ผลการบังคับใช้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปี ๒๕๓๗
เอกสารประกอบบทวิเคราะห์สภาทนายความ -1- สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย
ผลการบังคับใช้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ปี 2537
สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลงลิขสิทธิ์ มีสมาชิกที่หลากหลายในทุกภาคส่วนของผู้ใช้งานโดยไม่มีการแบ่งแยก ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมตามสิทธิที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ สะท้อนปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บลิขสิทธิ์มาอย่างต่อเนื่องแสวงหาความร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน เพื่อการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
1) การเริ่มจัดเก็บมี 2 กลุ่มองค์กรจัดเก็บลิขสิทธิ์เผยแพร่ มีการแข่งขันแย่งชิงความได้เปรียบโดยการรวบรวมเจ้าของสิทธิ์ต่างๆเข้ามาอยู่ฝ่ายตนให้มากที่สุดเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางธุรกิจ จนเกิดความขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่มจัดเก็บ แต่ละฝ่ายต่างกดดันผู้ประกอบการเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของผลประโยชน์ที่ตนต้องการ โดยอาศัยอำนาจคุ้มครองตามกฎหมายเป็นเครื่องมือ
2) ผลจากความขัดแย้งดังกล่าวของกลุ่มบริษัทจัดเก็บฯ ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลง ในเรื่องการอ้างสิทธิ์และอัตราจัดเก็บฯ ขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมาย การขาดข้อมูลและการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ การละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างรุนแรง กับการรุกคืบอย่างรวดเร็วในกระบวนการจัดเก็บไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งมีการบังคับใช้สิทธิ์ทางกฎหมายที่รุนแรงในขั้นตอนทางปฏิบัติที่มีโทษทางอาญาและค่าประกันตัวด้วยวงเงินที่สูง การยึดของกลางแบบเหวี่ยงแห การล่อซื้อเพลงเป้าหมาย การประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วนในการข่มขู่ กดดันให้มีการยอมความเพื่อเรียกรับผลประโยชน์ตอบแทน จนเกิดการสูญเสียชีวิตของผู้ประกอบการและมีการทำลายทรัพย์สินฯและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเพื่อเป็นการตอบโต้ จากผลดังกล่าวทำให้เกิดการขยายผลต่อต้านจากผู้ประกอบการที่รุนแรงขึ้น ทำลายภาพพจน์ที่ดีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อคุ้มครองเจ้าของสิทธิ์
3) การรวบรวมเจ้าของสิทธิ์ของทั้งสองกลุ่ม โดยวิธีการเหมาจ่ายตามกำหนดเวลา ที่แตกต่างกันของแต่ละราย และการดำเนินการจัดเก็บที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่เป็นที่ยอมรับ ทำให้เกิดความหวาดระแวงและสร้างเงื่อนไขให้เกิดการต่อรองผลประโยชน์ที่ซับซ้อน เพราะมีเจ้าของสิทธิ์หลายราย เป็นที่มาของการแยกตัวออกมาตั้ง บริษัทจัดเก็บฯเป็นของตนเองหรือกลุ่มของตนเองเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4) การไม่มีการจดทะเบียนข้อมูลเจ้าของสิทธิ์ ของภาครัฐ และการถ่ายโอนสิทธิ์หรือการมอบอำนาจเป็นไปอย่างเสรี นำมาซึ่งปัญหาการอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน และการกำหนดอัตราจัดเก็บอย่างเสรี ทำให้การจัดเก็บขาดเสถียรภาพและความต่อเนื่อง เนื่องจากการต่อต้าน ประท้วงของผู้ประกอบการทั่วประเทศในกรณีการบังคับใช้คดีอาญาฯ
เอกสารประกอบบทวิเคราะห์สภาทนายความ -2- สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย
5) จากการไร้เสถียรภาพและไร้ระเบียบ แบบแผนของระบบจัดเก็บ ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์ของทีมจับและเจ้าหน้าที่ที่ประพฤติมิชอบ ที่ใช้คดีอาญามีโทษจำคุก ต้องประกันตัวในวงเงินที่สูง เป็นเครื่องมือในการข่มขู่ กดดันผู้ต้องหาให้มีการจ่ายค่าตอบแทนในการยอมความ จากผู้ประกอบการที่ไม่มีข้อมูลความรู้ในการป้องกันตนเอง
