อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม
(Paris Convention for the Protection of Industrial Property)
1 อนุสัญญากรุงปารีสคืออะไร
1.1 อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม(Paris Convention for the Protection of Industrial Property) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Paris Convention นั้น เป็นหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมที่ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีจะต้องถือปฏิบัติ เพราะจะเป็นการลดช่องว่างของการจัดให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมประเภทต่างๆของแต่ละประเทศให้ลดน้อยลง
1.2 ประเภทของทรัพย์สินอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองตาม Paris Convention ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร การออกแบบอุตสาหกรรม เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการแข่งขันอันไม่เป็นธรรม
2 อนุสัญญากรุงปารีสมีความสำคัญอย่างไร
2.1 ความสำคัญของอนุสัญญากรุงปารีส คือ ประเทศใดที่ต้องการที่จะเข้ามาเป็นภาคีสมาชิกของ PCT ประเทศนั้นจะต้องสมัครเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงปารีสก่อน
2.2 ประเทศสมาชิกของ PCT จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสิทธิบัตรที่มีมาตราฐานขั้นต่ำสอดคล้องกับอนุสัญญากรุงปารีส
3 หลักการสำคัญของอนุสัญญากรุงปารีส
Paris Convention ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการคือ
3.1 หลักการให้ผลปฏิบัติอย่างคนชาติ (national treatment)
ประเทศสมาชิกมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมของประชาชนของประเทศสมาชิกอื่นเช่นเดียวกับประชาชนในประเทศตนเองโดยไม่เลือกปฏิบัติ
3.2 หลักการให้สิทธินับวันยื่นครั้งแรก (right of priority)
ประเทศสมาชิกจะต้องให้ความคุ้มครองแก่คนของประเทศสมาชิกอื่นที่ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้าในประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นครั้งแรกและต่อมาภายใน 12 เดือน(สำหรับสิทธิบัตร) หรือ 6 เดือน (สำหรับเครื่องหมายการค้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์) ผู้ขอได้ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศอื่นอีก ให้ถือว่าการขอยื่นจดทะเบียนครั้งหลังได้ยื่นขอในวันที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนครั้งแรก
3.3 หลักการที่ประเทศภาคีจะต้องถือปฏิบัติ (common rules)
(1) สิทธิบัตร (Patents) มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
ผลของการจดทะเบียนไม่ผูกพันประเทศภาคีอื่น กล่าวคือ สิทธิบัตร ที่ออกให้ในประเทศใดประเทศหนึ่งจะไม่มีผลผูกพันประเทศอื่นให้ต้องคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ หากต้องการที่จะได้รับความคุ้มครองจะต้องนำการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นไปยื่นขอจดทะเบียนในประเทศสมาชิกที่ต้องการได้รับความคุ้มครองอีกต่างหาก และเป็นสิทธิของแต่ละประเทศที่จะพิจารณารับจดทะเบียน
-ประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิแก่ผู้ประดิษฐในอันที่จะให้มีการระบุชื่อของตนสิทธิบัตร
-ประเทศสมาชิกมีอำนาจที่จะกำหนดมาตรการบังคับในกรณีที่เจ้าของสิทธิบัตรใช้สิทธิโดยไม่ถูกต้อง
(2) เครื่องหมายการค้า (Trademarks) มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
-ผลของการจดทะเบียนไม่ผูกพันประเทศภาคีอื่น กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศภาคีประเทศใดประเทศหนึ่งไม่มีผลผูกพันประเทศอื่นให้ต้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้านั้นด้วย เจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องไปยื่นขอจดทะเบียนในประเทศสมาชิกอื่นที่ต้องการได้รับความคุ้มครอง และเป็นสิทธิของแต่ละประเทศที่จะพิจารณารับจดทะเบียน
-ประเทศภาคีมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well-known and collective marks) แม้เครื่องหมายการค้านั้นจะไม่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศหรือถ้าปรากฏว่าได้รับจดทะเบียนให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของ ก็จะต้องเพิกถอนการรับจดทะเบียนนั้น
-ประเทศภาคีมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองสำหรับเครื่องหมายบริการและเครื่องหมายร่วม (service marks and collective marks)
-ประเทศภาคีมีหน้าที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้แล้ว โดยที่เครื่องหมายการค้านั้นจะต้องไม่มีการใช้เป็นระยะเวลาติดต่อกันพอสมควร และผู้จดทะเบียนไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุผลอันสมควร
(3) แบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม (Industrial Designs)
ประเทศภาคีจะต้องให้ความคุ้มครองแก่แบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมและจะต้องไม่ปฏิเสขการให้ความคุ้มครองโดยมีเหตุผลแต่เพียงว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ผลิตในประเทศสมาชิก
(4) ชื่อทางการค้า (Trade Names)
ประเทศภาคีจะต้องให้ความคุ้มครองแก่ชื่อทางการค้าโดยไม่บังคับว่าจะต้องมีการจดทะเบียน (ชื่อบุคคลหรือชื่อนิติบุคคล ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คุ้มครองอยู่แล้ว)
(5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Indications of Source or Appellations of origin)
ประเทศภาคีจะต้องกำหนดให้มีมาตรการป้องกันการใช้โดยตรงหรือโดยอ้อมซึ่งคำแสดงแหล่งกำเนิดของสินค้า ผู้ผลิต หรือผู้ขายอันไม่ตรงกับความจริง
(6) การแข่งข้นอันไม่เป็นธรรมในทางการค้า (Unfair Competition)
ประเทศภาคีจะต้องกำหนดให้มีการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการแข่งขันอันไม่เป็นธรรมทางการค้า
(7) การบริหาร (Administration)
ประเทศภาคีจะต้องมีสำนักงานกลาง (Central office) เพื่อให้บริการด้านทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและต้องออกวารสารเพื่อโฆษณาการออกสิทธิบัตรหรือการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าเป็นสมชิก Paris Convention
1 ประชาชนคนไทยจะได้รับการปฏิบัติในด้านทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมในประเทศสมาชิกอื่นเช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกเหล่านั้นให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในประเทศของเขา
2 ทำให้คนไทยสามารถคุ้มครองสิทธิในทางทรัพย์สินอุตสาหกรรม เช่น สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าที่ถูกละเมิดในต่างประเทศได้ง่าย รวดเร็๋ว และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
3 คนไทยจะได้รับสิทธิในการขอให้นับวันยื่นย้อนหลัง (right of priority) หากได้ยื่นคำขอในประเทศที่เป็นสมาชิกอนุสัญญากรุงปารีสเป็นครั้งแรก และต่อมาได้ยื่นตำร้องขอจดทะเบียนการประดิษฐเดียวกันในประเทศสมาชิกอื่นๆ ในกรณีนี้ จะถือว่าการยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังได้ยื่นในวันที่ยื่นขอจดทะเบียนครั้งแรก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยในการที่จะนำมาอ้างว่าตนมีสิทธิที่ดีกว่าคนอื่นที่ยื่นคำขอในประเทศสมาชิกภายหลัง
4 ทำให้ประเทศต่างๆในโลกมองภาพพจน์ของประเทศไทยเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมดีขึ้น
5 เป็นการส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นเทคโนโลยีทางด้านต่างๆจากต่างประเทศมากขึ้น เพราะการที่ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรมก็เท่ากับได้ให้หลักประกันในการให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีของสังคมโลกแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนให้นักประดิษฐ์และผู้ลงทุนจากต่างประเทศมายื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยมากขึ้น
6 ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลและเอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีต่างๆ ที่ขอรับสิทธิบัตรได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายขึ้น ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมา ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเพื่อปรับปรุงรูปแบบและเพิ่มสมรรถนะขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมของไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นต่อไป
