิข้างเคียงในธุรกิจเพลง  ซึ่งมีองค์กรในระดับระหว่างประเทศใหญ่ๆ 3 องค์กร  ซึ่งแยกกันชัดเจนระหว่างงานดนตรีกรรมสร้างสรรค์โดยนักแต่งเพลง (ซึ่งอาจเรียกรวมว่า Author  Society) และงานสิ่งบันทึกเสียงที่สร้างสรรค์โดยภาคธุรกิจ (Sound Recording Society) องค์กรในระดับระหว่างประเทศทั้ง 3 องค์กรได้แก่

      • สมาพันธ์  CISAC องค์กรนักแต่งเพลง  ดูแลสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานดนตรีกรรม
      • สมาพันธ์  BIEM  ในส่วนสิทธิทำซ้ำงานดนตรีกรรมลงบนสื่อต่างๆ
      • สมาพันธ์  IFPI  ในส่วนของงานสิ่งบันทึกเสียง

                องค์กรบริหารการจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่งานดนตรีกรรมต่อสาธารณชน  มีองค์กรหลักที่ดำเนินการระหว่างประเทศคือ  สมาพันธ์แห่งสมาคมผู้สร้างสรรค์และนักแต่งเพลงระหว่างประเทศ (CISAC) ซึ่งกำหนดบทบาทขององค์กรให้ดำเนินการบริหารจัดเก็บค่าสิทธิที่ต้องคำนึงถึงสมดุลระหว่างสิทธิของนักแต่งเพลงและสังคมโดยรวม  โดยจัดเก็บแบบเหมารวมแล้วจัดสรรให้แก่นักแต่งเพลงตามปริมาณการใช้งาน (Collective  Licensing but  Individual Distribution) โดยไม่แสวงหากำไร  กล่าวคือ  ค่าสิทธิที่จัดเก็บมาได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายดำเนินการที่เกิดขึ้นจริงแล้วต้องจัดสรรให้แก่สมาชิกนักแต่งเพลง  ดังนั้นการที่องค์กรบริหารการจัดเก็บค่าสิทธินี้จะดำเนินงานในประเทศต่างๆได้  จำเป็นต้องมีภาครัฐเข้ามามีบทบาท  ทั้งในแง่การกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กร  และการสร้างกลไกระงับข้อพิพาท  ขอบเขตการเข้ามามีบทบาทของ

4

 ภาครัฐนั้นมีระดับต่างๆ  กันไปในแต่ละประเทศ  เช่น รัฐอาจเข้ามากำกับดูแลครอบคลุมเคร่งครัดเช่น  ในประเทศเยอรมันนี  ฝรั่งเศส  หรืออาจเข้ามากำกับดูแลไม่มาก  เช่น  ในประเทศสหราชอาณาจักร  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันคือ  องค์กรบริหารการจัดเก็บในแต่ละประเทศส่วนใหญ่แล้ว  มีลักษณะของความจริงที่เป็นการผู้กขาด (de  factor  Monopoly) คือ  1  องค์กรต่อ 1 ประเภทสิทธิของ 1 ประเภทงาน หรือไม่ก็  1  องค์กรต่อ 1 ประเภทงาน  ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีองค์กรจัดเก็บ  3  องค์กร  แต่ในสหรัฐนั้น  สิ่งบันทึกเสียงไม่ได้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่งานต่อสาธารณชน  อย่างไรก็ตามในทุกๆประเทศจะมีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้าเข้ามากำกับการทำงานขององค์กรเช่นกัน

2. บทบาทภาครัฐต่อการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

                 องค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์  (Collective  Management Organization) จะต้องเป็นองค์กรที่รับรองด้วยกฎหมาย  (Legally  Cognizable Entity) และมีระดับขั้นของการร่วมสิทธิ (Degree  of  Collectivization)  ซึ่งแสดงโดยนัยถึงการที่ภาครัฐต้องเข้ามามีส่วนกำกับดูแลไม่มากก็น้อย

                ระดับขั้นของการร่วมสิทธินี้หมายถึง  ระดับอำนาจควบคุมสิทธิที่ยังคงไว้กับเจ้าของสิทธิเมื่อเทียบกับระดับการความควบคุมที่องค์กรมี  ซึ่งเมื่อพิจารณาในมุมนี้แล้วจะสามารถแยกรูปแบบองค์กรบริหารการจัดเก็บค่าสิทธิได้ 4 รูปแบบ  คือ

      • องค์กรรวมกลุ่มตัวแทน (Agency – Collective  Organization)
      • องค์กรรวมกลุ่มอนุญาตสิทธิ (Collective Licensing Organization)
      • องค์กรจัดเก็บและจัดสรร(Collection  of  Distribution Organization)
      • องค์กรรวมสิทธิสังคมนิยม  (Social  Collective)

                     ดังแสดงในรูปที่ 1  จะเห็นว่า  องค์กรรวมกลุ่มแบบตัวแทน (Agency-Collective) นั้นที่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ  ยังมีอำนาจควบคุมสิทธิสูง  ลักษณะเช่นนี้เหมาะกับสิทธิทำซ้ำงานดนตรีกรรมที่บริหารจัดการโดยผู้สร้างสรรค์/เจ้าของสิทธิ  บริษัทโฆษณาดนตรี หรือ ตัวแทน สำหรับองค์กรรวมกลุ่มอนุญาตสิทธิ  (Collective-Licensing) นั้น  เจ้าของสิทธิยอมสละอำนาจในการอนุญาตให้ใช้สิทธิแก่องค์กร  โดยใช้อำนาจทางอ้อมด้วยการเข้าไปบริหารจัดการองค์กรนั้นๆ  องค์กรลักษณะนี้จะทำการอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบเหมารวมและผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานในความดูแลขององค์กรได้ทั้งหมด  จึงทำให้องค์กรแบบนี้เหมาะกับการจัดการสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานดนตรีกรรมและงานสิทธิข้างเคียง


5

อ่านหน้าต่อไป.....

กลับหน้าเดิม....

 

homepage..

 


         

Copyright 2006, bangbuathong.org All rights reserved.