6) มีการซื้อสิทธิ์จากครูเพลงของทีมจับเพื่อ เป็นเครื่องมือในการล่อซื้อเพลงเป้าหมายที่มีปัญหาซ้ำซ้อนกับเจ้าของสิทธิ์อื่นๆ ในลักษณะการใช้สิทธิ์ที่ไม่สุจริตของกลุ่มมิจฉาชีพ ออกตระเวนล่าเหยื่อให้สินบนเจ้าหน้าที่ในการจับกุมรีดไถ ข่มขู่กรรโชกทรัพย์ต่อผู้ประกอบการที่ไม่รู้เท่าทันข้อเท็จจริง
7) เกิดกระบวนการทำลายวงจรธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยทีมจับ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ประกอบการตู้คาราโอเกะ เพื่อยึดตู้เป็นของกลาง แล้วนำตู้ของตนเองเข้ามาตั้งแทนที่ ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ยอมจ่ายเงินยอมความหรือต้องการต่อสู้ทางคดีฯ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไร้คุณธรรม การกระทำดังกล่าว จะตัดวงจรการซื้อสิทธิ์ของทุกบริษัทฯ เพราะมีเจตนาที่ไม่สุจริต
8) เกิดกลุ่มอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ที่ประพฤติมิชอบตั้งตัวเรียกค่าคุ้มครองจากผู้ประกอบการ โดยการแอบอ้างการคุ้มครองจากทุกบริษัทฯ ในการขายสติ๊กเกอร์ปลอมอย่างผิดกฎหมาย ทำให้เกิดค่านิยมที่ผิดในการใช้งานลิขสิทธิ์ บ่อนทำลายผลประโยชน์ในระยะยาวของผู้สร้างสรรค์และเจ้าของสิทธิ์
9) ผลลัพท์ที่ตามมาของความผิดพลาดในการบริหารจัดการของระบบ คือบริษัทจัดเก็บฯต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มอิทธิพลในท้องถิ่นหรือทีมจับที่ทุจริตต่อหน้าที่ และการต่อต้านจากผู้ประกอบการในทุกภาคส่วน ประชาสังคมมองภาพพจน์ของบริษัทจัดเก็บและระบบจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลง ในแง่ลบไม่ให้ความร่วมมือ ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการและความเสียหายเพิ่มสูงขึ้นจากการเผชิญหน้ากันในพื้นที่และการดำเนินการทางคดีความต่างๆ 10) การขึ้นอัตราจัดเก็บอย่างเสรี และต่อเนื่อง ต่อผู้ประกอบการมีสาเหตุมาจากหลายส่วนหลักคือ ต้นทุนในการดำเนินการสูงขึ้นเพราะกระแสต่อต้านจากสังคม การซื้อเพลงแบบเหมาจ่ายเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง การจัดเก็บไม่มีประสิทธิภาพ เพราะความผิดพลาดของนโยบาย ทั้งที่ผู้ใช้งานเพลงจะใช้เพลงที่ได้รับความนิยมตามกระแสในปริมาณเท่าเดิมของการหมุนเวียนของเพลงที่ได้รับความนิยมเท่านั้น ซึ่งขัดต่อ ตรรกทางธุรกิจ ที่หลักการค้าทั่วไป ยิ่งซื้อมากยิ่งถูกมาก แต่ในระบบลิขสิทธิ์ปัจจุบันยิ่งซื้อยิ่งแพง และยิ่งเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีทั้งที่ซื้อสิทธิ์อย่างถูกต้องแล้ว การบังคับจัดเก็บล่วงหน้า 3-12 เดือน และหากหมดอายุหรือเกิดความผิดพลาดในการต่อสัญญา ก็จะถูกจับ
เอกสารประกอบบทวิเคราะห์สภาทนายความ -3- สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย
ดำเนินคดีอาญาทันที เทียบเคียงกับการเช่าบ้านที่ทำสัญญาล่วงหน้า แต่จ่ายเป็นรายเดือน และมีโอกาสผัดผ่อนหรือเจรจาขอเลิกสัญญาได้
11) ในส่วนของโทษอาญาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เทียบเคียงกับ พ.ร.บ.เช็คที่หากเช็คคืนไม่สามารถเบิกเงินได้ในกรณี จ่ายเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมหรือแลกเงินสด จะไม่สามารถดำเนินคดีทางอาญาแม้จำนวนเงินจะสูงเท่าใดก็ตาม แต่การละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่ เกิดความเสียหายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความเสียหายจากการจ่ายเช็ค ต้องรับโทษทางอาญา ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแง่ของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและทัดเทียมกัน การลงโทษการละเมิดลิขสิทธิ์เผยแพร่และการทำซ้ำรายย่อย ในทางอาญาจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เสมอภาค ซึ่งตามหลักการทางสากลของกฎหมายระหว่างประเทศเช่นอนุสัญญา (Berne Convention) มีโทษการละเมิดเป็นคดีแพ่งเท่านั้นเช่นในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศส่วนใหญ่ของโลก ยกเว้นในกรณีการละเมิดขนาดใหญ่เท่านั้นที่เป็นคดีอาญาเช่นข้อตกลง (Trips Agreement)