7 ประเทศไทยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกในการเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญากรุงปารีสเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสมาชิกสหภาพเบิร์นภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ค.ศ.1886 แก้ไขเพิ่มเติม ณ กรุงปารีส ค.ศ.1971 และ ค.ศ.1979 ซึ่งประเทศไทยได้เสียค่าบำรุงสมาชิกภาพแก่สหภาพเบิร์นอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเสียเงินให้แก่สหภาพปารีสอีก
สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรคืออะไร
สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือที่เรียกกกันทั่วๆไปว่า PCT เป็นสนธิสัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสิทธิบัตร ที่วางระบบและกฎเกณฑ์ให้ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกต้องปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวถือกำเนิดมาจากการศึกษาวิจัยเพื่อหาทางแก้ปัญหาความไม่สะดวกในการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในระบบดั้งเดิม โดยให้สามารถยื่นคำขอเพียงครั้งเดียวก็สามารถระบุให้คำขอนั้นมีผลผูกพันไปยังประเทศต่างๆได้หลายประเทศตามที่ผู้ยื่นคำขอต้องการ อีกทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนในการดำเนินการของผู้ยื่นคำขอและสำนักงานสิทธิบัตรของแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศต่างๆจึงได้มีการจัดประชุม จึงเพื่อยกร่างสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตรที่ได้มีการลงนาม ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.1970 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 1978 ซึ่งในขณะนั้นมีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 18 ประเทศ
กระบวนการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรภายใต้ระบบ PCT
การยื่นคำขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในระบบ PCT จะประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ส่วนคือ การดำเนินการระดับในระหว่างประเทศ (International Phase) และการดำเนินการในระดับภายในประเทศ (National Phase)
ก. การดำเนินการในระดับระหว่างประเทศ
1 การยื่นคำขอระหว่างประเทศ
ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีสัญชาติหรืออาศัยอยู่ในประเทศภาคีแห่งใดแห่งหนึ่งยื่นทำการยื่น "คำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (International Phase)
2 สถานที่ยื่นคำขอระหว่างประเทศ
ผู้ยื่นคำขอสามารถยื่นคำขอ ณ สำนักงานสิทธิบัตรที่รับคำขอในประเทศ (Receiving Office) หรือยื่นตรงต่อสำนักงานสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (International Bureau) ของ WIPO
3 การดำเนินการภายหลังการยื่นคำขอของสำนักงานสิทธิบัตรที่รับคำขอ
เมื่อสำนักงานได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอระหว่างประเทศที่ผู้ขอได้ยื่นแล้ว สำนักงานก็จะดำเนินการออกวันยื่นคำขอ (Filing Date) และจัดส่งคำขอฉบับหนึ่งไปยัง WIPO เพื่อเป็น Record Copy และสำเนาคำขอฉบับที่ 2 จะจัดส่งไปยังสำนักงานสิทธิบัตรที่มีอำนาจในการสืบค้น เพื่อเป็น Search Copy และสำเนาคำขอฉบับที่ 3 จะเก็บเอาไว้ที่สำนักงานเพื่อเป็น Home Copy
4 การชำระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอที่จะต้องชำระ ณ สำนักงานรับคำขอจะมีเพียงค่าธรรมเนียมที่มีลักษณะเป็น Single set fee กล่าวคือจะเป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายเป็นชุดในคราวเดียวซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมในการจัดส่งเอกสาร (Transmittal Fee) ค่าธรรมเนียมการตรวจค้น (Search Fee) และค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณา (Publication Fee) โดยค่าธรรมเนียมจะผันแปรไปตามจำนวนประเทศที่ผู้ขอระบุเพื่อขอรับความคุ้มครอง แต่อย่างไรก็ตามหากประเทศใดที่มีจำนวนประชากรที่มีรายได้ต่อหัวต่ำกว่า 3,000 USD ต่อปี จะได้รับการลดหย่อน 75% ของค่าธรรมเนียมปกติ
5 ภาษาที่ใช้ในการยื่นคำขอระหว่างประเทศ