12) การใช้มาตรการที่รุนแรงทางอาญาในการบังคับจัดเก็บ สิทธิ์เผยแพร่ ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างรุนแรง แต่ยังส่งผลกระทบถึงบริษัทจัดเก็บเอง เพราะการจับกุมแต่ละครั้ง ในกรณีที่มีการอ้างสิทธิ์ซ้ำซ้อนกัน ร้านค้าจะถูกยึดอุปกรณ์ต่างๆเป็นของกลาง ตัดหนทางในการทำการค้าต่อไป จนต้องล้มละลายหรือเลิกกิจการ ผลลัพธ์ดังกล่าวจะตัดวงจรการซื้อสิทธิ์จากทุกบริษัทฯที่เคยซื้ออยู่อย่างถาวร 13) มีการร้องเรียนต่อภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
จากผลกระทบและความไม่มีเสถียรภาพในระบบการจัดเก็บ ผู้ประกอบการที่ใช้งานเพลงได้เข้าร้องเรียนต่อภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักนายกฯ ภายใต้สถานการณ์ที่มีการแยกตัวออกมาตั้งบริษัทจัดเก็บฯเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรุนแรง มีการร้องเรียนถึงกรรมาธิการสภาฯหลายคณะ เช่นกรรมาธิการตำรวจ กรรมาธิการการท่องเที่ยว กรรมาธิการสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น 14) มีการจัดประชุมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาลิขสิทธิ์ ในหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางลิขสิทธิ์จากประเทศต่างๆเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในแต่ละประเทศ ทำให้มีโอกาสแสวงหาองค์ความรู้อย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เอกสารประกอบบทวิเคราะห์สภาทนายความ -4- สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย
15) มีการตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บฯของกรมทรัพย์ฯ โดยมีนายยรรยง พวงราช ซึ่งเป็นรองอธิบดีฯ ในขณะนั้น เป็นประธาน ฯ มีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ แต่เมื่อถึงบทสรุปสุดท้ายได้มีการเชิญตัวแทนผู้ประกอบการเข้าพบ โดยมีการชี้แจงว่ากฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ปัจจุบันไม่มีอำนาจเพียงพอในการดำเนินการจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นจุดเปลี่ยนของความหวังและเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์อย่างจริงจัง 16) มีการชุมนุมประท้วงของ 7 องค์กร ช่วงเวลานั้นผู้ประกอบการและนักแต่งเพลงได้รวมตัวกันประท้วงที่ บริเวณลานพระรูปฯ ในนาม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บลิขสิทธิ์ โดยมีองค์กรผู้ใช้งาน นักแต่งเพลง บริษัทจัดเก็บ เข้าร่วมถึง 7 องค์กร มีการยื่นหนังสือต่อประธานสภาฯ และสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ในสมัยอดีตนายก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
17) แก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์เพื่อให้มีองค์กรจัดเก็บ จากผลสรุปของปัญหาการจัดเก็บค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ปี 2537 ไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงนำมาซึ่งกระบวนการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีองค์กรจัดเก็บที่เป็นมาตรฐานสากล 18) มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ โดยมีนายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดีฯ เป็นประธานใช้เวลาประมาณสองเดือนในการร่างฯ แต่เมื่อมาถึงตอนท้ายได้มีการคัดค้านจากฝ่ายบริษัทจัดเก็บฯ พร้อมกับเกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้นในวงการเป็นที่ล่ำลือกันภายในแต่ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน มีผลให้ร่างดังกล่าวไม่มีการผลักดันต่อไป 19) เดือนกันยายน 2548 ได้มีการเผยแพร่ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯที่มีการนิยาม องค์กรจัดเก็บขึ้นบนเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและต่อมาภายหลังไม่นานได้มีการเผยแพร่ร่างฯที่มีนิยาม บริษัทจำกัด ขึ้นมาแทนร่าง องค์กรจัดเก็บ ซึ่งเป็นที่เคลือบแคลงใจของผู้ประกอบการถึงความไม่มีแนวทางที่แน่นอน ในการแก้ปัญหา 20) มาถึงยุคสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการนำร่างแก้ไขที่มีนายบรรยง ลิ้มประยูรวงศ์เป็นประธานฯเป็นร่างที่มีนิยาม บริษัทจำกัด นำเข้าพิจารณาใน ค.ร.ม. ที่มี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากผ่านการอนุมัติได้มีการนำเสนอเข้าสภาฯ ในขณะนั้นได้มีเสนอร่างประกบเข้ามาอีก 2 ร่างคือร่างของ ส.น.ช. ดร.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ที่เสนอให้ยกเว้นความผิดของผู้พิการทางสายตาสามารถนำงานมาแปลเป็นภาษาของคนพิการได้โดยไม่มีโทษ และร่างของ ส.น.ช. กงกฤษ หิรัญกิจ ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาร่างที่ได้เสนอเข้ามา
เอกสารประกอบบทวิเคราะห์สภาทนายความ -5- สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย
21) ในขณะนั้นเลขาธิการสมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการ ได้เข้ายื่นหนังสือสนับสนุนต่อประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ในขณะเดียวกันมีการยื่นหนังสือสนับสนุนของสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทยต่อคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขพรบ.ลิขสิทธิ์ฯ ท่ามกลางการชุมนุมคัดค้านร่างแก้ไขของ ส.น.ช. จากฝ่ายตัวแทนศิลปินค่ายเพลงและบริษัทจัดเก็บฯ อย่างเข้มข้นที่บริเวณหน้ารัฐสภาฯ หลังจากผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการแล้วได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาฯ พิจารณาผ่านวาระแรก แต่ สภาฯ ได้หมดวาระเสียก่อนในเวลาที่กระชั้นชิดจึงไม่ทันผ่านการพิจารณาออกมาประกาศใช้ 22) จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบันที่มี ฯพณฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติ ครม.ให้เดินหน้าแก้ไขร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต่อไป วันที่ 24 เมษายน 2552 ได้มีหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ ตามมติที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 ได้แต่งตั้งให้ นางปัจฉิมา ธนสันติ รองอธิบดีฯเป็นประธานคณะกรรมการ(ต่อมาภายหลังนางปัจฉิมา ธนสันติได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา)
23) คณะทำงานร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ สภาทนายความ ที่มา หลักการและเหตุผล อันเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมไม่สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรงนับวันยิ่งยุ่งยาก ซับซ้อนเกินกว่าจะเยียวยา สมาพันธ์องค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ไทย โดยเลขาธิการนายพรชัย ศิรินุกูลชรและที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นายชยธวัช อติแพทย์ ได้นำประเด็นปัญหาเข้าหารือกับสภาทนายความในทุกแง่มุม มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมายอย่างต่อเนื่อง จนตกผลึกทางความเห็นว่า พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ปี 2537 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่อไปได้จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาร่าง พรบ.ลิขสิทธิ์ในส่วนขององค์กรจัดเก็บ 24) มีองค์ประกอบจากองค์กรผู้ใช้งานต่างๆ องค์กรผู้สร้างสรรค์และเจ้าของสิทธิ์ นักวิชาการ บริษัทจัดเก็บและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของสภาทนายความ เข้าร่วมเป็น คณะทำงานร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ โดยนำร่างต่างๆที่มีอยู่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และของต่างประเทศ มาศึกษา เปรียบเทียบ ปรับปรุง ใช้เวลาประชุมระดมความคิดเห็นไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง และเชิญผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีผลกระทบเข้าร่วมประชุมโฟกัสกรุ๊ป จนสำเร็จเป็นร่างที่มีการนิยาม นิติบุคคลบริหารค่าตอบแทนลิขสิทธิ์ เป็นองค์กรจัดเก็บ กำหนดให้มีการวางกรอบโครงสร้าง 25) -การจัดตั้งองค์กรจัดเก็บให้มีการบริหารบัญชีงานป้องกันปัญหาสิทธิ์ซ้ำซ้อน -บริหารจัดการค่าตอบแทนลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด -เพื่อนำค่าตอบแทนดังกล่าวมาจัดสรรแก่เจ้าของสิทธิ์อย่างรวดเร็ว และเป็นธรรม -โดยไม่มีการแสวงหากำไร
อ่านหน้าต่อไป.......
home-page กลับหน้าเดิม |