ผู้ยื่นคำขอสามารถใช้ภาษาใดก็ได้ที่กำหนดโดยสำนักงานที่รับคำขอนั้นๆในการยื่นคำขอ แต่อย่างไรก็ตามหากผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอโดยใช้ภาษาที่ไม่ได้กำหนดไว้สำหรับการสืบค้น (Searching) และการประกาศโฆษณา (Publication) ซึ่งภาษาดังกล่าวประกอบด้วย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศล เยอรมัน ญี่ปุ่น รัสเซีย และสเปน ผู้ยื่นคำขอจะต้องจัดทำคำแปลสำหรับคำขอนั้นด้วย
6 การสืบค้นคำขอระหว่างประเทศ
การสืบค้นคำขอระหว่างประเทศ จะกระทำโดยสำนักงานที่มีอำนาจสืบค้นคำขอระหว่างประเทศ (International Search Authority:ISA) โดยสำนักงานจะทำการสืบค้นจากเอกสารสิทธิบัตรของประเทศต่างๆ รวมทั้งเอกสารวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสืบค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวข้อง (Prior Art) รวมถึงเรื่องของความใหม่ (Novelt y) และการประดิษฐ์สูงขึ้นด้วย (Inventive Step) หลังจากนั้นสำนักงานจัดทำรายงานการตรวจค้นและส่งไปยัง WIPO เพื่อดำเนินการต่อไป
7 การประกาศโฆษณาคำขอระหว่างประเทศ
เมื่อสำนักงานสิทธิบัตรระหว่างประเทศของ WIPO ได้รับการสืบค้นแล้ว สำนักงานจะทำการประกาศโฆษราคำขอดังกล่าว โดยจัดพิมพ์ขึ้นในลักษณะจดหมายเหตุ (PCT Gazette) และข้อมูลทางอีเลคโทรนิกส์ ต่อจากนั้นจะทำการจัดส่งประกาศโฆษณาดังกล่าวไปยังประเทศสมาชิกทุกประเทศ
8 การตรวจสอบการประดิษฐ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น
โดยปกติภายหลังจากที่มีการประกาศโฆษณาคำขอระหว่างประเทศแล้ว การดำเนินการในระดับการยื่นคำขอระหว่างประเทศจะสิ้นสุดลง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ยื่นคำขออาจขอให้มีการตรวจสอบการประดิษฐ์เบื้องต้น (Internation Preliminary Examination) โดยสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศที่มีอำนาจในการตรวจสอบการประดิษฐ์เบื้องต้น (Internation Preliminary Examination Authority:IPEA) ซึ่งในการตรวจสอบบนพื้นฐานของผลในรายงานการสืบค้น โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะเป็นการตรวจสอบในเรื่องของความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม
ข.การดำเนินการในระดับภายในประเทศ
1 การดำเนินการในระดับภายในประเทศ
โดยปกติเมื่อขั้นตอนการดำเนินการยื่นคำขอในระดับระหว่างประเทศสิ้นสุดลง ผู้ขอจะต้องดำเนินการยื่นคำขอในระดับภายในประเทศ ภายใน 20 เดือนนับตั้งแต่วันยื่นคำขอระหว่างประเทศครั้งแรก แต่หากผู้ยื่นคำขอขอให้มีการดำเนินการตรวจสอบคำขอเบื้องต้น ระยะเวลาดังกล่าวจะขยายเป็น 30 เดือน อย่างไรก็ตามช่วงระยะเวลาดังกล่าวอาจมีการขยายออกไปอีก โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศนั้น
ในกรณีที่ประเทศที่จะรับความคุ้มครองกำหนดเงื่อนไขของภาษาที่แตกต่างไปจากที่ใช้ในการดำเนินการระดับระหว่างประเทศ ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นคำแปลของคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าวในภาษาตามที่กำหนดในประเทศนั้นๆด้วย
การชำระค่าธรรมเนียมภายในประเทศ (Nationnal fee) ซึ่งโดยปกติจะเป็นอัตราเดียวกันกับการยื่นคำขอในระบบปกติในประเทศนั้นๆ อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่น้อยกว่าค่าธรรมเนียมในอัตราปกติ หรือขอคืนค่าธรรมเนียมได้ในกรณีที่ผลการสืบค้นและผลการตรวจสอบเบื้องต้นเป็นที่ยอมรับในประเทศนั้นๆ
2 การดำเนินการของสำนักสิทธิบัตรที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง
เมื่อสำนักงานสิทธิบัตรของประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอจากผู้ขอ รวมทั้งค่าธรรมเนียมและเอกสารประกอบต่างๆ ตามข้อกำหนดของกฎหมายภายในของประเทศนั้นๆ สำนักงานสิทธิบัตรดังกล่าวก็จะดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ของแต่ละประเทศต่อไป
ในการนี้เห็นได้ว่าสำนักงานสิทธิบัตรของแต่ละประเทศมีอิสระในการที่จะพิจารณารายงานผลการสืบค้นหรือผลการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งจะเป็นประการใดขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและเงื่อนไขที่สำนักงานสิทธิบัตรของแต่ละประเทศกำหนดไว้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาดังกล่าวทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนภายในประเทศ ดังนี้
1 เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถนำผลงานใหม่ๆไปยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
2 คนไทยจะได้รับประโยชน์จากผลการสืบค้น และผลการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสขคำขอจดทะเบียนในประเทศภาคีต่างๆ
3 เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าไปขายยังตลาดต่างประเทศว่าสินค้าของตนจะไม่ถูกลอกเลียนแบบ
4 เป็นการจูงใจให้ชาวต่างชาติมายื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยมากขึ้น และจะส่งผลให้มีการลงทุนในประเทศมากขึ้นอีกด้วย
5 ในกรณีคนไทยที่เป็นนักประดิษฐ์และต้องการหาผู้ที่จะมาเป็นผู้รับอนุญาตใช้สิทธิบัตรของตน แต่ไม่มีทุนรอนที่จะต้องไปขอดำเนินการในขั้นระดับภายประเทศก็สามารถใช้ช่วงเวลาตามข้อ ข.1 ซึ่งมีเวลาถึง 20-30 เดือนหรือมากกว่านั้น (ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ) ในการหาผู้รับอนุญาตและกำหนดให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้เสียค่าดำเนินการในขั้นระดับภายในประเทศแทนก็ได้
ขั้นตอนภายใต้ระบบ PCT
1 กระบวนการภายใต้ระบบ PCT ได้กำหนดขั้นตอนในการจดทะเบียนไว้เป็น 2 ขั้นตอน
1.1 ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (International Phase) และ
1.2 ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรในแต่ละประเทศ (National Phase)
ระบบ PCT -ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (Internation Phase)
-ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรภายในประเทศ (National Phase)
2 กระบวนการภายใต้ระบบ PCT นี้จะเริ่มต้นเมื่อผู้ยื่นขอจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่อาศัยในประเทศภาคีแห่งใดแห่งหนึ่งของสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (International Application) ต่อสำนักงานสิทธิบัตรที่รับคำขอ (Receiving Office) อันได้แก่ สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือยื่นโดยตรงต่อสำนักงานสิทธิบัตรระหว่างประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (The International Bureau of WIPO)
3 เมื่อสำนักงานฯได้ทำการตรวจสอบคำขอขั้นพื้นฐานแล้ว (Basic Examination) ก็จะออกวันที่ยื่นจดทะเบียนระหว่างประเทศ (filing date)
4 คำขอดังกล่าวจะถูกส่งไปยังสำนักงานสิทธิบัตรที่มีอำนาจค้น (Internation Seach Authority หรือ ISA) เพื่อทำการตรวจค้นเอกสารซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวข้อง (Prior Art Search Result)
5 หลังจากกระบวนการตรวจสอบเสร็จสิ้นลง ISA ก็จะทำรายงานการตรวจสอบข้อมูลระหว่างประเทศ (International Search Report หรือ ISR) และส่งถึงผู้ยื่นขอภายใน 16 เดือนนับจากวันที่ได้ยื่นคำขอเป็นครั้งแรก
6 รายงานอีกฉบับหนึ่งถึงสำนักงานสิทธิบัตรระหว่างประเทศแห่ง WIPO เพื่อทำการประกาศโฆษณาภายใน 18 เดือนหลังจากวันที่ยื่นคำขอหรือวันที่อ้างสิทธิการยื่นจดทะเบียนครั้งแรก
7 ผู้ยื่นคำขออาจเลือกขอให้สำนักงานตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้น (IPEA) ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ในการเลือกประเทศที่ตนประสงค์จะขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรได้
ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรระหว่างประเทศ (International Phase)
1 ) คำขอ PCT
2) Receiving Office ตรวจสอบพื้นฐาน -ออก filing date 2 The International Bureau of WIPO
- International Search Authority (ISA)-ตรวจค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้วที่เกี่ยวข้อง
- International Search Report (ISR)
- ส่งข้อมูลแจ้งผู้ยื่นคำขอ (ทางเลือก)----IPEA 5 ส่งข้อมูลให้ The International Bureau of WIPO
- ประกาศโฆษณา
- ตัดสินใจเลือกประเทศ 1 2-3
- ปัจจุบันสำนักงานสิทธิบัตรที่มีอำนาจในการตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศมี 12 แห่งได้แก่
- สำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลีย
- สำนักงานสิทธิบัตรออสเตรีย
- สำนักงานสิทธิบัตรจีน
- สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป
- สำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น
- สำนักงานสิทธิบัตรรัสเซีย
- สำนักงานสิทธิบัตรสเปน
- สำนักงานสิทธิบัตรสวีเดน
- สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา
- สำนักงานสิทธิบัตรแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
- สำนักงานสิทธิบัตรแคนนาดา
- สำนักงานสิทธิบัตรฟินแลนด์
- ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีความประสงค์ที่จะขอให้มีการตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้นก็สามารถทำได้โดยทำเป็นคำร้องหรือที่เรียกว่า Demand เพื่อขอทำการตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้น (Internation Preliminary Examination หรือ IPE) โดยสำนักงานตรวจสอบข้อมูลระหว่างประเทศเบื้องต้น (International Preliminary Examination Authority หรือ IPEA)
- คำร้องดังกล่าวจะต้องยื่นก่อนวันที่สิ้นสุดระยะเวลา 19 เดือนนับจากวันที่ยื่นขอเป็นครั้งแรก และให้เลื่อนการเข้าสู่ขั้นตอนภายในประเทศ (Delay of National Phase) ออกไปจาก 20 เดือนหลังวันที่ยื่นขอครั้งแรกจนกระทั่งถึง 30 เดือนหลังวันที่เช่นว่านั้น รวมถึงให้โอกาสผู้ยื่นขอที่จะยื่นขอแก้ไขคำขอจดทะเบียนได้
- ผลการตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้นจะเป็นความเห็นที่ไม่ผูกพัน (Non-binding Opinion) โดย IPEA จะให้ความเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวอ้างนั้นประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้หรือไม่ กล่าวคือ ความใหม่ ขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และการประยุกต์ใช้ได้ในทางอุตสาหกรรม
- รายงานฉบับหนึ่งจะถูกส่งจะส่งไปยังผู้ยื่นขอภายใน 28 เดือนนับจากวันที่ยื่นขอเป็นครั้งแรก และฉบับอื่นๆ จะส่งไปยังสำนักงานที่ระบุไว้เพื่อขอรับความคุ้มครอง ซึ่งขั้นตอนระหว่างประเทศ (International Phase) ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะใช้เวลาทั้งสิ้น 30 เดือน
- สำนักงานตรวจสอบข้อมูลระหว่างประเทศเบื้องต้น มีทั้งหมด 10 แห่งคือ
- สำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลีย
- สำนักงานสิทธิบัตรออสเตรีย
- สำนักงานสิทธิบัตรจีน
- สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO)
- สำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น
- สำนักงานสิทธิบัตรรัสเซีย
- สำนักงานสิทธิบัตรสวีเดน
- สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา
- สำนักงานสิทธิบัตรแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
- สำนักงานสิทธิบัตรแคนนาดา (เริ่มดำเนินการ 26 ก.ค. 2547)
14. ภายใน 20 เดือน(ในกรณีที่ไม่มีการขอให้ตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้น) หรือ 30 เดือน (ในกรณีที่มีการขอให้ตรวจสอบระหว่างประเทศเบื้องต้น) นับจากวันที่ยื่นคำขอ PCT ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนภายในประเทศ (National Phase Entry)
15. ในขั้นตอนนี้ คำขอที่ยื่นเข้ามาจะเรียกว่า คำขอจดทะเบียนภายในประเทศ (National Application) ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดรวมถึงการตรวจสอบจะเป็นขั้นตอนตามปกติในการยื่นคำขอจดทะเบียนภายในประเทศ และผู้ยื่นคำขอต้องชำระค่าธรรมเนียมภายในประเทศด้วย
16. ภายใต้ระบบ PCT นอกจากผู้ยื่นคำขอจะระบุเลือกให้คำขอของตนมีผลในประเทศที่เป็นสมาชิกของ PCT แล้ว ผู้ยื่นคำขอยังสามารถระบุเลือกให้คำขอฯของตนให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรในสำนักงานภูมิภาคเหล่านี้ได้อีกด้วย คือ
-สำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรป (European Patent Office หรือ EPO)
-สำนักงานสิทธิบัตรสหพันธรัฐรัสเซีย (Eurasian Patent Office หรือ EAPO)
-สำนักงานทรัพย์สินอุตสาหกรรมแห่งภาคพื้นแอฟริกา (African Regional Industrial Property Organization หรือ ARIPO และ
-สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งแอฟริกา (African Intellectual Property Orgainzation หรือ AOPI)
|